กระบวนทัศน์ของการออกแบบและการก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน
A Paradigm of Sustainable Design and Construction
ผศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์
ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
บทนำ“..Why do we need to concern about a paradigm of sustainable design and
development?..”
ในยุคปัจจุบันนี้ โลกเรากำลังเผชิญกับปัญหาและวิกฤตการณ์ที่รอการแก้ไขมากมาย ทั้งใน
เรื่องสภาวะโลกร้อน พลังงานหลักที่กำลังจะหมดไป ปัญหาด้านมลพิษ และสิ่งแวดล้อมจากอากาศ
ปัญหาขยะและน้ำเสีย สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ความเสื่อมโทรม
และกำลังจะสูญไปของป่าไม้ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่มีมาแต่อดีต ปัญหา
สังคม-ชุมชน-แหล่งพำนักอาศัยเสื่อมโทรมต่างๆ คงปฏิเสธกันไม่ได้แล้วว่า “มนุษย์ (Human)” คือ
ส่วนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังทั้งในฐานะ “ผู้สร้าง” และ “ผู้ทำลาย”
ในบทบาทสำหรับนักวิชาชีพและนักวิชาการด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก วิศวกร
นักออกแบบศิลปอุตสาหกรรม ภูมิสถาปนิก มัณฑนากร ผู้ประกอบการ นักวางผัง นักวิชาการ นัก
การศึกษา หรือผู้รับเหมาก่อสร้างก็ตาม ในฐานะมนุษย์หรือ ประชาชนคนหนึ่งในสังคมแล้ว โดยหน้าที่
และบทบาททางวิชาชีพ ท่านทั้งหลายเหล่านี้สามารถนำความรู้และกระบวนการทัศน์ของการออกแบบ
และพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในการทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม สภาพแวดล้อม รวมถึงมีส่วนช่วยแก้ไข
บรรเทาปัญหาต่างๆที่มนุษย์และโลกของเรากำลังเผชิญดังเกริ่นไว้ข้างต้นได้
ขอบเขตและความสำคัญของกระบวนทัศน์ของการออกแบบและการก่อสร้างเพื่อ
ความยั่งยืน
แนวคิดสำหรับการออกแบบและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Concept of Sustainable Design and
Development) เป็นสิ่งที่นักออกแบบ นักคิด และนักวางแผนในยุคนี้ควรให้ความสำคัญ โดยจะต้องมี
กระบวนการคิดที่เป็นระบบตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีเป้าหมายเน้นไปที่สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
(Environment and Ecology) เป็นสำคัญ คำว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)”,
2
“สถาปัตยกรรมสีเขียว (Green Architecture)”, “การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ
(Environtal and Ecological Design)”, ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นหัวข้อประเด็นเนื้อหาที่สำคัญสำหรับการ
ออกแบบและพัฒนาตามหลักและแนวทางเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งความยั่งยืน (Sustainability) สิ่ง
สำคัญที่นักวิชาการหรือนักออกแบบประสงค์ที่จะมีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยการบูร
ณาการองค์ความรู้หรือศาสตร์ (Knownledge Integration) ที่ตนเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและผ่าน
กระบวนทัศน์ตามหลักการวิจัยเพื่อการออกแบบ เพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมี
ประสิทธิผล ซึ่งองค์ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอันนำไปสู่หนทางของการออกแบบและ
พัฒนาเพื่อความยั่งยืนนั้น มีความหลากหลายและกว้างขวางสำหรับนักออกแบบ นักวิชาการ นัก
วิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม ด้านวิศวกรรม และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ทั้งนี้อาจพิจารณาตามการ
จัดกลุ่มเนื้อหาศาสตร์เพื่อการวิจัยด้านความยั่งยืน (Topic Areas of Research and Consultancy for
Sustainability) ของ The Institute for Sustainable Futures1” ดังนี้
1. รูปแบบการขนส่งและเมืองเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Transport and Urban Form)
2. อนาคตเพื่อความยั่งยืนทางด้านทรัพยากรน้ำ (Sustainable Water Futures)
3. การใช้วัสดุเพื่อความยั่งยืนและการลดปริมาณขยะ/ของเสีย (Sustainable Materials Use
and Waste Minimisation)
4. พลังงานเพื่อความยั่งยืนและการลดปฏิกิริยาเรือนกระจก (Sustainable Energy and
Green House Reduction)
5. การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนโดยรัฐบาลระดับท้องถิ่น (Sustainable Development by
Local Government)
6. หลักความเสมอภาคทางการเมืองและสังคมกับการดำเนินการเพื่อความยั่งยืน
(Sustainable Democracy and Cooperation)
7. เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Economic Instruments
for Sustainability)
8. การบริหารจัดการด้านความต้องการ (อุปสงค์) และการวางแผนเพื่อลดต้นทุน (Demand
Management and Least Cost Planning)
9. อาคารและการออกแบบเพื่อความยั่งยืน(Sustainable Building and Design)
10. การพัฒนาในระดับนานาชาติ (International Development)
สำหรับการดำเนินการของวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาคารและการออกแบบ (หัวข้อ 9) เป็นหลัก
และปรารถนาที่จะสัมฤทธิผลในการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ควรพิจารณาบูรณาการองค์ประกอบหรือ
1 http://www.isf.uts.edu.au/whatwodo/index.html
3
ขอบเขตตามหัวข้อวิจัยทั้ง 10 สาขาเป็นต้นแบบ โดยหัวข้อ “อาคารและการออกแบบ (Building and
Design)” เปรียบเสมือนหัวใจหลักที่วิชาชีพเรากำลังพุ่งเป้าเข้าไปหาโดยมีหัวข้อและปัจจัยแวดล้อม
อื่นๆ เป็นตัวสนับสนุน เนื่องจากทุกวันนี้ในการดำเนินการในส่วนของวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการ
ออกแบบ และการก่อสร้างอาคารนั้น มักจะมุ่งเน้นอยู่ที่กระบวนการ 2 ส่วนหลัก คือ (1) การออกแบบ
(Design) และ (2) การก่อสร้าง (Construction) ส่วนการมุ่งไปสู่หนทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
(Sustainable Development) อย่างจริงจังนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นผลครอบคลุมในวง
กว้างได้ ยังเป็นแค่ส่วนหรือเพียงเสี้ยวหนึ่งของการปฏิบัติงานทางวิชาชีพเท่านั้น และยังไม่นำไปสู่การ
ปฏิบัติอย่างกว้างขวางได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบและก่อสร้างในประเทศไทย
รูปที่ 1 แสดงถึงสถานการณ์ปัจจุบันของแนวคิดด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable
Development) ว่ายังเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เป็นส่วนน้อยในการออกแบบ
(Design) และการก่อสร้าง (Construction)
(Design)
การออกแบบ
(Construction)
การก่อสร้าง
(Sustainable Design and Construction)
การออกแบบและการก่อสร้างที่ยั่งยืน
4
การสร้างกระบวนทัศน์เชิงวิจัยเพื่อสนับสนุนให้งานออกแบบและงานก่อสร้าง
พัฒนาไปสู่ความยั่งยืน
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่สั่งสมมาแต่อดีตและเพื่อการปรับตัวก้าวสู่อนาคต หนทางแห่งความ
ยั่งยืนในการออกแบบและก่อสร้างอาคารเป็นคำตอบหนึ่งที่วิชาชีพเราควรก้าวไปให้ถึง จากรูปที่ 1 นั้น
หากส่วนควาบเกี่ยวของวงกลมสองวงหรือส่วนพื้นที่ตรงกลางซึ่งเป็นพื้นที่ของการออกแบบและการ
ก่อสร้างที่ยั่งยืน (Sustainable Design and Construction) ถูกแผ่ขยายวงกว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วน
ของพื้นที่ทางด้านซ้าย คือ การออกแบบ (Design) หรือทางด้านขวา คือการก่อสร้าง (Construction)
นั่นย่อมเป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนา สิ่งดีๆ ของการพัฒนาย่อมเกิดผลตามมามากมาย อาทิ
สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีขึ้น การประหยัดในเชิงของเงินตราและทรัพยากร การประหยัดเวลา
และต้นทุนในการดำเนินงาน / บริหารจัดการ
ในการดำเนินการเพื่อให้บังเกิดผลในเชิงของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
นั้น สถาปนิก-วิศวกร-นักออกแบบ-และผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย จำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์การทำงาน
และการศึกษาเข้าสู่กระบวนการเชิงวิจัย มาถึงจุดนี้หลายท่านอาจสงสัยว่า แล้วกระบวนการเชิง
วิจัยเกี่ยวพันอย่างไรกับกระบวนทัศน์ของการออกแบบเพื่อความยั่งยืน? ลองพิจารณาหา
คำตอบจากคำถามที่เป็นข้อกังขาทีละขั้นตามลำดับดังนี้
1. “ การวิจัย ” หมายถึง การค้นหาข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบและเป็น
วิทยาศาสตร์ เพื่อการตอบคำถามการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้า ซึ่งการวิจัยที่ดีนั้นควรมีคุณสมบัติอย่าง
น้อย 3 ประการ ดังนี้
1.1 การวิจัยควรสามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ตั้งไว้ได้อย่างชัดเจนครบถ้วน
1.2 กระบวนการของการวิจัยจะต้องอาศัยวิธีการเชิงประจักษ์ที่นำไปสู่คำตอบได้อย่าง
ถูกต้องและมีเหตุผล
1.3 คำตอบของการวิจัยจะต้องมีคุณค่า สามารถนำไปใช้ได้กับการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย
หรือการปฏิบัติ ซึ่งมิใช่แค่การสำรวจความคิดเห็น (Poll) เนื่องจากการจัดทำโพลล์
ไม่ได้ใช้กระบวนการวิจัย
2. “ กระบวนการออกแบบ ” หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ โดย
กระบวนการหลักของการออกแบบประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอน2ดังนี้
2 Lang, Jon. A Model of the Designing Process, In Lang, Jon. (Ed.) Designing for Human Behavior, Pennsylvania : Hutchinson
and Ross Inc. 1974
5
2.1 ขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างและพัฒนาโปรแกรมการออกแบบ
(Intelligence)
2.2 ขั้นตอนการออกแบบ (Design)
2.3 ขั้นตอนการหาหรือสร้างทางเลือก (Choice)
2.4 ขั้นตอนการนำไปสู่การปฏิบัติ (Implementation)
2.5 ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluation)
ในกระบวนการของการออกแบบนั้น ขั้นตอนการประเมินผลสามารถนำไปสู่ความรู้ที่สามารถ
นำมาสร้างเป็นทฤษฏีหรือเพื่อการปรับปรุงการออกแบบในภายหลังได้ ทั้งนี้การวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่ง
สาระที่ต้องการมีอยู่ในกระบวนการหาข้อมูล / ข่าวสาร และกระบวนการประเมินผลซึ่งมีเป้าหมายที่
แตกต่างกัน ดังนั้น กระบวนการออกแบบจึงไม่ได้เป็นกระบวนการเส้นตรง (Linear Process)
เนื่องจากหลังจากที่ได้รูปแบบเบื้องต้นแล้ว ผู้ออกแบบมักได้รับอิทธิพลจากกระบวนการที่เรียกว่า
“ Vision of Process and Product” ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดดั้งเดิม และก่อให้เกิดการ
พัฒนาหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด (Ziesel 1981)
3. “ การวิจัยเพื่อการออกแบบ ” ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยเพื่อการออกแบบ แบ่งได้ 2
รูปแบบ คือ
3.1 ความรู้แบบ Programmatic ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากกระบวนการ Programming
Research
3.2 ความรู้แบบ Paradigmatic ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากกระบวนการ Evaluation
Research
การออกแบบจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทั้งสองรูปแบบเสมอ เนื่องจากทั้งคู่มีจุดอ่อนและจุดแข็ง
ในตัว โดยความรู้แบบ Programmatic นั้น เป็นการริเริ่มการหาข้อเท็จจริงเพื่อใช้ในงานเฉพาะมักใช้
เวลามาก ค่าใช้จ่ายสูง และอาจต้องลองถูกลองผิด แต่เป็นความรู้ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด
ส่วนความรู้แบบ Paradigmatic นั้น เป็นการเสริมความรู้แบบแรกที่ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
แต่ทำให้จำกัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบ เช่น การหาความรู้จาก Architectural Standard
หรือ Time Saver Standard ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาความสมดุลย์จากความรู้ทั้งสองรูปแบบ (ดู
รายละเอียดใน นภดล สหชัยเสรี วิธีการออกแบบ Paradigmatic และ Programmatic ใน
กระบวนการหาข้อมูลเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม และชุมชนเมือง วารสารพระจอมเกล้า
ลาดกระบัง V.5 March 1997, pp.79-83) หรืออาจกล่าวได้ว่า กระบวนการวิจัยเพื่อการออกแบบ
6
นำไปสู่ความรู้สองประเภท คือ ความรู้แบบ Programmatic และความรู้แบบ Paradigmatic โดย
แสดงดังรูปที่ 2 ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการหลักของการออกแบบ 5 ขั้นตอน ดังที่กล่าวมาแล้ว
P a r a d i g m a t i c D s
รูปที่ 2 กระบวนการวิจัยเพื่อออกแบบ นำไปสู่ความรู้สองประเภท จาก Lang, Jon. A Model of the
Designing Process, In Lang, Jon. (Ed.) Designing for Human Behavior, Pennsylvania
: Hutchinson and Ross Inc. 1974
เพื่อความเข้าใจในกลุ่มการวิจัยเพื่อการออกแบบ เราจึงควรทำความเข้าใจกับกระบวนทัศน์
ในการวิจัยเพื่อการออกแบบเสียก่อน จากวิวัฒนาการด้านแนวคิดในสาขาการออกแบบกระทั่งปัจจุบัน
เราสามารถแบ่งกระบวนทัศน์ที่เกิดขึ้นได้พร้อมๆ กันถึง 3 กระบวนทัศน์3 หลักที่สำคัญ ได้แก่
(1) ความรู้สึกด้านสถานที่ (Sense of Place) ซึ่งเป็นความรู้สึกของผู้ใช้สถานที่เป็นสำคัญ
(2) กระบวนทัศน์ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งเป็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและ
ระบบนิเวศน์
(3) กระบวนทัศน์ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ใช้สถานที่ (Participation) ซึ่งเป็นกระบวนการและ
เทคนิควิธีการค้นหาข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ การวิจัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ มักสามารถจัดเข้ากับหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง
กระบวนทัศน์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปจะเป็นรายละเอียดของสาระในกระบวนทัศน์
3 Snacar, Fahriye Hazer. Paradigms of Postmodernity and Implicative for planning and Design Review Process. Environment
and Behavior.,Vol.26 No.3 May 1994
Development of
architectural
program
Sketching of
alternative
solutions
Selection of
best
alternative
Working drawings,
specifications,
contracting,construction
Evaluation of
building in use and
process of design
used
Theory building
for future
designing
Correction of
faults in
design
INTELLIGENCE DESIGN CHOICE IMPLEMENTATION EVALUATION
7
เพื่อความยั่งยืนเท่านั้น (ดู ผศ.ดร.นภดล สหชัยเสรี. กระบวนทัศน์กับการวิจัยการออกแบบเพื่อความ
ยั่งยืน. เอกสารประกอบการประชุมใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 2 “ ความยั่งยืน สภาพแวดล้อม สุนทรียภาพ”,
สภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบภายในแห่งประเทศไทย, 2546, หน้า 45-52)
กระบวนทัศน์การออกแบบเพื่อความยั่งยืน (Sustainability)
ในกระบวนทัศน์การออกแบบเพื่อความยั่งยืน การรับรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของที่มาและ
แนวคิดของการออกแบบเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Design) การศึกษาแนวโน้มการวิจัยหรือ
ความรู้ด้านความยั่งยืนในด้านการออกแบบระดับโลก (Global Scale) และการสรุปทิศทางและความ
น่าจะเป็นของการดำเนินงานหรือการวิจัยในกระบวนทัศน์ด้านความยั่งยืนของการออกแบบและ
ก่อสร้าง เพื่อจรรโลงสิ่งแวดล้อมในอนาคตนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นแนวทาง และช่วยกันสรรค์สร้างสิ่งที่ดี ซึ่งแต่ละบุคคลมีส่วนรับผิดชอบตาม
บทบาทหน้าที่ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความน่าอยู่ของโลกใบนี้ต่ออนุชนรุ่นหลังในอนาคต
จากการที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่ง
ส่งผลต่อความไม่สมดุลแก่ระบบนิเวศ ดังจะเห็นได้จากปัญหาระดับโลกในปัจจุบัน อาทิ ปัญหาโลก
ร้อน การลดลงของปริมาณโอโซน และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแก๊ส เรือนกระจก จากรายงานที่ชื่อ
ว่า “Our Common Future” ในการประชุมของ The World Commission on Environment and
Development หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า the Bruntland Commission ในปี 1987 ได้มีคำที่เกิดขึ้นใหม่คือ
“การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)” เป็นครั้งแรก ซึ่งหมายถึง ความจำเป็นในการ
สนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบันโดยไม่เบียดเบียนความสามารถในการสนองความต้องการ
ของคนในยุคหน้า ซึ่งเป็นสัตยาบัน ที่เริ่มต้นขึ้นเนื่องจากระดับความรุนแรงของสภาพแวดล้อมโลกที่
เสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว ในครั้งการประชุมของ Bruntland Commission ทั้งในปี 1972 และปี 1987
นับว่าเปลี่ยนแนวคิดจากความกังวลต่อสภาพแวดล้อมโดยตรงมาเป็นความสนใจในสภาพแวดล้อม
มนุษย์ ที่เรียกว่า “Brown agenda” ก่อนที่ “Earth Summit” ในปี 1992 ที่ Rio de Janeiro จะหัน
กลับมาสนใจในสิ่งแวดล้อมกายภาพอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม รายงานของ UNCED เน้นปัจจัยที่
Bruntlant report ได้กล่าวไว้ 4 ด้าน ซึ่งได้แก่ ความยากจน ประชากร เทคโนโลยี และวิถีชีวิตโดยสอง
ประการหลังนี้เองที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านการออกแบบโดยตรง
อีกแนวคิดหนึ่งได้แก่ “การคิดระดับโลก ปฏิบัติในระดับท้องถิ่น (Think globally, act locally)”
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักในระดับโลกอีกครั้งหนึ่ง เช่น โลกร้อน ชั้นโอโซนที่สูญเสียไป และ
ทรัพยากรพลังงานที่หมดไปอย่างรวดเร็วที่จะต้องนำมาเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องปฏิบัติกันในแต่ละ
ท้องถิ่นตามบริบทเฉพาะของตนเพื่อการแก้ปัญหาโลกดังกล่าว ความตระหนักต่อการออกแบบที่
8
ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อโลกและถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของนักออกแบบอาชีพ การ
ออกแบบสภาพแวดล้อมควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ (Brian, 2001)
1. โลกร้อน (Global warming) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อโลกร้อนได้แก่ปริมาณก๊าซคาบอนไดอ๊อก
ไซที่เพิ่มขึ้น และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ใช้ไปในการก่อสร้างและใช้อาคาร 45%
ของการผลิตก๊าซชนิดนี้ทั่วโลกเกิดขึ้นจากอาคาร เช่น การผลิต การขนส่งวัสดุก่อสร้าง การให้แสงสว่าง
การทำความเย็น และการระบายอากาศ ในตัวอาคารดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในท้องถิ่นจะสามารถ ลด
การขนส่ง และการบริหารจัดการด้านการทำความเย็นและการให้แสงสว่างภายในอาคารด้วยวิธีการ
ตามธรรมชาติจะสามารถลดการเกิดก๊าซคาร์บอนนี้ได้ การใช้วิธีการทำความเย็นหรือการระบาย
อากาศ ด้วยวิธีการธรรมชาติ (Passive cooling) เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน
สิ้นเปลืองและการก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจก
2. การหมดไปของชั้นโอโซน (Ozone layer depletion) การออกแบบอาคารที่ใช้พลังงาน
น้อยย่อมก่อให้เกิดผลด้านการลดลงของชั้นโอโซนลงด้วย เนื่องจากอาคารที่ทำความเย็นด้วย
เครื่องปรับอากาศมักใช้สาร Chlorofluorocarbons (CFC) เป็นตัวกลางในการส่งผ่านความร้อนจาก
ภายในอาคารออกนอกตัวอาคาร ซึ่งมีผลต่อการลดลงของปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งนอกจาก
ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดขึ้นจำนวนมากกว่าหกหมื่น
รายต่อปีเนื่องจากไม่มีชั้นโอโซนในการกลั่นกรองรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต ที่ผ่านลงมายังพื้นโลก
3. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในครั้งการประชุม Earth Summit ที่ Rio
De Janeiro ในปี 1992 ได้เน้นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งมีผลมาจากตัว
อาคารเนื่องจากการเลือกใช้วัสดุที่เป็นอันตรายต่อชีวภาพบางพันธุ์และทำให้บางพันธุ์เพิ่มจำนวนมาก
ขึ้น เช่นการตัดไม้ทำลายป่า การขุดหินปูน ดิน และชอล์คขึ้นจากดินทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นใน
แหล่งขุด และทำให้ที่ดินอันมีค่าเสียไป การสร้างอาคารยังทำลายที่อยู่ของสัตว์หายากบางประเภท เช่น
ค้างคาว แต่กลายเป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาอีกหลายประเภทเช่น แมลงสาป การใช้วัสดุตาม
ธรรมชาติช่วยลดผลกระทบดังกล่าวลง
4. ระยะทางการขนส่งวัตถุดิบ (Product miles) เป็นการคำนึงรอยเท้าแห่งนิเวศของตัว
อาคาร (Building ecological foot print) ซึ่งเรียกว่าแนวคิด Product miles เป็นการคำนึงถึงน้ำหนัก
ของวัสดุ ระยะทางการขนส่ง และชนิดของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง
5. การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) เป็นการคำนึงถึงวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ทั้งหมด หรือสามารถถอดประกอบและนำมาประกอบใหม่ได้ รวมทั้งการออกแบบอาคารที่สามารถ
ปรับใช้ได้ในอนาคต เป็นการบูรณาการด้านวัสดุและวิธีการออกแบบ
9
แนวโน้มการวิจัยด้านความยั่งยืนในการออกแบบในระดับโลก
จากแนวคิดด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ปรากฏว่ามีการวิจัยที่เกี่ยวข้องตามความสนใจ
ของนักวิชาการ และทิศทางของศาสตร์พอจะแบ่งได้เป็นสี่กลุ่มหลัก จากการประชุม PLEA ในปี 2002
มีบทความที่ส่งเข้าเสนอในที่ประชุม 167 บทความ ปรากฏว่ามีการวิจัยด้านกรอบอาคารเพียง
ประมาณหนึ่งในสามเท่านั้น ที่เหลือเป็นการวิจัยในด้านการจัดการในระดับที่ใหญ่กว่า และเป็นระบบ
มากขึ้น เช่น ระบบนิเวศอาคาร/เมือง ตลอดจนการจัดการด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร
อย่างไรก็ตาม สาระการวิจัยเพื่อการออกแบบในระดับโลก (จากการประชุม PLEA) พอสรุป
แนวโน้มได้ดังนี้
- เน้นเรื่อง Sustainability/ecology มากกว่าการประหยัดพลังงานเพียงอย่างเดียว
- เน้นการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ที่มา : จากการประชุม PELA ในปี 2002 มีบทความที่ส่งเข้าเสนอในที่ประชุม 167 บทความ
จำนวนบทความ ระดับ/สาขาที่เกี่ยวข้อง สาระ/ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง
45 Urban Planning / Design การแก้ปัญหาความน่าสบายพลังงานและนิเวศในระดับเมือง
36 Built Environment ระดับสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างตั้งแต่ภูมิทัศน์ถึงภายใน
63 Building Envelope การวิจัยด้านกรอบอาคารและสภาวะน่าสบายที่เกิดขึ้น
23 Interior/spatial การจัดสภาพแวดล้อมภายใน indoor air quality ,lighting,
sound absorption panels, environment and behavior.
รวม 167
- เน้นสาระการเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีมากกว่าการเน้นด้านเทคนิควิธี
- ในด้านมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ เน้นทั้งพลังงานที่ใช้ใน embodiment and operating
cost
- ในแง่กฎหมาย และแนวทางการส่งเสริมการขาย ใช้ energy pact (แนวคิดบ้านเบอร์ 5)
- เน้น rethinking architecture เพื่อคานความสมดุลด้านความตระหนัก/ จิตสำนึก และ
การค้า
- เชื่อมโยง micro-climate and morphology
- เน้น user participation ทั้งด้านการออกแบบ และการตัดสินใจโดยมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
- เน้น design tools ที่ตอบสนองต่อแนวคิดด้าน sense of place
10
- ด้านวิธีการและมุมมอง ใช้การผสมผสานระหว่างแนวคิด เช่น
• ตัวชี้วัดที่เป็น อัตวิสัย และวัตถุวิสัย (Subjective and Objective measurement)
เพื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกของสภาพทางกายภาพ
• Macro & micro scale / Atrium & interior space / Bottom-up & top-down
• Environment & psychology / behavior / cognitive map
สรุปทิศทางและความน่าจะเป็นของการวิจัยในการะบวนทัศน์ด้านความยั่งยืนของ
สิ่งแวดล้อมในอนาคต
1. การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความน่าสบาย ความต้องการด้านความสบายมัก
เกี่ยวข้องกับสองปัจจัยหลัก ได้แก่ ระดับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ บุคคลมักมีความ
ต้องการต่างกันเนื่องจากความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อม
ควรให้เหมาะสมกับความต้องการเพื่อสามารถประหยัดทรัพยากรได้สูงสุด (Optimization of
resource) โดยวิธีการในการแก้ปัญหาด้านความร้อนเพื่อความน่าสบาย (Comfort) มีหลายวิธี ขึ้นอยู่
กับภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆ เช่น ด้วยวิธีการเคลื่อนที่ของอากาศ การใช้ Cross ventilation, การใช้มวล
ของอาคารในการชะลอความเย็น การใช้หลักการด้านความร้อนแฝง ฯลฯ ทั้งนี้ ข้อสรุปจากที่เราคนไทย
กำลังศึกษา เช่น จาก Psychometric chart มักเป็นไปในบริบทของสภาพร่างกายของชาวตะวันตก ซึ่ง
คนไทยเรายังต้องการการวิจัยเพื่อให้ความสร้างมาตรฐานที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับความน่า
สบายตามบริบทไทยอีก
2. เทคนิคการประหยัดพลังงานในอาคาร พลังงานที่ใช้ในตัวอาคารแบ่งออกเป็นสอง
รูปแบบ ได้แก่
ก. Embody energy เช่น พลังงานที่ใช้ในการผลิต ขนส่ง และก่อสร้างตัวอาคาร จาก
ตารางจะเห็นได้ว่า วัสดุก่อสร้างประเภทต่างๆ มักต้องการพลังงานในการผลิต
ต่างกัน ดังนั้น การออกแบบจึงควรเลือกใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบด้านพลังงานต่ำ
เพื่อประหยัดสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมระบบนิเวศที่สมดุล การวิจัยที่เกี่ยวข้องมัก
ประสานความน่าจะเป็นของวัสดุเหล่านี้ ราคา ประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนรสนิยม
ของผู้ใช้อาคาร
ข. Operating energy ได้แก่พลังงานที่ป้อนให้แก่อาคารขณะใช้อาคารที่ได้รับการ
ออกแบบโดย คำนึงถึงการระบายความร้อนด้วยวิธีธรรมชาติ จะสามารถประหยัด
พลังงานได้มากกว่า ในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ เริ่มมีโครงการประเมิน
ระดับการใช้พลังงานของอาคาร (ในกรณีการทำความอุ่น) คล้ายกับการประเมิน
11
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตู้เย็น (โครงการฉลากเบอร์ห้า ของ สนพ.) เพื่อผู้
ซื้อสามารถคำนวณระยะเวลาคืนทุนเมื่อซื้ออาคารแต่ละหลัง วิธีนี้ถือว่าเป็นการ
ใช้การตลาดในการส่งเสริมการประหยัดพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง (Vale 2000)
การคำนึงถึง เทคนิคการประหยัดพลังงานในอาคาร เพื่อส่งเสริมความน่าสบาย ด้วยวิธีการ
หันทิศทางให้ถูกต้อง (Building Orientation) และการสร้างความเย็นโดยวิธีธรรมชาติ โดยวิธีการต่างๆ
(Passive cooling) บางครั้งวิธีการต่างๆ มักเป็นความต้องการที่ขัดแย้งกันเอง เช่น ทิศทางแดดและ
ลม แสงและรังสีความร้อน การระบายความร้อนด้วยน้ำกับความชื้นสัมพัทธ์ เป็นต้น (Givoni 2000)
ดังนั้นการผสมผสานวิธีการทาง Passive cooling จำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการด้านความขัดแย้ง
อย่างมาก พร้อมทั้งความรู้เฉพาะบริบทสำหรับแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย ดังนั้นการวิจัยเพื่อการ
ออกแบบจึงมักเกี่ยวข้องกับการผสมผสานเทคนิควิธีต่างๆดังกล่าวในข้อที่ 1
3. ความสมดุลของระบบนิเวศน์ภายใน สิ่งแวดล้อมสรรสร้าง (Built environment) ไม่
ว่าจะเป็นระดับเมืองหรืออาคารถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศแบบเปิด (King 2000) เช่น มีการนำเข้า
ทรัพยากรจากภายนอกมาใช้ และการนำของเสียออกไปทิ้งข้างนอก การออกแบบอาคารที่ดีควร
คำนึงถึงระบบนิเวศอาคารในลักษณะกึ่งเปิด เพื่อนำเข้าทรัพยากร และนำของเสียออกไปทิ้งให้น้อย
ที่สุด พร้อมทั้งจำกัดพื้นที่ของรอยเท้านิเวศให้แคบที่สุด โดยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศภายใน
และรอบตัวอาคาร การวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบำบัด การฟอกอากาศ การ Recycle น้ำใช้พลังงาน
ธรรมชาติ และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพรอบตัวอาคาร (Ken Yaeng 2000)
บทสรุป
การออกแบบและการก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Design and Construction) มิใช่
ประเด็นปัญหาใหม่ หรือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหนทางที่มนุษย์เราทุกคน
ต้องร่วมกันหาทางแก้ไข เพื่อดำรงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของโลกและตัวเรา
สำหรับในมุมมองของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ในบทบาทของนัก
ออกแบบ ทั้งสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ประกอบการด้านวัสดุผลิตภัณฑ์ นักวางผัง มัณฑนา
กร ล้วนมีส่วนสำคัญเท่าเทียมกัน ซึ่งควรใช้กระบวนทัศน์ของการออกแบบวิจัยเข้าไปดำเนินการตาม
ขั้นตอนต่างๆ ของการปฏิบัติวิชาชีพ อาทิ
- สถาปนิก ต้องมีจิตสำนึกและมีกระบวนทัศน์ของการออกแบบที่มีประสิทธิภาพใน
การวางผัง การเลือกใช้วัสดุ การจัดวางอาคารที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม และรับ
ประโยชน์จากธรรมชาติ รู้หลักและแนวคิดการออกแบบการประหยัดพลังงาน
12
- วิศวกร ต้องเข้าใจในหลักการเลือกใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพ วางแผนและควบคุม
กระบวนการทำงาน/การก่อสร้างให้เหมาะสม มีการคำนวณประสิทธิภาพในด้านราคา
และต้นทุน
- นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการผลิต การเลือกใช้วัสดุที่เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อม รู้จักคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุ เพื่อนำมาสร้างหรือวางแผน
ตลอดกระบวนการผลิตเพื่อลดการสูญเสีย สร้างประโยชน์ในด้านการใช้งานสูงสุด
และไม้ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
“ Sustainable development…….
3. Green, Ecological or Sustainable Architecture
คำเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร? และเป็นอย่างไร?
“Green”, “Ecology”, and “Sustainable” ถูกใช้โดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต่อมาเมื่อสถาปัตยกรรมได้ให้ความสนใจในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คำเหล่านี้จึงถูกนำมารวมกับสถาปัตยกรรม โดยให้ความหมายที่สื่อถึง งานสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมและเป็นสถาปัตยกรรมที่มีออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ สถาปัตยกรรมในแนวความคิดนี้มีเป้าหมายในการออกแบบที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มีผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ความหมายเชิงลึกของคำเหล่านี้เกี่ยวพันไปถึงเรื่องที่สถาปนิกจะทำได้เพื่อการรักษาเยียวยา รวมไปถึงการขยาย สืบต่อ หรือทำให้โลกสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงและคงอยู่เพื่อมนุษยชาติในรุ่นต่อๆ ไป
ในทางสถาปัตยกรรมแล้วมีหลายทางที่จะออกแบบ “สถาปัตยกรรมสีเขียว” (Green Architecture) และรับผิดชอบต่อการเพิ่มขึ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมบนพื้นโลก การออกแบบนี้อาจจะสามารถทำได้โดยที่ยังคงประสิทธิภาพในการใช้งานของอาคาร ยังมีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม และมีค่าใช้จ่ายของการก่อสร้างไม่มาก ทั้งนี้อาจจะสรุปการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เป็น 5 หัวข้อหลักๆ คือ ระบบนิเวศน์ของอาคาร (Building Ecology), ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), วัสดุ (Materials), รูปทรงอาคาร (Building Form), และการออกแบบอาคารโดยรวมที่ดี (Good Design)
Building Ecology
ผลิตภัณฑ์และงานระบบต่างๆ ที่ใช้ในอาคารอาจจะเป็นพิษได้ อาจจะปล่อยสารเคมี และเศษฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นระยะเวลายาวนานหลังจากที่อาคารสร้างเสร็จ สาเหตุนี้สามารถแก้ได้หากสถาปนิกมีความเข้าใจและลดอันตรายของการใช้วัสดุตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ มีการปรับเปลี่ยนและเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีผลข้างเคียง รวมไปถึงระบบระบายอากาศทั้งแบบธรรมชาติและระบบเครื่องจักรกลสามารถออกแบบให้มีการหมุนเวียนเอาอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารมากที่สุดและลดภาวะที่จะทำให้เกิดเชื้อราหรือความอับ เหม็นให้น้อยที่สุด
Energy Efficiency
โดยการออกแบบให้อาคารนำเอาและใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติเป็นลดภาระการผลิตพลังงาน ทั้งยังเป็นรักษาพลังงานไว้ใช้ในยามจำเป็นจริงๆ เช่น ในช่วงที่มีการใช้กระแสไฟสูงในช่วงร้อนจัด เป็นต้น การออกแบบอาจจะเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ การใช้ Thermal Mass ของอาคารเพื่อเก็บหรือระบายความร้อน หรือการออกแบบระบบฉนวนให้เหมาะสมกับการใช้งาน การใช้ระบบควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบทำความเย็นสามารถลดความต้องการในการใช้ไฟฟ้าได้
Materials
วัสดุบางอย่างที่ใช้ในการก่อสร้างส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของโลกมากน้อยแตกต่างกัน ไม้บางชนิดได้มาจากการตัดไม้ในป่าที่ไม่สามารถปลูกทดแทนได้ วัสดุบางอย่างอาจจะได้มาโดยกระบวนการที่สร้างมลภาวะให้กับพื้นโลก หรือสร้างสารพิษออกมาในขั้นตอนการแปรรูป วัสดุบางอย่างผลิตมาจากแหล่งทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้ และมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการผลิต สถาปัตยกรรมควรจะคำนึงถูกระบบนิเวศน์ทั้งในระดับทองถิ่นและระดับโลก โดยสถาปนิกควรจะพิจารณาใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และอ่นให้น้อยที่สุด
Building Form
รูปทรงของอาคารมีส่วนรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของที่ดิน ต้นไม้ หรือสภาพอากาศโดยรอบ ในการออกแบบรูปทรงอาคารอาจจะทำให้มีการเอื้อต่อการหมุนเวียนของการวัสดุ ทรัพยากร ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานในอาคาร เพิ่มความน่าอยู่ให้แก่ผู้ใช้ และมีความปลอดภัย การออกแบบสามารถสะท้อนถึงความงามในแง่ของความสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น หรือธรรมชาติโดยรอบ และมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมในวงเล็ก (Micro-Climate)
Good Design
การออกแบบที่ดีต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาหรือผลงานชิ้นนั้นทิ้งอะไรไว้บ้าง อาคารที่คงทนถาวร ง่ายต่อการใช้ คำนึงถึงเอาวัสดุเก่ากลับมาใช้ และสวยงาม มักจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เช่น จะมีความต้องการพลังงานน้อยลง ซ่อมบำรุงน้อย และคุณค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา การออกแบบที่คิดอย่างละเอียดละออ ให้ความสำคัญกับรายละเอียดแต่ละส่วน ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และใช้ระบบจักรกลอันทรงประสิทธิภาพจะเป็นการง่ายกว่าที่จะสนองต่อแนวความคิดของสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ในขณะที่อาคารที่สร้างออกมาอย่างมากมายรวดเร็ว ใช้ของราคาถูกเข้าไว้ ใช้เวลาในการคิดออกแบบสั้นๆ จะก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมตามมามากกว่าอย่างแน่นอน
เป้าหมายในการออกแบบนี้เรียกว่า การออกแบบเพื่อความยั่งยืน หรือการออกแบบเพื่อโลกสีเขียว ถ้าสถาปนิกไม่ได้คำนึงถึงส่วนนี้เลย ก็คงจะทิ้งซากแห่งความเลวร้ายของสภาพแวดล้อมตกทอดไปสู่ลูกหลานในภายภาคหน้า แต่ถ้าสถาปนิกมีจิตสำนึกในส่วนมากขึ้น เราก็จะสามารถชลอและยืดอายุความสวยงามของอากาศบริสุทธิ์ หมู่มวลแมกไม้อันเขียวขจี สภาพแวดล้อมที่ดีนี้ไว้อย่างยาวนาน
ในระยะยาวการออกแบบเพื่อความยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการทำลายและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุด ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ในเบื้องต้นวัตถุประสงค์ของการออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืน เป็นการสร้างตัวอย่างที่ดี เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมให้เกิดแก่สังคมและวงการสถาปนิกเอง การออกแบบเพื่อความยั่งยืนจะต้องมีการวางเป้าหมายดังนี้
- ใช้อาคารเป็นเสมือนเครื่องมือทางการศึกษาที่แสดงผลถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมที่มีต่อความยืนยาวของเผ่าพันธุ์มนุษย์
- เชื่อมสัมพันธ์มนุษย์กับสภาพแวดล้อมในแง่ของจิตวิญญาณ ความรู้สึก และผลประโยชน์ทางการเยียวยารักษาที่ธรรมชาติมอบไว้ให้
- โปรโมทคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอีกทางหนึ่ง โดยการแทรกตัวอย่างใกล้ชิดกับความเป็นท้องถิ่น ความเป็นภูมิภาค รวมไปถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทรัยากรและสภาพแวดล้อมของโลก
- กระตุ้นให้ชุมชนมีความคิดคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยี่และพลังงานที่เหมาะสม มีการจัดการกับขยะหรือของทิ้งจากอาคารที่ดี รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทำนุถนอมวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่มีความรับผิดชอบและกลมกลืนกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
- สร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของที่ตั้งกับความเป็นท้องถิ่น ภูมิภาค ไปจนถึงความสัมพันธ์ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น
โดยสรุป มาตรฐานการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Wines 2000, p.67) อาจจะตรวจสอบได้จาก
--> อาคารเล็ก
อาคารขนาดใหญ่ย่อมสิ้นเปลืองทรัพยากรในการก่อสร้างและพลังงานในการดำเนินการมากกว่าอาคารเล็ก นอกจากนี้อาคารขนาดใหญ่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ (Micro Climate) มากกว่าอาคารขนาดเล็ก แต่ความต้องการขนาดอาคารที่ใหญ่ขึ้นก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ในบางกรณีอาคารขนาดใหญ่เพียงอาคารเดียวอาจจะสูญเสียทรัพยากรน้อยกว่าอาคารเล็กหลายๆ อาคารในประโยชน์ใช้สอยเดียวกัน
--> ใช้วัสดุหมุนเวียนหรือวัสดุที่ทดแทนได้
การใช้วัสดุหมุนเวียนเป็นการลดการเสาะหาหรือใช้ทรัพยากรใหม่ หรือในทำนองเดียวกันการใช้วัสดุที่ทดแทนได้จะลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม
--> ใช้วัสดุที่สิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตต่ำ
วัตถุประสงค์ของใช้วัสดุที่ใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในการผลิตต่ำเป็นการให้ความสนใจต่อวงจรการใช้พลังงานของแต่ละวัสดุโดยรวมยกตัวอย่างเช่น อาคารก่ออิฐฉาบปูนจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมในแง่ของพลังงานที่ใช้ในการผลิต แต่ในระบบนิเวศน์แล้ว สารเคมีที่ออกมาจากโรงงานผลิตอาจจะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งการใช้พลังงานในการขนส่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึง
--> ใช้ไม้จากแหล่งไม้ทดแทน
ในปัจจุบันนี้ป่าไม้ถูกทำลายเป็นอย่างมากจนเกิดผลกระทบต่อภูมิอากาศของบางส่วนของโลก ไม้แม้ว่าจะถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ปลูกทดแทนได้ ก็ควรจะมีการเลือกจากแหล่งที่มีการเตรียมการสำหรับการตัดและการทดแทนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
--> ระบบเก็บน้ำ
ขณะที่น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก แต่ก็แหล่งกระจายมลภาวะที่สำคัญ ความรับผิดชอบต่อน้ำเป็นความรับผิดของทุกสังคมตั้งแต่เล็กไปหาใหญ่ จากอาคารสู่อาคาร ระบบเก็บน้ำเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ เป็นการขยายความต้องการน้ำในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤติหรือขาดแคลนน้ำ เป็นการลดการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
--> การบำรุงรักษาต่ำ
นี่คือผลประโยชน์ที่อาคารทุกหลังต้องการ เพราะเป็นการลดทุนในการรักษาสภาพอาคารให้คงประสิทธิภาพได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน การบำรุงรักษาที่ต่ำเป็นประพลังงานที่ต้องใช้ในงานนั้นๆ ด้วย
--> ใช้อาคารหมุนเวียน (Recycling of Buildings)
การสร้างอาคารใหม่ย่อมสิ้นเปลืองและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์มากกว่าการอาคารเดิม ดัดแปลงสำหรับประโยชน์อื่น ทั้งยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมเดิมให้คงอยู่ในชุมชน
--> ลดการใช้สารเคมีที่ทำลายโอโซน
สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างมากคือ สารเคมีที่ไปทำลายโอโซนของโลก การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากกระบวนเริ่มต้นของการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ การหมุนเวียนใช้วัสดุ และการหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่ไม่ทำลายโอโซน
--> อนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติ
การรักษาสภาพที่ดีของพื้นที่เป็นเป้าหมายหลักของการคำนึงถึงระบบนิเวศน์โดยรวม การรักษาต้นไม้ใหญ่ไว้หนึ่งต้นเป็นเสมือนการทำให้คน 4 คนบนพื้นโลกสามารถหายใจได้อย่างสบาย การรักษาสภาพสีเขียวไว้ให้เพียงพอเป็นการลดการรักษาพยาบาลและลดความกดดันภายในจิตใจของมนุษย์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ถือได้ว่าเป็นศัตรูหลักของการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ถ้าเขามีความเข้าใจต่อการรักษาสภาพแวดล้อม ธรรมชาติก็ถูกทำลายน้อยลง
--> ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อนี้รวมไปถึงการหาแหล่งพลังงานอื่นๆ จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานลม เป็นต้น การลดการใช้พลังานโดยการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงภูมิอากาศเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ
--> คำนึงถึงทิศทางของแสงอาทิตย์
แสงอาทิตย์มีบทบาทต่อการออกแบบอาคารมาช้านาน แสงอาทิตย์เป็นกำหนดฤดูหรือความหนาว ร้อนบนพื้นโลก จะเป็นการลดการใช้พลังงานหากมีการออกแบบที่เข้าใจทิศทางของแสงอาทิตย์
--> การเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ( Access to public transportation)
แม้ว่าข้อนี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่การลดการใช้รถส่วนตัว หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นแนวในการประหยัดพลังงานที่สำคัญมาทุกยุคทุกสมัย และเป็นการลดมลภาวะทางอากาศด้วย
4. สรุป
สถาปนิกเป็นอาชีพหนึ่งมีความสัมพันธ์และต้องรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสถาปนิกจะควรเริ่มจากมีความเข้าใจความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมและสถาปัตยกรรมก่อนที่จะลงมือออกแบบงานสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้น งานสถาปัตยกรรมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นในแง่ของมลภาวะ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และอื่นๆ เป้าหมายหลักที่สำคัญและสถาปนิกควรจะยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติวิชาชีพ คือ การยืดอายุของธรรมชาติออกไป หรือการรักษาความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม เพื่อมวลมนุษยชาติจากรุ่นสู่รุ่น
5. อ้างอิง
ENVIRON Design Collaborative, Green Strategies, http://www.cstone.net, Charlottesville, VA., 1999
Vale, Brenda, and Vale, Robert, Towards a Green Architecture, RIBA Publications Ltd., Lon Don, 1991
Wines, James, Green Architecture, TASCHEN, New York, 2000
Zeiher, Laura C., The Ecology of Architecture : A Complete Guide to Creating the Environmentally Conscious Building, Watson-Guptill Publications, New York, 1996
ที่มา : http://arch.kku.ac.th/philosophy/chumnan1.htm
…means improving the quality of human life while living within the carrying of
supporting eco systems.”
การออกแบบสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการที่สอดแทรกตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมenvironmentalเข้าไปในการวางผัง การจัดทำโปรแกรมการออกแบบ การวางแนวนโยบาย การก่อสร้าง หรือการผลิตสินค้า ตัวอย่างการออกแบบที่ชาญฉลาดมักจะคำนึงถึงองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมเสมอ อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมenvironmental movementที่เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้ทำให้แนวคิดนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การออกแบบสิ่งแวดล้อมอาจจำกัดความได้ดังนี้ “เราอาศัยอยู่ในโลกของการออกแบบอยู่ตลอดเวลา การสรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมประจำวันที่เราอาศัยอยู่นี้มักเกี่ยวข้องกับระบบที่สลับซับซ้อนของความหมายทางวัฒนธรรม การสื่อสารด้วยภาพ และการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี และวัสดุเสมอ การออกแบบสิ่งแวดล้อมถือเป็นศาสตร์หนึ่งที่รวมเอาสิ่งแวดล้อมที่ถูก สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของมนุษย์เข้าไว้ด้วยกันและมุ่งเน้นในการบันดาลให้เกิดความเกี่ยวพันทางกายภาพและสังคมที่ดีงามจากพฤติกรรมมนุษย์และกระบวนการทางธรรมชาติ การออกแบบเป็นการค้นหาคำตอบขั้นมูลฐานของมนุษย์ที่ว่า เราควรจะอยู่บนโลกนี้ให้ดีได้อย่างไร อะไรควรเป็นตัวกำหนดการกระทำของเรา? ความมุ่งมั่นที่ยุ่งยากซับซ้อนนี้ต้องอาศัยความรู้ที่เป็นสหวิทยาการ” แม่แบบ:Fact
การออกแบบสิ่งแวดล้อม ในความรู้สึกเดิม คือการพัฒนาสภาพแวดล้อมกายภาพทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพหรือสนองประโยชน์ใช้สอยประจำวัน หรือสรรค์สร้างประสบการณ์เฉพาะ เน้นสิ่งแวดล้อมที่ออกแบบโดยมนุษย์ การออกแบบสิ่งแวดล้อมต้องการผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน หมายรวมถึง สถาปนิก architects นักวิทยาศาสตร์ระบบเสียงacoustical วิศวกร engineers นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมenvironmental scientists ภูมิสถาปนิก landscape architects นักวางผังเมืองurban planning มัณฑนากรinterior designers นักออกแบบระบบแสงlighting designers นักออกแบบนิทรรศการexhibition designers บางกรณีอาจรวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์historic preservation ด้วย และไม่นานมานี้ก็ได้เพิ่มเกี่ยวกับ "การออกแบบเพื่อคนพิการdisability access" อีกด้านหนึ่ง
หากมองให้กว้างขึ้น การออกแบบสิ่งแวดล้อมหมายรวมถึง การออกแบบอุตสาหกรรมindustrial design ของผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมยานยนตร์automobiles เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังลม อุปกรณ์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น
เพิ่มเติมนะครับในส่วนของการออกแบบอาคารประหยัดพลังงงาน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพลังงานตั้งแต่ scale เล็กจนถึง scale ใหญ่อย่างผังเมืองเลยที่เดียว
การออกแบบและอาคารประหยัดพลังงาน
* เจ. บอลด์วินJ. Baldwin
* ทอม เบนเดอร์Tom Bender
* ปีเตอร์ แคลทรอปPeter Calthorpe
* วิลเลียม แมคโดนัฟWilliam McDonough
* วิคเตอร์ ปาปาเนคVictor Papanek
* ซิม ฟาน เดอร์ รินSim Van der Ryn
* เจมส์ ไวนส์James Wines
* เคน หยางKen Yeang ... http://www.trhamzahyeang.com/
* อีสท์เกต เซ็นเตอร์ เมือง ฮาแรร์Eastgate Centre
* พอร์ตคัลลิส เฮาส์Portcullis House
* ค่ายวายเอ็มซีเอนานาชาติ เมืองนิลชี ประเทศอินเดียYMCA International Camp
การใช้พลังงาน (ในอาคารพาณิชย์ อาคารพักอาศัย และทางสังคม)
* อเมอรี เลอวินส์Amory Lovins
* Soft energy path
นิเวศวิทยาเมือง
* ไบโอสเวล (ร่องน้ำปลูกพืช)Bioswale
* การวางแผนสิ่งแวดล้อมEnvironmental planning
* นิเวศวิทยาเมืองUrban ecology
* เมืองแบบใหม่New Urbanism
* หลักการออกแบบเมืองอัจฉริยะPrinciples of Intelligent urbanism
การวางผังการใช้ที่ดินและการวางผังชุมชน
* การป่าไม้Forestry
* การปลูกสวนป่าForest gardening
* คริสโตเฟอร์ อเล็กซานเดอร์Christopher Alexander
* แผงกันเลียงNoise barrier
* Permaculture
การป้องกันอาชญากรรม
* CPTED
นวัตกรรมการบำบัดของเสีย
* จอห์น ทอดด์John Todd
http://www.thaiengineering.com/column/project/shinawat/index.asp ... มหาวิทยาลัยชินวัตร มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต ครับ ผลงานการออกแบบของ ดร. สุนทร บุญญาธิการ
http://www.teenet.chula.ac.th/forum/allmsg.asp?ID=226 ข้อคิดเห็นการออกแบบครับ
http://www.teenet.chula.ac.th/defaultx1.asp ...-Thailand Energy and Environment Network (TEENET)... ;)
Introduction to LEED: เมื่อวงการก่อสร้างของสหรัฐอเมริกาตั้งธงรบสู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
หายไปนานเลยนะครับ ....กลับมาแล้วกับบบทความใหม่ของ คำว่า LEED หรือย่อมาจาก Leadership in Energy and Environmental Design แล้วมันมีหน้าที่ความสำคัญอย่างไรละกับสถาปนิก เกี่ยวกันครับ....ช่วยโลกได้นะครับ และส่งผลดีต่อผู้ใช้อาคารด้วย แต่.........ประเทศไทยละมีการตื่นตัวหรือให้ความสำคัญด้านนี้มากน้อยเพียงไรละครับ ...เท่าที่ทราบ ณ.ตอนนี้ยังไม่มีครับ หน่วยงานที่จะเข้ามาทำตรงนี้อย่างจริงจังและเป็นระบบการจัดการที่ดีครับ ..ถ้าให้ผมคิดน่าจะเกิดความร่วมมือกันได้นะครับ ระหว่างองค์กรต่างๆ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมhttp://www.warehouse.mnre.go.th+สภาสถาปนิก เพื่อการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคารและโลกจะได้น่าอยู่ขึ้นอีกนะครับ หากต้องการจะหาข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.asa.or.th/2008/index.php?q=node/95186
http://www.usgbc.org/DisplayPage.aspx?CategoryID=19
http://en.wikipedia.org/wiki/Leadership_in_Energy_and_Environmental_Design
http://www.worldbuild.com/index.htm
http://www.gotarch.com/projects/nrdc_office/nrdc_office2.html
*******เกล็ดเล็กๆ
*************
อาคารที่ได้รับสิ่งที่เรียกว่า LEED Platinum certificate จากหน่วยงาน US Green Building Council ซึ่งในขณะนี้วงการออกแบบของอเมริกาได้ตื่นตัวเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า LEED rating นี้มาก
ก็ขอพูดถึง LEED นี้ก่อนนะครับ มันย่อมากจาก Leadership in Energy and Environmental Design ซึ่งเป็นอะไรที่คล้ายๆกับมาตรฐานในการออกแบบเพื่อประหยัดพลังงาน และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเขาก็จะแบ่งให้คะแนนอาคารเป็นเกรดคือ
1. Certified เฉยๆ คือ ผ่านมาตรฐานต่ำสุด
2. Silver ดีขึ้นมาหน่อย
3. Gold ดีมาก
4. Platinum ดีสุดๆ
ซึ่งในขณะนี้มีอาคารที่ได้รับ Platinum rating น้อยมากในอเมริกา อาคารที่ได้ไปดูนี้เป็นหลังแรกๆเลยก็ว่าได้ที่ certificate นี้
เกณฑ์ในการให้คะแนนเขาจะแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆดังนี้ครับ
1. การใช้ที่ดิน (Land use) คิดคะแนนตั้งแต่การเลือกที่ตั้งโครงการเลยทีเดียว
2. การใช้น้ำ
3. การใช้พลังงาน
4. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
5. คุณภาพอากาศภายในอาคาร
http://www.archrit.com/smf/index.php?action=printpage;topic=280.0
NATURE BASED :
Research and Projects on Sustainable Design
Faculty of Architecture Kasetsart University
อะไรคือบทบาทของธรรมชาติในสภาพแวดล้อมของมนุษย์
ในปัจจุบันนี้สังคมมีแนวโน้มที่จะแยกสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างสรรค์และแม้กระทั่งตัวมนุษย์เองออกจากสภาพแวดล้อมที่เป็นชนบทและธรรมชาติ การแยก
ตัวออกห่างธรรมชาตินี้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในวงการวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และการวางผัง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยว-
เนื่องกับการพัฒนาและการใช้ที่ดินและทรัพยากร สิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ควรตระหนักในขณะนี้ก็คือแนวทางที่ผ่านมาได้กำหนดระบบความคิดและการให้คุณค่า
อีกทั้งยังจำกัดหนทางในการจัดการกับที่ว่างและการใช้วัสดุของพวกเรา การแบ่งแยกระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างไม่สามารถเป็นไปได้อีกต่อไป
ถ้าหากพวกเรามีความต้องการที่จะก้าวเดินตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะเป็นไปได้หรือไม่ในการที่พัฒนายุทธศาสตร์ใหม่ที่ไม่สรรเสริญการที่มนุษย์ใช้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ที่เรา
จะเรียนรู้จากธรรมชาติและระบบทางธรรมชาติเพื่อที่จะคิดค้นหานวัตกรรมแนวคิดและการออกแบบ ข้อคิดเหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของงานวิจัยของ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประเด็นของธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างได้ถูกตรวจสอบภายใต้หลายสาขาวิชาความรู้ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ยกตัวอย่างประเด็นการตรวจสอบนี้เป็นสิ่งสำคัญในด้านการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม ในที่ๆซึ่งการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองมักมีผลในการลบล้างที่ดินใน
การทำการเกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติ และโดยทั่วไปในกระบวนการพัฒนาที่ดินชุมชนพื้นถิ่นมักถูกทำให้หายไปเช่นกัน นอกจากนี้งานวิจัยในปัจจุบันของ
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และภูมิสถาปัตยกรรม ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แสดงให้เห็นว่าความสำคัญของภูมิปัญญาพื้นถิ่นในประเทศไทยสามารถเป็น
บทเรียนที่มีคุณค่าต่อสังคมร่วมสมัยแห่งปัจจุบัน
คำว่า “สายป่านธรรมชาติ” ได้ถูกใช้เพื่อแสดงถึงความสำคัญของแนวทางใหม่ในการออกแบบเมือง การวางผังสภาพแวดล้อม การออกแบบภูมิทัศน์และ
สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยีอาคาร จุดมุ่งหมายของการบูรณาการความรู้จากหลากหลายสาขาก็เพื่อที่จะสร้างยุทธศาสตร์การออกแบบที่คำนึงถึงสภาพ-
แวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน แนวทางการปฏิบัติและวัฒนธรรมท้องถิ่น และการใส่ใจต่อวัสดุและวิธีการในการก่อสร้าง
What is the role of nature in our human environment?
Today, society tends to separate the built and human environment from the rural and natural environment. This has
certainly been the case in the professions of architecture, landscape and planning, and has led to problems related
to the ways that land resources have been developed and used. It is now important to realize that this
preconception has shaped our value systems and limited our ways of managing space and using materials. The
dichotomy between nature and man-made is no longer valid if we are to progress towards sustainable
development.
Is it possible to develop new strategies that do not privilege the man-made at the expense of nature? Moreover, is
it possible to learn from nature and natural systems in order to produce innovative ideas and designs? This has
been one of the main research objectives at the Faculty of Architecture at Kasetsart University.
The issue of nature in the man-made environment is examined within the various academic disciplines of the
faculty at Kasetsart University. For example, this issue is particularly important in urban and environmental
planning, where urbanization often results in the removal of agricultural and wilderness land in Thailand. Often in
the process of land development, traditional communities are also displaced. Recent research in the landscape
and architectural design divisions at Kasetsart Architecture show that vernacular traditions in Thailand can provide
valuable lessons towards our contemporary society. In addition, the development of environmentally responsible
building materials within the building technology division emphasizes the potential of local resources for
developing a new composite material.
The term 'Nature-Based' is used to express this new approach to urban and environmental planning, landscape
and architectural design, and building technology. By incorporating knowledge obtained across many disciplines,
the aim is to produce design strategies that considers environmental and public health, local practices and culture,
and sensitivity to materials and construction techniques.
สายป่านธรรมชาติ:
งานวิจัยและโครงการบนการออกแบบเพื่อความยั่งยืน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
exhibition: 28 JAN - 5 FEB 2005 location: KASETSART UNIVERSITY BANG KHEN CAMPUS info: 0-2942-8960 www.arch.ku.ac.th
นอกจากนี้การพัฒนาวัสดุที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายใต้สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคารได้มุ่งเน้นศักยภาพของ
ทรัพยากรท้องถิ่นในพัฒนาวัสดุที่มีองค์ประกอบใหม่
http://www.arch.ku.ac.th/news/news_nature-based/info/intro-nature-based.pdf
การพัฒนาแบบยั่งยืน Sustainable Development
.
.
หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน
.
โดยไม่ทำให้ผู้คนในอนาคตเกิดปัญหาในการตอบสนองความต้องการของตนเอง
.
(นิยามของคณะกรรมการโลก ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
.
World Commission on Environment and Development
.
ในรายงาน Our Common Future 1987 หรือ Brundtland Report)
.
การพัฒนาที่ยั่งยืนรวมความถึง3 ด้าน
.
คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
.
ซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โครงการพัฒนาใด ๆ
.
ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง3 ด้านนี้
.
.
การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอะไรที่ไกลกว่าเพียงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
.
เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคม
.
เพื่อลดการบริโภคทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
.
ลงไปในระดับที่ยังรักษาความสมดุลที่ดี
.
ทำให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลายล้างอย่างที่ผ่านมา
.
และยังทำกันอยู่หลายแห่ง ให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน อยู่ดีกินดี และอยู่เย็นเป็นสุข
อ้างอิง
การพัฒนาแบบยั่งยืน : กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม (metabolism)
และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์
โดย สุทธิดา ศิริบุญหลง
http://environment.exteen.com/20061216/entry-5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น