กูรู ม.รังสิต เผยเคล็ดลับเรียน “interior Design” วางแผนดี อนาคตไกล





         อาจารย์ภาควิชาออกแบบภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.รังสิต เผย สาขาวิชา “Interior Design”
 ออกแบบตกแต่งภายใน เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบศิลปะ วาดภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ แนะควรเปิด
โลกทัศน์ อ่านหนังสือเดินทางท่องเที่ยวเก็บประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ ไม่ควรย่ำอยู่กับที่ พร้อมแนะบัณฑิตใหม่ 
อย่าเลือกงาน รีบคว้าโอกาสโชว์ ศักยภาพ อาจก้าวไกลสู่ระดับนานาชาติ

ผณิภุช ชาญเลขา อาจารย์จากภาควิชาออกแบบภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
       ผณิภุช ชาญเลขา อาจารย์จากภาควิชาออกแบบภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และประธานกรรมการ
บริหารเดอะ เบบี้ อาร์ท สตูดิโอ (The Baby Art Studio) กล่าวว่า หลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์
 มหาวิทยาลัยรังสิตก็ได้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขา Interior Architecture & Design ออกแบบตกแต่ง
ภายในและโครงสร้างสถาปัตยกรรม Motion ที่ Academy of Art University San Francisco, California USA มหาวิทยาลัยศิลปะ
และ Designที่ได้รับการรับรองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทัศนคติของชาวต่างชาติกับชาวไทยเกี่ยวกับงานด้าน Interior หรือ
การออกแบบตกแต่งภายในนั้นต่างกันอยู่มาก สำหรับชาวตะวันตกจะให้ความสำคัญกับศิลปะการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
ภายในบ้านให้คุ้มและใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดโดยต้องมีความสวยงามด้วย แต่คนไทยมักคิดว่างานตกแต่งภายในเป็นการใช้เงินสิ้น
เปลืองโดยไม่จำเป็น จึงเกิดคำถามบ่อยๆ ว่า วิชาชีพและการเรียนในสาขา Interior Design ในบ้านเรา จบไปจะไปทำอะไร ตลาดต้องการ
บุคลากรด้านนี้มากน้อยแค่ไหน
เผยสาขาวิชา “ Interior Design” ออกแบบตกแต่งภายใน เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบศิลปะ วาดภาพ
       สำหรับคนที่กำลังจะเลือกเรียนทางด้าน Interior Design นั้น อาจารย์ผณิภุช แนะนำว่า ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า
มีทักษะทางด้านศิลปะแค่ไหน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือเปล่า ถ้าคำตอบ คือ “มีพร้อม” ให้ลองศึกษาตลาดของงานด้าน
สถาปัตยกรรม การออกแบบตกแต่งภายใน
   
       “ต้องศึกษาทางด้านการตลาดทั้งของไทยและต่างประเทศ ว่า ปัจจุบันนี้ทิศทางเป็นเช่นไร เมื่อรู้จุดยืนของตัวเอง
และมีข้อมูลด้านวิชาชีพแล้ว ต่อไปให้เริ่มหาหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งการเรียนในสาขานี้
จะให้ความสำคัญเรื่องการปฏิบัติ การสื่อสาร ทักษะการวาดภาพ โครงสร้างสถาปัตยกรรม การคำนวณ ทฤษฎีการใช้สี
 และจิตวิทยา นอกจากนั้น สิ่งที่ควรทำคือเปิดโลกทัศน์ เปิดหูเปิดตา ด้วยการอ่านหนังสือ และเดินทางท่องเที่ยว
 เก็บเกี่ยวประสบการณ์และไปดูงานศิลปะหลายๆ แขนงอยู่เสมอ งานด้านนี้อยู่นิ่งไม่ได้ แม้เราจะมีสไตล์เป็นของตัวเอง 
แต่ก็ไม่ควรย่ำอยู่กับที่กับความคิดเดิมๆ”
       ส่วน สาขาวิชา “Interior Design” มีความจำเป็นในอนาคตหรือไม่ ในเรื่องนี้ อาจารย์ผณิภุช ได้ให้คำแนะนำเช่นกันว่า
 ขอมองงานออกแบบและตกแต่งภายในนี้คือความสวยงามที่แฝงประโยชน์ใช้สอยร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นจัดวางเฟอร์นิเจอร์หรือปรับ
โครงสร้างใหม่
 การรื้อกระเบื้องปูพื้น จัดแสงไฟ ทำผนัง ทุกสิ่งทุกอย่างผู้ออกแบบจะต้องตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้าน เจ้าของงานให้ได้
และดำเนินการภายใต้งบประมาณที่เจ้าของบ้านกำหนดไว้ งานอินทีเรียร์ที่ดีควรคำนึงไลฟ์สไตล์และความชอบของเจ้าของบ้าน บางค
นอาจมองว่าการออกแบบตกแต่งภายในเป็นแค่การทำเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินหรือนำเฟอร์นิเจอร์มาวาง แต่จริง ๆ แล้ว งานต้องครอบคลุม
ถึงการให้คำปรึกษาทางวิชาการด้านโครงสร้าง ไฟฟ้า ประปา แสงสว่าง อุณหภูมิ รวมถึงการคำนวณงบประมาณกับความเป็นไปได้ของ
การสร้างสรรค์งานจริง
   
       ดังนั้น การที่จะตอบโจทย์ว่า Interior Design จำเป็นหรือไม่ ขอบอกว่า “ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ทำงาน หรือ ร้านค้า ร้านอาหาร
 ที่มีอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ใช้งานสะดวก สะอาด จัดวางได้ถูกที่ถูกใจ จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราดีขึ้น ศิลปะที่สวยงามอยู่
รอบตัว
จะทำให้เกิดแรงบันดาลใ
จและพลังมากขึ้น” ดังนั้นนิยามของคำว่า “จำเป็น” และ “ไม่จำเป็น” ของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยและความต้องการ
       “งานด้านอินทิเรียดีไซน์ต้องไม่หยุดนิ่ง หากมีโอกาสควรไปศึกษา หรือดูงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบของประเทศต่างๆ 
เพื่อไม่ให้สมองตัน เพราะแต่ละปีเทรนของการออกแบบ ความต้องการ และปัจจัยแวดล้อม จะเปลี่ยนไปอยู่เสมอ อย่างเช่น เมื่อตอน
ที่ทำงานอยู่ที่ซานฟรานซิสโก กับ บริษัท Harthowerton ก็ได้ประสบการณ์ดีๆ จากที่นี่มาก ทั้งในเรื่องของการออกแบบ ระบบการ
ทำงา
น คอนเนกชัน เราต้องทำงานให้คนต่างชาติยอมรับให้ได้ ซึ่งต้องปรับกระบวนการคิดหลายอย่าง เพราะมาตรฐานของต่างชาตินั้นค่อน
ข้าง
จะละเอียดอ่อนกว่าบ้านเรา”
   
       สำหรับงานที่คิดว่าภูมิใจที่สุด ก็คือ ได้มีส่วนร่วมในโปรเจกต์ใหญ่ยักษ์ ทั้งที่โมร็อกโก และ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เป็นโปรเจกต์
ในรูปแบบคอมมิวนิตี (community) ที่มีทั้งสปา สปอร์ตคลับ ที่พักอาศัย โรงแรม คลับเฮาส์ งานนี้เป็นงานที่ใหญ่มาก ในโครงการมี 51
 โครงการย่อยอยู่ในนี้ ต้องประสานงานกับคนมากมาย และบุคคลเหล่านี้อยู่ต่างประเทศ ต่างภูมิภาค ต่างทวีป ซึ่งใช้ช่วงเวลาต่างกัน
ทำให้การประชุมและการสื่อสารค่อนข้างลำบาก นอกจากนั้นสิ่งที่ท้าทายอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ การทำงานกับกลุ่มคนจำนวนมาก
 ซึ่งแต่ละคนก็มีหลากความคิดหลายมุมมอง กว่าจะได้มาซึ่งข้อสรุปในส่วนต่างๆ อาทิ ด้านแลนด์สเคป แลนด์เพลนนิง อาคิเทค
 ผู้ออกแบบระบบแสง ผู้ดูแลสิ่งแวดล้อม ก็ใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งต้องขอบคุณ บริษัท Harthowerton มากๆ ที่ให้โอกาสคนไทย
อย่างเราได้ทำโครงการระดับโลกนี้
   
       “สำหรับนิสิต นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาด้านนี้มาแล้ว แต่ยังหางานไม่ได้ ก็อย่าพึ่งท้อ ใช้ช่วงเวลานี้หาไปฝึกงานเพื่อเพิ่มทักษะ
 อย่าเลือกองค์กร ถ้าที่ไหนให้โอกาสรีบก้าวเข้าไปหาประสบการณ์ ตั้งใจที่จะเรียนรู้และสิ่งดีๆ จะกลับมาหาตัวเราเอง”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น