ตามติดบ้านคนดัง เลดี้ กาก้า LADY GAGA

forfur ขอเกาะกระแสคนดังเอาใจเหล่าสัตว์ประหลาดตัวน้อยๆของเจ้าหญิงก้าหรือ ลิตเติ้ลมอนสเตอร์ (little monster) ไปดูกันซิว่าบ้านของหัวหน้าของเหล่าปีศาจตัวน้อยมีรูปร่างหน้าตายังไง



บ้านขนาด 6 ห้องนอน 8 ห้องน้ำของกาก้าหลังนี้ตั้งอยู่ที่ Bel-Air หรือย่านที่พักของบรรดาเหล่าเศรษฐีทั้งหลายบนภูเขา Westside เมือง Los Angeles ใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้แต่เป็นเพียงแค่บ้านพักชั่วคราวเวลากาก้าเดินทางมา Hollywood เท่านั้น โดยเธอควักกระเป๋าจ่ายเดือนละ $25,000 หรือประมาณเดือนละ 800,000 บาทนั่นเอง



 

สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ



natural_arch          สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ (Natural Architecture)
          : ทิศทางใหม่ด้านการวางผังและออกแบบอาคารในอนาคต 
             New Directions of Planning and Building Design
                 ในรอบสิบกว่าปีมานี้ ภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติธรรมชาติ เป็นปัญหาวิกฤติที่อยู่ในความสนใจ ของผู้คนทั่วไป เพราะผลกระทบรุนแรงทางลบที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ทรัพย์สิน และความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างเริ่มตระหนักถึงปัญหาวิกฤติดังกล่าว และมีการรณรงค์หาแนวทางการลดภาวะโลกร้อนและการประหยัดพลังงานกันอย่างจริงจังมากขึ้น
                    ทั้งนี้ ในวงการสถาปัตยกรรม และการวางผังเมืองทั้งของต่างประเทศและของไทย ต่างก็มีความตื่นตัว และหันมาสนใจสร้างสรรค์งานออกแบบในแนวความคิด “สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ” “สถาปัตยกรรมเขียว” “สถาปัตยกรรมเชิงนิเวศ” มากขึ้นเช่นกัน โดยสาระใหญ่คือการมุ่งเน้นการ วางผังเมือง ผังชุมชน การออกแบบและก่อสร้างอาคารที่กลมกลืน เป็นมิตรกับธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้ชีวิตการอยู่อาศัยมีคุณภาพมากขึ้น ประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ กับทั้งสามารถช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
                  1. นวัตกรรมจากการเลียนแบบความหลากหลายและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ
                      ใครก็ตามที่ท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในป่า และในเมือง จะมองเห็นทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ คิดค้นและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างหลากหลายมากมายสุดคณานับ ทั้งที่เป็นอาคารบ้านเรือน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ยานพาหนะ ศิลปกรรม วัดวาอาราม พระราชวัง ป้อมปราการ สิ่งก่อสร้างและนวัตกรรมอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วนทั้งที่ใหญ่โตโอฬารและ สวยงามอลังการน่ามหัศจรรย์ อันเป็นผลมาจากการสะสมภูมิปัญญาทางศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมนุษย์ กระนั้นก็ตาม หากใครได้หันมามองสิ่งรอบตัวและครุ่นคิดพิจารณาอย่างจริงจังในธรรมชาติทั้งหลายตั้งแต่พระอาทิตย์ ดวงดาว แม่น้ำลำธาร สายฝนสายหมอก น้ำตก ขุนเขาหุบเหว ป่าไม้ ต้นไม้นานาพรรณ สัตว์ป่านานาชนิด ทะเล ธรณี ลม ไฟ ฤดูกาล แร่ธาตุ ภูมิลักษณ์และภูมิทัศน์ธรรมชาติที่หลากหลายซับซ้อนแล้ว ก็คงอดที่จะทึ่งและฉงนสนเท่ห์ในความงาม ความยิ่งใหญ่ ความแปลกประหลาด และมหัศจรรย์ของธรรมชาติหลากหลายเหล่านี้ไม่ได้  แม้มนุษย์จะศึกษาเรียนรู้ ธรรมชาติและมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นตามลำดับ กระนั้น ก็ยังไม่สามารถศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติได้หมด ธรรมชาติยังคงมีความลึกลับซับซ้อนที่มนุษย์ยังไม่เข้าใจและศึกษาได้หมดสิ้นและมนุษย์ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติ ได้จริง ด้วยเหตุที่ชีวิตทั้งพืช สัตว์ และ ภูมิสัณฐานธรรมชาติ ได้มีวิวัฒนาการ มานานนับร้อยล้านปี ทำให้เกิดการ พัฒนาโครงสร้างหรือกลไกการทำงาน ที่ซับซ้อนหรือวิเศษยิ่งกว่าเทคโนโลยี รุ่นล่าสุดที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เช่น กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช การ ถักใยของแมงมุมที่ใช้พลังงานหรือ ก่อให้เกิดของเสียออกมาน้อยมาก การสร้างรังของนกและปลวก เป็นต้น
                     ดังนั้น การศึกษาเรียนรู้และเลียนแบบเทคโนโลยีจากธรรมชาติ (Biomimicry) จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการสร้าง นวัตกรรมทั้งหลายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และหากเราพิจารณาให้ถ่องแท้ ก็จะพบว่าสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทั้งหลายจำนวนมากของมนุษย์ที่ผ่าน มานั้น ต่างก็เกิดขึ้นจากการลอกเลียนแบบสิ่งมีชีวิต ในธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเกิดขึ้นนำหน้ามาก่อน  แม้ในอดีตการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และการวางผังเมืองและชุมชน สถาปนิกก็ได้แนวคิดหรือแรงบันดาลใจจากธรรมชาติเป็นอย่างมากและในอนาคต สถาปนิกก็จะต้องศึกษาเรียนรู้และเข้าใจระบบนิเวศและเรียนรู้จากธรรมชาติมากขึ้น อีกทั้งรูปทรง โครงสร้างและกระบวนการขององคาพยพทั้งหลาย
                   2. มนุษย์กับการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    มนุษย์จัดเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในโลกที่มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน กระนั้น ก็นับเป็นองคาพยพหรือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติด้วย การมีชีวิตและการดำรงอยู่ ของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ต่างก็อาศัยพึ่งพาธรรมชาติทั้งน้ำเพื่อการดื่มกิน อากาศ เพื่อการหายใจ อาหารเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต เครื่องนุ่งห่มเพื่อกันลมร้อนลมหนาว และแม้การปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ก็ต้องอาศัยวัสดุและพลังงาน ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติทั้งสิ้น ธรรมชาติขั้นมูลฐาน (มหาภูตรูป 4) คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของธรรมชาติอื่นหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่มนุษย์ สรรค์สร้างขึ้นมานานาชนิด มนุษย์ในยุคแรกเริ่มหรือในชุมชนบรรพกาล ต่างอยู่อาศัยแบบพึ่งพา ธรรมชาติ อาศัยอยู่ในถ้ำ ในหุบเขา ในป่าในโพรงไม้ อาศัยแม่น้ำลำคลอง เก็บกินดอกผลของต้นไม้ และอาศัยล่าสัตว์ในธรรมชาติเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น และมนุษย์ ในยุคแรกต่างพากันเคารพนับถือธรรมชาติที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ หรือมีความเกรงกลัวต่อพลังอำนาจของธรรมชาติ จนต้องมีการเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งธรรมชาติทั้งหลาย อาทิเช่น พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระอัคคี พระวาโย เป็นต้น ต่อมา เมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้น มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน มีการถางป่า ทำไร่ทำนา ทำการเกษตร ก็ต้องอาศัยดิน น้ำ และฝนฟ้า อากาศในฤดูกาลต่างๆ เป็นมูลฐาน ต่อเมื่อมนุษย์มีความโลภมากขึ้น มีการเห็นแก่ตัวสูงขึ้น จึงเกิดการปักปันอาณาเขต ตั้งชุมชน ตั้งเมือง ตั้งประเทศและขยาย อาณาจักรมากขึ้น การใช้ประโยชน์จาก ธรรมชาติและการค้าขายก็มีมากขึ้น มีการสะสมความมั่งคั่งและทรัพย์สิน เงินทองเพิ่มขึ้น ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องอำนวยความสบายแก่ชีวิตมากขึ้น เห็นแก่ตัวมากขึ้น ลุ่มหลงในวัตถุนิยม และบริโภคนิยมมากขึ้น การทำลายธรรมชาติก็เริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ
                    3. ปัญหาการทำลายธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
                       ความโลภและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ (Ego-centric) ที่มุ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและการสะสมทรัพย์สินเงินทองเป็นหลัก มีมาตลอดนับหลายร้อยหลายพันปี และด้วย แนวคิดที่ถือเอามนุษย์เป็นใหญ่และเป็นศูนย์กลางสรรพสิ่ง (Anthropocentric view) มนุษย์จึงมีความพยายามจะเอาชนะและครอบงำธรรมชาติ กอบโกย จากธรรมชาติ สะสมทรัพย์สินเป็นของตนให้ได้มากที่สุด วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีก็มีการพัฒนาขึ้น เพื่อรับใช้กิเลสตัณหาของตนมากขึ้นตามลำดับ ความแปลกแยกจากธรรมชาติจึงเริ่มมีมากขึ้น จนกระทั่งมาถึงโลกสมัยใหม่ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16-18 โลกตะวันตก ได้พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลก และเกิดแนวความคิดเชื่อมั่นในเทคโนโลยี (Technocentrism) กระทั่งต่างพากัน เชื่อว่าสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยา- ศาสตร์และเทคโนโลยี จะสามารถเอาชนะธรรมชาติได้ทุกอย่าง กระทั่ง เมื่อโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 19-20 ที่เป็นยุคเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย รุ่งเรือง จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี อุตสาหกรรมและการค้าอย่างรวดเร็ว จนเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมข้ามชาติเกิดขึ้น การ ใช้ประโยชน์ธรรมชาติ การเบียดเบียนธรรมชาติ การทำลายธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมจึงเกิดขึ้นมากเป็นทวีคูณ ปริมาณการใช้น้ำมัน ถ่านหิน น้ำ แร่ธาตุ ไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ในโลกมีปริมาณมากขึ้นและสิ้นเปลืองอย่างก้าวกระโดด โดยที่มีการบุกรุกทำลายป่าไม้ มีการถ่ายของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร ที่สร้างปัญหามลพิษทั้ง ทางดิน น้ำและอากาศ ส่งผลให้เกิดการ เสียสมดุลในระบบนิเวศของโลก ส่งผล ต่อปัญหาโลกร้อนและภัยพิบัติธรรมชาติ ตามมาทั้งแผ่นดินไหว อุทกภัย วาตภัย และโรคภัยระบาดที่รุนแรง ซึ่งกำลังเป็น ปัญหาวิกฤติที่อยู่ในความสนใจของผู้คนทั่วโลกในบัดนี้ ปัจจุบันปัญหาการทำลายธรรมชาติและระบบนิเวศของโลก ปัญหา โลกร้อน และปัญหามลภาวะของโลก ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพ ชีวิตและสวัสดิภาพการอยู่อาศัยของ ประชาชนทั่วโลก และกำลังจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ หากทุกฝ่ายมิได้มีการตระหนักรู้และเร่งหามาตรการแก้ไขโดยเร็ว ภาวะวิกฤติก็จะทวีความรุนแรงที่เป็นภยันตรายต่อมวลมนุษย์มากขึ้นอีกจนยากจะกอบกู้ได้
                    4. แนวความคิดด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงระบบนิเวศ
                      ความจริงแล้ว แนวความคิดด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Eco-centric) มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณหรือยุคชุมชนบุพกาลหลายพันปีมาแล้ว ตั้งแต่มนุษย์ยังอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตรผสมกลมกลืน ไม่เบียดเบียนทำลายธรรมชาติ กับทั้งยังเคารพบูชาเทพเจ้าและภูตผีเทพารักษ์ที่สิงสถิตใน ธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ป่าไม้ พระอาทิตย์ ดวงดาว เป็นต้น โดยเชื่อว่าธรรมชาติ ทั้งหลายก็มีจิตวิญญาณสิงสถิตอยู่ (Animism) และนับถือเทพหรือเทพีทั้งหลาย ที่เป็นเจ้าในธรรมชาติเหล่านี้ (Polytheism) หรือเชื่อว่าเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ทั่วไป ในธรรมชาติและสรรพสิ่งทั้งปวง (Pantheism) ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ นับว่าเป็นแนวคิด พื้นฐานทางจิตวิทยาเชิงนิเวศ (Green psychology หรือ Eco-psychology) หรือ จริยธรรมสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ศาสดาและเมธาจารย์ทั้งหลาย ในอดีต เช่น พระพุทธเจ้า เล่าจื๊อ พระเยซู นักบุญ นักบวช หรือฤาษีชีไพรทั้งหลาย ก็ล้วนแต่เห็นคุณค่าของธรรมชาติและสอนแนะในการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาพุทธนั้น อาจได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งนิเวศวิทยาโลก” เนื่องจากมีคำสอนมากมายที่เน้น การไม่ทำลายธรรมชาติและเป็นมิตรกับธรรมชาติ  อนึ่ง เกือบทุกศาสนาในโลกนี้ ก็ล้วนแต่มีคำสอนที่ให้มนุษย์เคารพ ธรรมชาติทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อการส่งเสริม การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิให้ถูกบุกรุกทำลายมากขึ้น ในปี 1990 ผู้นำศาสนาต่างๆ จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้ง องค์กรระหว่างประเทศขึ้นชื่อ “พันธมิตร แห่งวงการศาสนาและการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม” (Alliance of Religions and Conservation – ARC) ขึ้น โดยมี 11 ศาสนาเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรนี้
                      แม้ในสมัยใหม่ที่โลกตะวันตก เข้าสู่ยุคทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมแพร่หลายเฟื่องฟู ก็ยังมีนักปราชญ์และผู้รู้ ทั้งหลายที่มองเห็นและตระหนักถึงโทษ ภัยของโลกวัตถุนิยมและการบริโภคที่ หรูหราฟุ่มเฟือยที่ทำลายธรรมชาติ ไม่ว่า จะเป็นนักปรัชญา เช่น St. Francis และ Spinoza กลุ่มศิลปินนักคิดนักเขียน เช่น Shelly และ Blake ที่ย้ำความงดงาม แห่งธรรมชาติ ในขณะที่ Henry David Thoreau ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ ชีวิตที่ประหยัดเรียบง่าย เป็นมิตรกับ ธรรมชาติและป่าดงพงไพร หรือจิตรกร อย่าง Gestave Goult และ William Turner ที่ชี้ให้เห็นถึงภูมิลักษณ์ธรรมชาติที่กำลังถูกทำลายโดยระบอุตสาหกรรม ทุนนิยม  หรือนักธรรมชาติวิทยา ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น John Muir ที่ทำการ รณรงค์ให้รัฐบาลออกกฎหมายพิทักษ์ รักษาป่าไม้และภูมิสัณฐานที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นทางธรรมชาติมิให้ถูกบุกรุกทำลาย จนนำไปสู่การออกกฎหมายจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติในสหรัฐฯ หลายแห่ง และเป็นแรงบันดาลใจสู่การจัดตั้งอุทยาน แห่งชาติหรือวนอุทยานในยุโรปและ ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
                       แม้ใน ประเทศไทยเรา นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ก็ได้เป็นผู้นำผลักดันกฎหมายการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติจนสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2504 เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่าไม้ และระบบนิเวศมิให้ถูกบุกรุกทำลาย  ในส่วนแวดวงวิชาการ ก็ได้มีการพัฒนา องค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยา การอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักธรรมชาติวิทยาหรือ นักนิเวศวิทยาด้านต่างๆ เกิดขึ้นจำนวน มากมายในหลายประเทศ เช่น Alexander Humboldt นักชีววิทยาชาวเยอรมันผู้ได้ ชื่อว่า “Father of ecology - บิดาแห่ง วิชานิเวศวิทยา” นักชีววิทยาชาวเดนมาร์ก ชื่อ Eugen Warming (1841-1924) ผู้ได้ชื่อว่าเป็น “Founder of ecology - ผู้วางรากฐานวิชานิเวศวิทยา” และ นักชีววิทยาชาวอเมริกันชื่อ Eugene Odum ผู้ได้ชื่อว่าเป็น “Father of modern ecology - บิดาแห่งวิชานิเวศวิทยาสมัยใหม่” อนึ่ง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองและยุคหลัง อุตสาหกรรมทุนนิยมเฟื่องฟู ระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ทั้งป่าไม้ และสัตว์ป่าถูกทำลายเสียหายอย่างหนัก มลภาวะในน้ำและอากาศทวีความ รุนแรงมากขึ้น ทำให้เกิดขบวนการ รณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ที่เข้มข้นมากขึ้น โดยมีนักอนุรักษ์ที่ โดดเด่นหลายท่าน อาทิเช่น Rachel Carson ที่เขียนหนังสือ “Silent Spring” อันลือชื่อเมื่อปี ค.ศ. 1962 และการรณรงค์ อย่างจริงจังด้านการต่อสู้โลกร้อน ของ Al Gore ในช่วง 10 กว่าปีมานี้ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีการจัดงาน “Earth Day” เพื่อรณรงค์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติของโลกมา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และมีองค์กรต่างๆ มากมายที่รณรงค์ด้านการอนุรักษ์ป่า สัตว์ป่า และธรรมชาติแวดล้อม ด้านน้ำ และภูมิอากาศ เช่น The Sierra Club, The National Audubon Society, The Wilderness Society, The National Wildlife Federation, Earth First, Green Peace, The U.S. Green, United Nations เป็นต้น
                    5. ขบวนการขับเคลื่อนสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ (Natural Architecture Movement)
                        ภาวะโลกร้อนแล ะวิกฤติธรรมชาติ กำลังส่งผลกระทบใกล้ตัว เข้ามาทุกขณะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงต่างพยายามหามาตรการลดภาวะโลกร้อนและการประหยัดพลังงานกัน อย่างจริงจังมากขึ้น รวมทั้งในวงการ สถาปัตยกรรมด้วย ทั้งนี้ เพราะการวางผังเมือง การออกแบบและก่อสร้าง อาคาร เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถช่วยลด ภาวะโลกร้อน และลดการใช้พลังงาน ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อไม่กี่ปีมานี้ จึงเกิดแนวความคิดใหม่และกระแสความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบ และก่อสร้างอาคารที่เน้นเรื่องคุณภาพ ของชีวิต การประหยัดทรัพยากรและ พลังงาน การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือการเป็นองคาพยพที่ผสมกลมกลืน กับธรรมชาติและระบบนิเวศมากขึ้น ภายใต้ชื่อและจุดเน้นต่างๆ กัน ได้แก่
“สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ” (Natural Architecture) “สถาปัตยกรรม เขียว” (Green Architecture) “สถาปัตยกรรมเชิงนิเวศ” (Ecological Architecture) “สถาปัตยกรรมเชิงสิ่งแวดล้อม” (Environmental Architecture) “สถาปัตยกรรมแนวชีวภาพ” (Organic Architecture) และ “สถาปัตยกรรมยั่งยืน” (Sustainable Architecture) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนหลัง ไปประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา จะเห็น ได้ว่ามีบุคคลในแวดวงสถาปัตยกรรม หลายท่านที่ได้พยายามเสนอแนวความคิดด้านการออกแบบที่เป็นมิตร กับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาปนิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก ในศตวรรษที่ 20 คือ Frank Lloyd Wright (1867 - 1959) ได้ชี้ให้เห็น ถึงความสำคัญของการออกแบบ อาคารที่ใช้วัสดุธรรมชาติให้มากที่สุด      
                     องค์ประกอบอาคารต่างๆ มีการผสาน กลมกลืนและเป็นองคาพยพหนึ่งเดียว กับธรรมชาติ ทำเลที่ตั้งและสภาพ ภูมิทัศน์โดยรอบ มิใช่แยกตัวออกจาก ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ อย่างเป็นเอกเทศ  ที่เรียกแนวคิด ทางสถาปัตยกรรมนี้ว่า “Organic architecture” ดังตัวอย่างผลงาน ออกแบบบ้านชื่อ The Fallingwater ที่โด่งดังของเขา แนวคิดนี้นับว่าเกิดขึ้น ก่อนที่คำว่า “ecology - นิเวศวิทยา” จะเป็นที่รู้จักแพร่หลายเสียอีก แม้ว่า แนวคิดก้าวหน้าของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ จะได้รับความสนใจจากกลุ่มสถาปนิก ในหลายประเทศ แต่ที่สุดก็ต้องหลีก ทางให้กับแนวคิดสถาปัตยกรรมสาย กระแสหลักที่เน้นการสนองตอบความ ต้องการทางธุรกิจและเศรษฐกิจการค้า ยุคทุนนิยม ในศตวรรษที่ 20 ที่มีพลังอิทธิพลมากกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อโลกก้าวสู่ ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 กระแสความ เคลื่อนไหวด้านการออกแบบอาคาร ที่พยายามเชื่อมโยงอาคารเข้ากับ ธรรมชาติ โดยเน้นเรื่องการประหยัด พลังงาน การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การผสมกลมกลืนระหว่างอาคาร มนุษย์ ธรรมชาติและระบบนิเวศ ที่เรียกชื่อว่า “สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ” (Natural Architecture) เริ่มถูกจุด กระแสขึ้นมาอีก โดยที่ความจริงแล้ว แนวคิดนี้ เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปลาย ทศวรรษ 1960 จากการขับเคลื่อนของ กลุ่มศิลปินที่เน้นสร้างผลงานศิลปะ แนววิวทิวทัศน์และสุนทรียศิลป์ จากลักษณะของธรรมชาติด้านต่างๆ ที่ เรียกว่า “Land art movement” จากแนวคิดและความชื่นชมในศิลปะแนวธรรมชาติ ได้ขยายตัวและก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบและ สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติที่เชื่อมโยง มนุษย์กับธรรมชาติมากขึ้น แนวคิดมูลฐานของขบวนการใหม่นี้คือหลักการที่ว่า มนุษย์ควรจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างผสานกลมกลืนกับธรรมชาติ ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติตามความจำเป็น ในขณะเดียวกันก็ตระหนักในความสำคัญของธรรมชาติต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ซึ่งผลจากการยอมรับ และชื่นชมในความงามและความน่าพิศวงในธรรมชาติ (respect and appreciation for nature) ดังกล่าว สะท้อนออกมาในผลงานทางสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติในหลากหลายมิติ เช่น มีความเรียบง่าย ใช้วัสดุธรรมชาติ จากท้องถิ่น ใช้แรงงานท้องถิ่น ออกแบบ รูปทรงและโครงสร้างที่เลียนแบบธรรมชาติ เป็นมิตรกับธรรมชาติรอบ ด้าน (nature friendly) ทั้งพืชพรรณ ภูมิลักษณ์ แหล่งน้ำและภูมิอากาศ ซึ่งมิใช่เพียงการไม่ทำลายธรรมชาติ รอบด้านเท่านั้น หากอาคารที่รังสรรค์ขึ้นนั้น พยายามใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างประหยัด และตัวอาคารจะเป็นองค์ประกอบที่ประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว กับธรรมชาติแวดล้อมนั้นด้วย ดังเช่น Sim Van Den Ryn ผู้ก่อตั้ง The Ecological Design Institute เขียนในหนังสือ Ecological Design เมื่อปี ค.ศ. 1996 ว่า “การออกแบบเชิงนิเวศ เป็นรูปแบบการออกแบบที่พยายามลดผลกระทบทาง ทำลายต่อสภาพแวดล้อม โดยการรวมประสานการออกแบบที่เข้ากับกระบวนการของธรรมชาติ การรวมประสานนี้ จะหมายถึงการออกแบบที่เคารพต่อความ หลากหลายทางชีวภาพ ลดการทำลายทรัพยากร อนุรักษ์วัฏจักรน้ำ รักษาคุณภาพ การอยู่อาศัย และคำนึงถึงความมีสุขภาพที่ดีของมนุษย์และระบบนิเวศ”
                     นอกจากนี้ Brett Holverstott ผู้เขียนเรื่อง What Can Architecture Learn From Nature? กล่าวว่า “สถาปนิกทั้งหลายสนใจในการเลียนแบบและประยุกต์ธรรมชาติ มิใช่เพียง การหาวิธีการใหม่ในด้านการก่อสร้างอาคารเท่านั้น หากแต่เป็นการแสวงหาแหล่ง กำเนิดแห่งแรงบันดาลใจในการแสดงออกทางสุนทรียภาพ และมีอยู่หลายกรณี ที่การเลียนแบบธรรมชาติก่อให้เกิดการออกแบบและสร้างอาคารที่มีประสิทธิภาพสูง มีความคงทน ใช้พลังงานและวัสดุทรัพยากรที่น้อยลง”  และ Maria Lorena Lehman สถาปนิกผู้เคยสอนที่ Harvard University Graduate School of Design กล่าวไว้ในบทความ “Biomimicry: Architecture Inspired By Nature” ตอนหนึ่งว่า “นักออกแบบเกือบทั้งหมด จะได้ประโยชน์จากการศึกษาแง่มุมบาง ด้านจากธรรมชาติ ....ธรรมชาติสามารถ สอนเราได้ในเรื่องระบบ วัสดุ กระบวนการโครงสร้าง และสุนทรียภาพ ดังนั้น โดยการศึกษาให้ลึกซึ้งมากขึ้นถึงวิธีการ ที่ธรรมชาติแก้ปัญหาที่เราต้องเผชิญ ในเวลานี้ เราก็อาจจะมีวิธีการแก้ปัญหา และการค้นพบแนวทางใหม่ๆ ในการ สร้างสิ่งแวดล้อมของอาคารที่ดีขึ้นได้ และในฐานะสถาปนิก เราสามารถก่อ ประโยชน์จากการเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อสร้างสรรค์อาคารที่ดีขึ้น โดยวิธีการ ที่มีลักษณะธรรมชาติ การผสมผสาน ความหลากหลาย การเพิ่มประสิทธิภาพ และสุขภาพการอยู่อาศัยมากขึ้น”
สถาปนิกและนักธรรมชาติวิทยา ยุคใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน และส่งเสริมแนวความคิด “สถาปัตย- กรรมแนวธรรมชาติ” ยังมีอีกหลาย ท่านที่โดดเด่น ได้แก่ ศาสตราจารย์ Alessandro Rocca แห่งสถาบัน Milan Polytechnic ผู้เขียนหนังสือชื่อ “Natural Architecture” ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2007 ที่นำเสนอผลงานสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติที่น่าสนใจถึง 66 โครงการ จากสถาปนิก 18 ท่าน (เช่น Patrick Dougherty, Nils-udo, Ex. Studio,Edward Ng เป็นต้น)
                    อนึ่ง สถาปนิกแนวนิเวศวิทยา ชาวอังกฤษชื่อ David Pearson ผู้เขียนหนังสือชื่อ “In Search of Natural Architecture” เมื่อปี ค.ศ. 2005 ได้ สืบสาวแนวคิดของสถาปัตยกรรมแนว ธรรมชาติตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน กับทั้งนำเสนอผลการสำรวจอาคารจาก ทั่วโลกที่อาศัยแนวความคิดใหม่ที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบของงาน สถาปัตยกรรมต่อสภาพแวดล้อมทาง ระบบนิเวศที่สะอาด (environmentally clean) รวมทั้งสุขภาพทางกายและ จิตใจที่ดีของมนุษย์ (spiritually healthy) นอกจากนี้ Stephen Kellert ศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาสังคมแห่ง มหาวิทยาลัยเยล ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Biophilic Design: The Theory, Science, and Practice of Bringing Buildings to Life” และเรื่อง “Reconnecting with Nature Through Green Architecture” เมื่อปี ค.ศ. 2009 โดยได้เน้นย้ำความสำคัญของโลก ธรรมชาติในการออกแบบและก่อสร้าง อาคารว่ามีผลต่อคุณภาพการอยู่อาศัย และสุขภาพที่ดีของมนุษย์ เขาเห็นว่า อาคารต้องมีหน้าต่างรับลมมากขึ้น ใช้ แสงธรรมชาติ รับอากาศบริสุทธิ์ มีพื้นที่ ปลูกต้นไม้และสวน และใช้วัสดุธรรมชาติ มากขึ้น นอกจากนี้ ในระยะไม่กี่ปีมานี้ ยังมีหนังสือสถาปัตยกรรมในแนว เน้นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีก มากมาย เช่น (2000) David Pearson’s New Organic Architecture: The Breaking Wave (2001), Deborah Gans’s The Organic Approach to Architecture (2003), Javier Senosiain’s Bio-Architecture (2003) Eugene Tsui’s Evolutionary Architecture (2006) Alan Hess’s Organic Architecture: The Other Modernism (2006), Museum Zurich’s Nature Design : From Inspiration to Innovation (2007), Phillip Jodidio’s Green Architecture Now ! (2009), เป็นต้น อนึ่ง เมื่อปี ค.ศ. 2008 James Wines อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ผู้ก่อตั้งสถาบัน “SITE Environmental Design” ที่ นิวยอร์ก ได้เขียนหนังสือที่น่าสนใจยิ่งชื่อ “Green Architecture” ที่สืบสาวประวัติ ความเป็นมาของปรัชญาเชิงนิเวศและสถาปัตยกรรมเขียวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยท่านได้ตอกย้ำความสำคัญของงานสถาปัตยกรรมและการอยู่อาศัยในเมืองที่เป็นมิตรและผสมกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค ศตวรรษที่ 21 ที่ปัญหาวิกฤติธรรมชาติด้านต่างๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ James Wines ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มสถาปัตยกรรมเชิงนิเวศในอนาคตหลาย ประการ เช่น บ้านจะมีขนาดที่เล็กลง การใช้วัสดุก่อสร้างที่สามารถนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ การใช้วัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงานในการผลิตและการขนส่ง การใช้ไม้ ที่ปลูกได้เองในท้องถิ่นแทนที่ไม้จากป่าธรรมชาติหรือจากต่างแดน การใช้น้ำอย่าง ประหยัดหรือหมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้ การออกแบบที่ทำให้การบำรุงรักษาต่ำ การรักษาสภาพแวดล้อมมิให้มีของเสียเกิดขึ้นและการเพิ่มความร่มรื่นเขียวชอุ่ม การประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการใช้พลังงานจากธรรมชาติทดแทนมากขึ้น ทั้งจาก แสงอาทิตย์ พลังลมและน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ James Wines ยังได้ชี้ให้เห็น
ผลงานของสถาปนิกแนวเน้นธรรมชาติหลายท่าน อาทิเช่น
               soft-and-hairy-house  1) บ้าน “Soft and Hairy House” โดยสถาปนิก Ushida Windley ที่สร้าง เมื่อปี ค.ศ. 1994 ที่เมือง Tsukuba City ใกล้กรุงโตเกียว เป็นอาคารเชิงนิเวศที่หลังคาเป็นลานสวนต้นไม้ ให้ความร่มรื่น มีการควบคุมความเย็นสบายภายในอาคาร Soft and Hairy House, Tsukuba City
                  2) บ้าน “Underhill” ที่ออกแบบโดย Arther Quarmby ที่สร้างที่เมือง Yorkshire ประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1974 เป็นบ้านแนวอิงแอบพสุธา (Earthsheltered house หรือ Geotecture) โดยสร้างลึกลงไปจากเนินเขาถึง 4.8 เมตร ด้านบนเป็นหลังคาที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ผสมกลมกลืนกับภูมิทัศน์รอบด้าน ทำให้ ภายในอาคารมีอุณหภูมิเย็นสบายตลอดปี โดยที่มีการใช้พลังงานน้อยมากและ
                  3) กลุ่มบ้าน “Nine-Houses” โดย Peter Vetsch ที่เมือง Dietikon ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่สร้างบริเวณ เนินเขาปกคลุมอาคารด้วยดินธรรมชาติ สร้างรายรอบสระน้ำ ส่วนกลางโครงสร้าง ภายในเป็นแบบอุโมงค์ดินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้แสงธรรมชาติ เป็นหลัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความตื่นตัวในการ ออกแบบสถาปัตยกรรมในแนวเน้นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมเขียว” (Green Architecture) ได้รับการขับเคลื่อนให้เกิดผลทางปฏิบัติอย่างจริงจังจากบทบาทของสหรัฐฯ มาตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ในการกำหนด หลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว หรือ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ที่เน้นปัจจัย 6 ด้านหลัก ได้แก่ ความยั่งยืนของที่ตั้ง ประสิทธิภาพการใช้น้ำ พลังงานและบรรยากาศ ทรัพยากรและวัสดุ สภาพแวดล้อม ภายในอาคาร และนวัตกรรมอาคารและการออกแบบ ซึ่งหลักเกณฑ์ของ LEED ได้รับ ความสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลก แต่รายละเอียดหลักเกณฑ์อาจไม่เหมาะสมกับประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา
underhill                    6. สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ : ทิศทางใหม่ในประเทศไทย
                      ปัจจุบัน สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ และสถาปัตยกรรมเขียว ที่เน้นการ ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เริ่มได้รับความสนใจในการเรียนการสอนและการออกแบบก่อสร้าง จริงของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยมากขึ้นตามลำดับ ตัวอย่างเช่น “ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ริเริ่มงานออกแบบแนวธรรมชาติมาแล้วกว่า 10 ปี โดยมีตัวอย่างผลงานการออกแบบและก่อสร้างจริงที่ปากช่อง ซึ่งเป็นการออกแบบโดยคำนึงถึงรูปทรงของอาคารที่เหมาะสม กับเทคโนโลยีอาคาร รวมทั้งระบบนิเวศอย่างครบวงจร (ลิขสิทธิ์ของบริษัท GG Advantage จำกัด) กับทั้งยังได้นำมาประยุกต์ใช้กับอาคารสภาสถาปนิกแห่งใหม่ บนถนนพระราม 9 โดยมีสถาบันวิชาชีพหลายแห่งของรัฐให้ความสนใจ รวมทั้งให้การสนับสนุนการสร้างอาคาร ในแนวทางดังกล่าวมากขึ้น นอกจากนี้ ที่คณะฯ ยังได้มีการสอนให้นิสิตมองเห็นประโยชน์ของธรรมชาติต่อคุณค่าด้าน การออกแบบ โดยเล็งเห็นว่าการศึกษา ธรรมชาติแวดล้อมสามารถเป็นต้นแบบ นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานและรูปทรง ที่มีสัดส่วนลงตัวสวยงามได้ ดังได้มีการ ตีพิมพ์หนังสือ “สถาปัตยกรรมจาก รูปทรงธรรมชาติ” มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ธรรมชาติมีหลายสิ่งหลายอย่างให้เรียนรู้ รูปทรงและสัดส่วนที่กลมกลืนสอดคล้องกันอย่างลงตัว นับเป็นบทเรียนสำคัญให้ มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยทดลอง เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่หรือนวัตกรรมอยู่เสมอ ธรรมชาติจึงเป็นครู เป็นบทเรียนอันมีค่ายิ่ง” นอกจากนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เน้นการสอนแนวสถาปัตยกรรมยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม Underhill, Yorkshire Nine-Houses, Dietikon เป็นปรัชญาของหลักสูตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และเมื่อปี พ.ศ. 2553 นี้เอง ก็ได้จัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมอาคารและเทคโนโลยี (CBIT)” เป็นศูนย์การวิจัย และบริการวิชาการเฉพาะทางด้าน สถาปัตยกรรมยั่งยืน หรืออาคารเขียว และสภาพแวดล้อม ในขณะที่คณะ นอกจากมหาวิทยาลัยแล้ว สมาคมวิชาชีพในแวดวงการก่อสร้าง ก็ได้ให้ความสำคัญและตื่นตัวกับการ ออกแบบอาคารเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมกัน มากขึ้น เช่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) ก็ได้ ตระหนักถึงความสำคัญของสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ โดยกำหนดให้มี พันธกิจหลักในการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ Green Architecture ส่งเสริมให้เกิด สถาปัตยกรรมเขียว มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติของโลก ลดภาวะโลกร้อนและ รักษาสภาพแวดล้อม มีการจัดทำ ASA Green Guide เป็นคู่มือการออกแบบอาคารเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม และ การประหยัดพลังงาน รวมทั้งร่วมมือกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) จัดตั้ง สถาบันอาคารเขียวไทย และจัดทำหลัก- สถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ก็ได้ให้ความสำคัญ กับการวิจัยด้านอาคารเขียว และให้ บริการหน่วยงานภายนอกที่ประสงค์จะประเมินสถานะอาคารเขียวของตน เป็นต้น
                     เกณฑ์การประเมินรับรองอาคารเขียว หรือ Green Building สำหรับประเทศ ไทย เช่นเดียวกับเกณฑ์การประเมิน ระบบ LEED ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินให้มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศของประเทศไทยด้วย รวมทั้งการประเมินและให้การรับรอง อาคารที่ผ่านเกณฑ์ โดยมีเป้าหมายให้ สามารถดำเนินการได้ในปี พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ยังมี “สภาสถาปนิก” ซึ่ง เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ออกหรือเพิกถอนใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ตลอดจนรับรองความรู้ ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่กำลังดำเนินการ จัดทำดัชนีประเมินคุณภาพอาคารและ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับประเทศไทยอย่างแท้จริง จากการทบทวนแนวคิดเรื่อง สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ และสถาปัตยกรรมเขียวดังกล่าวมา จึงคาดการณ์ ได้ว่า ในอนาคตทิศทางการออกแบบและ การก่อสร้างอาคารทั้งในต่างประเทศและ ในประเทศไทยเอง จะมุ่งเน้นในเรื่องการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงานและ ทรัพยากรมากขึ้น มีความกลมกลืนกับ ธรรมชาติและเป็นมิตรต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สามารถลดภาวะโลกร้อนได้มากขึ้น ทั้งนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และองค์กรวิชาชีพด้าน การออกแบบและก่อสร้าง จะต้องเป็นองค์กรนำในการศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมเขียว การศึกษาวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีอาคารเขียว รวมทั้งการ ขับเคลื่อนสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ หรือสถาปัตยกรรมเขียวสู่ภาคปฏิบัติ อย่างจริงจังต่อไป วิชาสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติ ควรจะมีการเรียนการสอนกันมากขึ้น ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ  ควรมีนโยบายสนับสนุนการศึกษาวิจัย สถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติแก่มหาวิทยาลัย และการพัฒนาอาคาร แนวธรรมชาติแก่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของอาคาร เช่น มาตรการสนับสนุนทางด้านภาษีหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ นอกจากนี้ สถาบันการเงินควรจะมีนโยบายสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่ผู้ ประกอบการและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่ ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาโลกร้อนและการรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
ที่มาของข้อมูล : ธรรมชาติศึกษาและที่อยู่อาศัยเชิงนิเวศ /วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์ /GHBHomeCenter.com