การออกแบบโรงแรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักสำคัญของประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของโรงแรมก็
เพื่อการรองรับการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการรอง
รับการประชุมสัมนา หรือการเดินทางเพื่อเจรจาธุรกิจ โรงแรมในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการพัฒนา
ศักยาภาพโดยรวมของประเทศ
มาตรฐานในการออกแบบโรงแรมคงจะต้องพึ่งพามาตรฐานสากล แล้วนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับความ
ต้องการเฉพาะของแต่ละที่ เอกสารฉบับนี้เป็นการยกเอาหนึ่งในแนวความคิดที่พยายามวางมาตรฐานสากลของการ
ออกแบบโรงแรม ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบโดยทั่วไป
1. ที่ตั้ง
ที่ตั้งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักสำหรับความสำเร็จในเชิงธุรกิจ โรงแรมก็เป็นกิจการทางธุรกิจ ที่ไม่ สามารถหลีกเลี่ยง
ปัจจัยนี้ได้ โดยทั่วไปโรงแรมควรจะตั้งอยู่ใกล้กับถนนหลัก สนามบิน ย่านธุรกิจ หรือ แหล่งท่องเที่ยว อื่นๆ ควรเป็นที่
เข้าถึงโดยง่าย มีที่จอดรถเพียงพอ มีวิวที่ดีสู่ภายนอก รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบข้าง2. ประเภท
2.1 โรงแรมกลางเมือง (City Hotel) รวมถึงโรงแรมระดับหรู โรงแรมสำหรับการประชุม (Convention Hotel)
และโรงแรมสำหรับการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่โรงแรมประเภทนี้จะเป็นอาคารทางแนวตั้งหรืออาคารสูง ประกอบด้วย
ประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ หรือกิจกรรมทางธุรกิจอื่นมาประกอบ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิง เป็นต้น
2.2 โรงแรมริมทาง (Motor Hotel) เป็นโรงแรมที่มีเป้าหมายสำหรับลูกค้าที่ใช้รถสำหรับเดินทางไกล เป็น
หลัก ดังนั้นที่ตั้งจึงต้องติดกับถนนหรือสี่แยกหลักๆ ชานเมืองออกไป มีราคาที่ดินที่ถูกกว่า จึงสามารถมีที่จอดรถอัน
สะดวกได้ และสามาถแผ่อาคารไปทางแนวนอนได้ โดยทั่วไปจะมีบริการทั่วไปที่โรงแรมทั่วไปควรจะมี แต่อาจจะมี
ระดับความหรูหราน้อยกว่าโรงแรมกลางเมือง และอาจจะไม่มี Room Service
2.3 โรงแรมสนามบิน (Airport Hotel) จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรงแรมริมทาง แต่มุ่งลูกค้าที่มาทางสนาม
บิน ดังนั้นจึงต้องมีบริการที่สอดคล้องกับกำหนดการบินเป็นหลัก บางทีอาจจะมีศูนย์ประชุมขนาดใหญ่และมาตรฐาน
เนื่องด้วยความได้เปรียบในที่ตั้งซึ่งมีความสะดวกในการเดินทางเป็นทุนอยู่แล้ว
2.4 โรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว (Resort Hotel) ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภูเขา ทะเล
หรือแหล่งน้ำพุร้อน ปกติจะมีบริการประเภท Package มีความสัมพันธ์เทศกาลท่องเที่ยวต่างๆ ร้านอาหารสำหรับโรง
แรมประเภทนี้อาจจะต้องมีเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยวทุกคน ในกรณีไม่มีแหล่งรับประทานอาหารอื่นใกล้เคียง และอาจจะ
ต้องส่วนบริการเสริมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจอื่นๆ เช่น ห้องเล่นเกมส์ บาร์ สระว่ายน้ำนอกอาคาร บริการกีฬาทางทะเล
หรือปีนเขา เป็นต้น
2.5 โมเต็ล (Motel)
2.6 โรงแรมสำหรับการประชุม (Convention Hotel)
2.7 คอนโดมิเนียม (Condominium) บางแห่งอาคารชุดอาจจะมีการจัดการแบ่งให้เช่าในลักษณะโรงแรมในช่วง
ที่เจ้าของห้องชุดไม่ใช้งาน โดยมักจะดำเนินการโดยเจ้าของกิจการหรือเจ้าของอาคารรวม
3. ความสัมพันธ์ของประโยชน์ใช้สอยต่างๆ (Functional Relationship)
โดยหลักใหญ่แล้ว โรงแรมจะต้องแยกส่วนบริการลูกค้าที่มาพักออกจากส่วนบริการโดยเด็ดขาด โดยไม่ควรมีการข้ามไป
มาของประโยชน์ใช้สอยของสองส่วนนี้ (Cross Circulation) มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างส่วน บริการด้านหน้า
(Front of House) และส่วนบริการด้านหลัง (Back of House)
ทั่วไปส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้บริการจากครัว ควรจะอยู่ในระดับเดียวกับครัว แต่หากมีความจำกัดทางการออกแบบให้ยึด
เอาครัวติดกับห้องอาหารหลักของโรงแรมเป็นสำคัญ ส่วนห้องจัดเลี้ยงหรือร้านอาหารอื่นๆ อาจจะบริการ โดยการใช้ลิฟท์
ส่งของ ลิฟท์บริการ หรือบันไดเป็นทางเชื่อม
การจัดการส่วนด้านหลังของงานบริการต่างๆ (Back of House) คนงานและอุปกรณ์บริการต่างๆ จะต้องมีการจัด
วางให้มิดชิด ห่างจากสายตาของลูกค้า 4. พื้นที่ใช้งาน และมาตรฐานการออกแบบ
พื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณต่อห้องพักของโรงแรมประเภทต่างๆ ประเภท
พื้นที่รวม (ตร.ม. ต่อห้อง)
โรงแรมสำหรับการประชุม (Convention Hotel) ซึ่งประกอบด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่ ไนท์คลับ
55-65
โรงแรมกลางเมือง
45-55
โรงแรมริมทาง
35-45
รีสอร์ต
40-55
โรงแรมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
20-30
โรงแรมราคาถูก Hostel
18-20
พื้นที่ใช้งานแต่ละส่วนของโรงแรม
ประเภทการใช้สอย
โรงแรมริมทางขนาด 200 ห้องตร.ม. ต่อห้องพัก
โรงแรมกลางเมืองขนาด 500 ห้องตร.ม. ต่อห้องพัก
1) ที่พักอาศัย
ห้องพัก
24
26.5
ทางเดิน ลิฟท์ บันได
3.2
9.3
พื้นที่บริการ
0.6
0.7
รวมพื้นที่พัก
27.8
36.5
2) พื้นที่สาธารณะและบริการส่วนหน้า (Front of House)
ลอบบี้ การสัญจร ลิฟท์
1.6
1.8
ประชาสัมพันธ์ ต้อนรับ สำนักงาน
0.4
0.5
ธุรการ
0.3
0.4
ห้องอาหาร
1.1
0.6
ร้านกาแฟ
0.6
0.5
บาร์ที่ 1
0.8
0.4
บาร์ที่ 2
0.5
0.3
เลาน์จ
0.5
0.3
ห้องน้ำ
0.4
0.3
ส่วนประชุมสัมนา
1.1
1.3
ส่วนเตรียมการสัมนา
-
0.5
ห้องเก็บเฟอร์นิเจอร์
0.1
0.2
ร้านอาหารส่วนตัว ห้องประชุม
0.4
0.9
ร้านค้า
-
0.2
รวมพื้นที่ Front of House
7.8
8.2
3) ส่วนบริการด้านหลัง (back of House)
ครัวและห้องเก็บอาหาร
3.8
2.5
ห้องเก็บของ
0.9
0.9
ซ่อมบำรุง
0.8
0.4
ซักรีด เก็บผ้า
0.3
0.7
รับประทาน เปลี่ยนชุดพนักงาน
1.0
1.1
สำนักงานทั่วไป
0.3
0.5
ระบบสัญจรบริการ
0.8
0.9
รวมพื้นที่ Back of House
7.9
7.0
รวมทั้งหมด
43.5
51.7
* ไม่รวมพื้นที่สำหรับห้องเครื่องงานระบบ และที่จอดรถ5. รูปแบบการจัดผังพื้น
ห้องพักเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลถึงโครงสร้างอาคารโดยรวม ส่งผลต่อความประหยัดในการลงทุน ดังนั้นรูป
แบบของผังห้องพักจึงเป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการออกแบบรูปทรงโรงแรมอาคาร การจัดวางตำแหน่งทางเดินและ
ห้องพักอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบ Single-Loaded Block, Single-Loaded Block, Square Block,
Y-Shape, หรือวงกลม 6. ความสัมพันธ์ระหว่างห้องพักและส่วนสาธารณะอื่น
ห้องพักสามารถที่จะเชื่อมติดกับส่วนสาธารณะอื่นๆ และทางสัญจรในหลายรูปแบบ โดยหลักใหญ่ๆ อาจจะ มี 3 แบบ คือ
6.1 ห้องพักอยู่เหนือส่วนฐาน (Podium) เหมาะสำหรับโรงแรมที่เป็นอาคารสูง แต่ปัญหา คือ ส่วนบริการจะต้องใช้
ส่วนสัญจรทางตั้งเป็นหลัก และบางส่วนอาจจะต้องใช้ร่วมกับลูกค้า บางกรณีห้องพักอาจจะมีรูปร่างยาวแคบ ตามโครงสร้าง
ของอาคาร
6.2 ห้องพักอยู่ติดกับส่วนบริการสาธารณะอื่น ถือว่าเป็นแบบที่ประหยัด เพราะใช้โครงสร้างง่ายๆ ส่วน บริการต่างๆ
ออกแบบให้สัมพันธ์กับส่วนต่างๆ ตามความเหมาะสม เหมาะสำหรับโรงแรมริมทางหรือโรงแรมที่มีพื้นที่มาก
6.3 แบบผังเปิด (Open Layout) มีลักษณะกระจายตัวของประโยชน์ใช้สอยแผ่ไปตามพื้นที่ อาจจะจัดกลุ่มที่มีความ
สัมพันธ์กันมากไว้ด้วยกัน เหมาะสำหรับ โมเต็ล และรีสอร์ตต่างๆ ซึ่งมีพื้นที่มากพอ7. การสัญจรทางตั้ง
โรงแรมที่มีความสูงมากกว่า 2 ชั้น ควรจะมีลิฟท์บริการ ยกเว้นโรงแรมขนาดเล็ก ทั้งนี้ควรมีลิฟท์สำรองใน ยามฉุกเฉิน
หรือในกรณีลิฟท์อีกตัวอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง จำนวนและความเร็วของลิฟท์ขึ้นอยู่กับความสูงของอา คารและจำนวนห้องพัก
ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด
ถ้าเป็นไปได้ควรจะวางตำแหน่งของลิฟท์ทุกตัวไว้ด้วยกันในส่วนแกนสัญจรกลางไม่ว่าจะเป็นลิฟท์บริการ หรือลิฟท์สำหรับลูกค้า
โดยแยกทางเข้า เพื่อความประหยัดและ ง่ายในการก่อสร้าง ในโรงแรมระดับหรูอาจจะแยกลิฟท์ลูกค้าออกเป็นสำหรับการขนกระเป๋า
ไว้ต่างหาก เพื่อความสะดวกและไม่เกะกะ 8 .ส่วนบริการสาธารณะ
8.1 ห้องอาหาร
ในโรงแรมขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่จะมีห้องอาหารอย่าง 1 แห่ง ไว้บริการลูกค้า ถ้าเป็นร้านอาหารราคา ถูกหรือขนาดเล็ก
จะเป็นรุปแบบของร้านกาแฟหรือศูนย์อาหาร ในโรงแรมขนาดใหญ่อาจจะมีห้องอาหารมากกว่า 1 แห่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า
จำนวนที่นั่งอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะอ้างอิงกับจำนวนผู้มา ใช้บริการหรือจำนวนห้องพัก
8.2 บาร์
- Cocktail ควรจะตั้งอยู่ในส่วนที่ใช้สำหรับการนั่งรอ อาจจะอยู่ระหว่างลอบบี้ของโรงแรมและร้านอาหาร การบริการอาจจะ
ใช้บริกร ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะเคาว์เตอร์บาร์ต่างๆ
- บาร์หลัก (Main Bar) จะมีบริการเครื่องดื่มพิเศษของแต่ละโรงแรม อาจจะเปิดสู่ส่วนสาธารณธเพื่อรับรอง ผู้ใช้บริการจาก
ภายนอกโดยตรง ปกติจะมีเคาว์เตอร์ยาวพร้อมที่นั่งสูง มีบริการน้ำแข็ง น้ำดื่มต่างๆ และอาจจะรวมไป ถึงอาหารเบาๆ บางชนิด
บาร์อาจจะตั้งอยู่บนหลังคาข้างสระน้ำ ริมหาดทราย หรือติดกับส่วนออกกำลังกาย หรือสโมสรต่างๆ แต่ บาร์ควรจะสามารถเปิดปิด
ได้เมื่อไม่เปิดบริการ อาจจะโดยการปิดส่วนเคาว์เตอร์หรือปิดห้องทั้งห้อง โดยผู้ใช้บริการ อาจจะใช้ส่วนเลาจ์น (Lounge) เมื่อส่วน
บาร์ปิดบริการและในการบริการไม่ควรให้เกิดการตัดผ่านส่วนสาธารณะอื่น ประการสำคัญที่สุด คือ บาร์จะต้องสอดคล้องกับกฏหมาย
เองแต่ละที่
พื้นสำหรับบาร์รวมเคาว์เตอร์
Cocktail Lounge 1.8 –2.0 ตร.ม. ต่อคน
บาร์ทั่วไป (อาจจะยืนและนั่ง Stools) 1.3 – 1.7 ตร.ม. ต่อคน
8.3 เลาน์จ (Lounges)
เป็นที่สำหรับผู้คนใช้เป็นที่รอหรือที่พักผ่อนสบายๆ อาจจะเกี่ยวเนื่องกับลอบบี้หรืออยู่ติดกับทางเดินต่างๆ ก็ได้ ในรีสอร์ตอาจจะ
ต้องมีพื้นที่สำหรับเลาน์จมากกว่าโรงแรมประเภทอื่นๆ บริการเครื่องดื่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ อาจจะเสริมโดยตรงจากครัว
หรือจากเคาว์เตอร์ หรือจากเครื่องหยอดเหรียญ ปกติจะไม่มีเลาน์จพิเศษสำหรับ ส่วนที่พัก
8.4 ห้องพักผ่อน บันเทิง
ห้องสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจอาจจะเป็นห้องเล่นเกมส์ ปิงปองหรืออื่นๆ สำหรับโรงแรมประเภทรีสอร์ต ที่ต้องอยู่เป็นระยะ
เวลาหนึ่งและมีเวลามากอาจจะมีความต้องในส่วนนี้มากกว่าโรงแรมประเภทอื่นๆ เพราะผู้ใช้บริ การไม่มีความรีบร้อนเหมือนโรงแรม
ในเมือง
8.5 Function Room
เป็นห้องเอนกประสงค์สำหรับการประชุมสัมนา จัดเลี้ยง บอลรูม ปาร์ตี้ จัดนิทรรศการ งานแต่งงานหรืออื่นๆ ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน
จำนวนมาก การออกแบบสำหรับส่วนนี้มีข้อควรคำนึงหลายประการ เช่น การเข้าถึงระหว่างผู้ใช้งานและบริกรต้องแยกกัน ห้องที่มีขนาด
ใหญ่อาจจะสามารถแบ่งแยกย่อยได้โดยใช้ฉากขนาด ใหญ่และเก็บเสียงได้ดีที่เลื่อนเข้าออกได้โดยไม่เกะกะ ส่วนอุปกรณ์โสตต่างๆ เช่น
ระบบเสียง จอภาพ Projector จะต้องจัดเตรียมสำหรับการใช้งานและด้วยประโยชน์ใช้สอยที่ต้องเปิดโล่งเป็นพื้นที่กว้างๆ ทำให้ส่วน
นี้จะต้องใช้ช่วง เสาที่กว้างมากจึงไม่นิยมออกแบบไว้ใต้ส่วนที่พัก ซึ่งมีช่วงเสาที่แคบกว่า ยกเว้นพื้นที่ในเมืองซึ่งมีราคาที่ดินแพงมาก
พื้นที่ที่ต้องการ
สำหรับการจัดเลี้ยง 1.1-1.3 ตร.ม. ต่อคน
สำหรับส่วนประชุมสัมนา 0.9-1.1 ตร.ม. ต่อคน
สำหรับการฉายภาพยนตร์ คอนเสิร์ต 0.5-0.6 ตร.ม. ต่อคน
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบย่อยอีกหลายอย่าง เช่น
- ส่วนลอบบี้ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1/3 ของส่วนจัดเลี้ยง หรือ 30%
- ห้องเก็บเฟอร์นิเจอร์0.5 ตร.ม. ต่อที่นั่ง ซึ่งควรจะเข้าถึงได้โดยง่ายจากห้องจัดเลี้ยง
- ห้องน้ำ ขึ้นอยู่กับการคำนวณหาจำนวนต่อคน แต่ถ้าใช้เป็นห้องแสดงคอนเสิร์ต ฉายภาพยนตร์อาจจะ ต้องมีจำนวนห้องน้ำที่มากพอ
ตามความต้องการของประโยชน์ ใช้สอยนั้นๆ
- ฉากกั้นห้องควรจะสูงเต็มความสูงของห้อง สามารถลดเสียงระหว่างห้องได้ประมาณ 45-50 dB
- ส่วนนี้อาจจะถูกใช้สำหรับการแสดงงานซึ่งอาจจะมีน้ำหนักมาก เช่นงานแสดงสินค้าบางประเภท จึงควร ต้องคิดโครงสร้างเผื่อสำหรับ
น้ำหนักบรรทุกเหล่านั้นเสมอ
8.6 ห้องประชุมย่อย
ห้องประชุมย่อยเป็นอีกส่วนประกอบเพิ่มที่อาจจะจำเป็นในบางกรณี อาจจะมีหลากหลายขนาด หรือมีจำนวนหลายห้อง สำหรับการ
ประชุมย่อยหรือการแบ่งกลุ่มสัมนา แต่อย่างก็ตามควรจะเชื่อมสัมพันธ์กับส่วน บริการจากครัวหรือส่วนเตรียมอาหาร
8.7 การป้องกันเพลิงไหม้
ทางหนีไฟจะต้องมีให้เห็นได้ง่ายสำหรับส่วนบริการสาธารณะนี้ ระยะไปถึงบันไดหนีไฟ วัสดุกันไฟ จะต้องสอดคล้องกับกฏหมาย
ของแต่ละพื้นที่หรือประเทศ9. Front of House
9.1 ทางเข้า
ลักษณะของการเข้าถึงของรถยนต์จะเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างทางเข้าและลอบบี้โรงแรม ควรจะมีที่สำหรับนั่งรอรถ
ซึ่งอาจจะต้องเป็นลักษณะโซฟาหรือชุดรับแขกที่มีความสบายเหมือนส่วนหนึ่งของลอบบี้ ควรมีส่วนกันแดด กันฝนสำหรับการลงรถยนต์
ก่อนเข้าสู่ลอบบี้ สำหรับประตูทางเข้าจะต้องคำนึงถึงกระเป๋าสัมภาระ
ที่ใหญ่โตของผู้มาใช้บริการ บางโรงแรมอาจจะแยกประตูสำหรับกระเป๋าต่างหากโดยเฉพาะโรงแรมที่หรูหรา
9.2 ส่วนต้อนรับ
ส่วนเคาว์เตอร์ต้อนรับจะต้องใกล้และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายจากส่วนทางเข้า อาจจะเป็นส่วนที่รวมพนักงานต้อนรับ พนักงาน
การเงินและคนเฝ้าประตู แต่ในโรงแรมขนาดใหญ่คนเฝ้าประตูจะเป็นอีกส่วนหนึ่งแยก ต่างหาก ส่วนเคาว์เตอร์นี้จะมีส่วนเก็บกุญแจห้อง
พักที่แยกไว้อย่างเด่นชัด พนักงานสามารถหยิบได้ง่ายไม่สับสน ความสูงของเคาว์เตอร์ควรจะเหมาะสมสำหรับแขกที่ยืน ขณะที่พนักงาน
อาจจะนั่งทำงานบัญชีบางขณะ ส่วนหลัง
ของเคาว์เตอร์ต้อนรับนี้จะมีส่วนติดต่อกับส่วนสำนักงานหลักหรือสำนักงานย่อย ส่วนแคชเชียร์สำหรับโรงแรมขนาด เล็กหรือขนาด
กลางอาจจะรวมอยู่กับเคาว์เตอร์ต้อนรับ แต่ในโรงแรมขนาดใหญ่อาจจะแยกส่วนนี้ออกโดยอาจจะเป็นผนังแยก (Partition) และอาจจะ
มีสำนักงานการเงินอยู่ติดกัน
ปกติความยาวของเคาว์นเตอร์สำหรับขนาดโรงแรมต่างๆ อาจจะมีกำหนดได้คร่าวๆ ดังนี้จำนวนห้องในโรงแรม
ความยาวของเคาว์นเตอร์ (เมตร)
50
3.0
100
4.5
200
7.5
400
10.5
9.3 ลอบบี้
ในส่วนลอบบี้ควรจะมีส่วนบริการต่างๆ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ นาฬิกา โต๊ะแนะนำทั่วไป การท่องเที่ยว หรืออาจจะมี บริษัทนำเที่ยว
สายการบิน บริษัทรถเช่า ร้านค้าเล็กๆ เลาจ์น ที่นั่งพักรอ ส่วนบริการธุรกิจ และห้องน้ำ
9.4 ห้องฝากของ
ในบางโรงแรมโดยเฉพาะโรงแรมขนาดใหญ่อาจจะมีห้องรับฝากของหรือฝากเสื้อโค้ท สำหรับแขกที่มา ใช้บริการที่ลอบบี้ ร้านอาหาร
หรือห้องประชุมต่างๆ ซึ่งเคาว์เตอร์รับของนี้จะต้องมีความสดวกต่อการส่งหรือคืนของ ซึ่งจะมีความยาวอย่างน้อย 1.2 ม. เคาว์เตอร์สำหรับ
ฝากของห้องจัดเลี้ยง สามารถคำนวณคร่าวๆ ได้จาก 1 เมตร ต่อแขก 100 คน
10. ห้องครัวและห้องบริการอื่นๆ
ห้องครัวควรจะออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ 1 ชั้น ถ้าสามารถที่บริการส่วนประกอบต่างๆ ของโรงแรมทั้งหมดได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องแยกส่วน
บางส่วนออกไป ห้องครัวก็ยังควรเชื่อมติดกับห้องอาหารหลัก โดยอาจจะมีห้องเก็บอาหารหรือห้องเตรียมแยกออกไป ส่วนห้องจัดเลี้ยงที่อยู่
อีกชั้นกับครัวอาจจะเชื่อมกันโดยลิฟท์ หรือบันไดหรือลิฟท์ส่งของซึ่ง แยกจากลิฟท์สำหรับแขกโดยเด็ดขาด ส่วนห้องเย็นสำหรับเก็บอาหาร
ควรจะมีทางบริการเชื่อมจากข้างนอกได้ มี พนักงานดูแลโดยตรง
โดยประมาณแล้วพื้นที่ของครัวสามารถคิดคร่าวๆ ได้ดังนี้
ครัวหลักสำหรับห้องอาหาร 14 ตร.ม. x จำนวนแขกที่ต้องบริการ
ครัวสำหรับส่วนจัดเลี้ยง 0.2 ตร.ม. x จำนวนแขกที่ต้องบริการ
ครัวสำหรับคอฟฟี่ชอบ 0.3 ตร.ม. x จำนวนแขกที่ต้องบริการ
ทั้งนี้ครัวอาจจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าหรือน้อยกว่าแล้วที่ความพิเศษของอาหารหรือลักษณะการทำอาหารที่เฉพาะ นอกจากนี้ยังต้องเผื่อพื้น
ที่สำหรับพนักงานอีกประมาณ 50% สำหรับห้องเปลี่ยนชุด ห้องน้ำพนักงาน ห้อง กินข้าว และห้องเก็บของต่างๆ
ข้อควรระวังสำหรับการออกแบบห้องครัว : พื้นจะต้องใช้วัสดุที่กันลื่น มีการระบายที่ดีทั้งพื้นเวลาทำความ สะอาด โดยจะมีมุมลาด
ประมาณ 1:20 วัสดุที่ใช้ควรจะทำความสะอาดง่าย มีการระบายอากาศที่ มีหน้าต่างที่ สามารถเปิดสู่ภายนอกได้ และเพียงพอ ขนาดของ
ห้องอาหารขึ้นอยู่กับประเภทของโรงแรม ที่ตั้ง ความบ่อยในการส่ง ของหรืออาหาร ประเภทของอาหาร ห้องแช่แข็ง (Cold Room)
มีอุณหภูมิประมาณ -20 องศาเซลเซียส ห้องเย็น (Chill Room) มีอุณหภูมิประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส
ห้องเก็บของอื่นๆ เช่น ห้องเก็บเฟอร์นิเจอร์ควรอยู่ใกล้กับห้องซ่อมบำรุง โดยมีพื้นที่ ประมาณ 0.2-0.3 ตร.ม. ต่อห้องพัก
ห้องเก็บเครื่องมือทำความสะอาด ประมาณ 0.2-0.4 ตร.ม. ต่อห้องพัก
ห้องเก็บเครื่องแก้ว เครื่องเงิน ภาชนะอื่นๆ ประมาณ 0.1 ตร.ม. ต่อห้องพัก
ห้องเก็บเครื่องดื่ม 0.2 ตร.ม. ต่อห้องพัก โดยแยกออกเป็นส่วนเก็บเบียร์ เหล้า และไวน์ ไวน์แดงเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 14-16 องศาเซลเซียส
ไวน์ขาวเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส ส่วนนี้ควรอยู่ใกล้กับส่วนส่งของเพื่อ ความง่ายต่อการขน
ห้องขยะ การออกแบบขึ้นอยู่กับระบบเก็บและกำจัดขยะ รถขนขยะจะต้องเข้าถึงโดยสดวก ทำความ สะอาดได้ง่าย
ห้องเก็บผ้าปูเตียงและผ้าอื่น มีขนาดขึ้นอยู่กับประเภทของโรงแรม ปกติจะมีพื้นที่ประมาณ 0.4 ตร.ม.ต่อห้องพัก อาจจะมีขนาดเล็กลง
หากมีระบบวักรีดภายในโรงแรม มีชั้นเก็บความกว้าง 60 ซม. มีพื้นที่สำหรับพับผ้าและซ่อมแซม เย็บปัก ในโรงแรมขนาดมากกว่า 200 ห้อง
ไม่จำเป็นต้องมีห้องเก็บผ้าที่ใหญ่ขึ้น
ห้องซักรีด สำหรับโรงแรมขนาด 200 ห้อง ใช้พื้นที่ประมาณ 140 ตร.ม. ทั้งนี้ไม่รวมส่วนเก็บผ้า ห้องเครื่อง อบไอน้ำ (Stream Boiler)
และห้องพนักงานหรือสำนักงาน สำหรับผ้าที่ไม่ต้องการการีด สามารถลดพื้นที่ลง 40-59 ตร.ม. ควรระบบระบายอากาศที่ดี
ห้องรับส่งของ ควรจะแยกกับส่วนขยะ และส่วนทางเข้าพนักงาน โดยมีการตรวจเช็คของที่เข้าหรือออกอย่าง มีระบบผ่านห้องตรวจรับ
รถส่งของสามารถเข้าถึงโดยสดวก มีความสูงของฟุตบาทรับของที่เหมาะสม รถส่งของ สามารถกลับรถได้ เหลี่ยม มุมของเสาหรือมุมผนังควร
จะมีการหุ้มเพื่อป้องกันการได้รับความเสียหายจากการกระ แทก โดยรถยนต์หรือการขนของ11. ส่วนสำนักงาน
สำหรับโรงแรมขนาดเล็กส่วนสำนักงานอาจจะมีเพียงส่วนที่ติดกับเคาว์เตอร์ต้อนรับ โดยแยกห้องผู้จัดการและห้องหัวหน้าพ่อครัวไว้ต่างหาก
แต่สำหรับโรงแรมขนาดใหญ่จะมีระบบสำนักงานที่ซับซ้อนมากขึ้นดังสามารถแยก ได้ดังนี้
สำนักงานส่วนหน้า อยู่ติดกับเคาว์เตอร์ต้อนรับ ประกอบด้วยผู้จัดการต้อนรับ หัวหน้าฝ่ายแคชเชียร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและ เลขานุการฝ่าย
สำนักงานธุรการทั่วไป อาจจะอยู่ใกล้กับส่วนต้อนรับหรือแยกไว้ต่างหาก ประกอบด้วยผู้จัดการทั่วไป ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เลขานุการฝ่าย
หัวหน้าฝ่ายบัญชี หัวหน้าฝ่ายข้อมูล
สำนักงานส่วนหลัง (Back of House) เป็นสำนักงานส่วนที่ให้บริการต่างๆ เช่น สำนักงานรับของ สำนักงานฝ่ายบุคคล สำนักงานส่วนซ่อมบำรุง
วิศวกรรม สำนักงานฝ่ายอาหารหรือหัวหน้าพ่อครัว (อยู่ในส่วนครัว) สำนักงาน ส่วนทำความสะอาด และห้องฝึกอบรม
ในโรงแรมขนาดใหญ่จะมีที่พักผ่อนหรือที่รับประทานอาหารสำหรับพนักงาน สำหรับพนักงานประมาณ 1 ใน 3 ของพนักงานทั้งหมด พร้อมกับ
ครัวแยกเฉพาะส่วนนี้ พนักงานควรจะสามารถเข้าถึงส่วนนี้ได้โดยไม่ต้องผ่านครัว
สำหรับผู้บริหารโรงแรมอาจจะแยกไว้ต่างหาก ในโรงแรมขนาดเล็ก ผู้บริหารอาจจะใช้ห้องอาหาร และส่วนรับประทานอาหารของพนักงานอาจจะ
ใช้ครัวเดียวกับครัวหลักของโรงแรม ทั้งนี้ต้องมีห้องน้ำสำหรับพนัก งานด้วย
Locker สำหรับพนักงานใช้พื้นที่ประมาณ 0.36 ตร.ม. ต่อคน ไม่รวมพื้นที่สำหรับม้านั่ง ให้ประมาณการว่ามี จำนวนชายและหญิงเท่ากัน ยกเว้น
มีข้อแม้พิเศษในบางโรงแรม อาจจะต้องที่พักผ่อนสำหรับพนักงานที่เข้าเวรหรือไม่ สามารถกลับได้ หรือที่พักสำหรับผู้จัดการ
สำหรับพื้นที่สำหรับงานระบบต่างๆ อาจจะเป็นลักษณะของส่วนซ่อมบำรุง ห้องสำนักงานสำหรับวิศวกรซึ่งควรจะอยู่ใกล้กับห้องเครื่องต่างๆ
ทั้งนี้อาจจะรวมถึงแผนกช่างไม้ เฟอร์นิเจอร์ ช่างทาสี
12. ห้องพักแขก
12.1 ขนาดของห้อง
ในโรงแรมขนาดกลางทั่วมีขนาดห้องพัก ประมาณ 15-17 ตร.ม. ในขณะที่โรงแรมขนาดใหญ่มีขนาดห้อง อาจจะมากถึง 28 ตร.ม. โดยไม่รวม
ส่วนโถงและห้องน้ำ
ขนาดเตียงมาตรฐานอเมริกันสามารถแบ่งได้เป็น Twin : 9.90 x 1.90, Double : 1.37 x 2.03, Queen size : 1.52 x 2.10,
King size : กว้าง 1.83
โรงแรมส่วนใหญ่จะใช้เตียงขนาด Twin และ Double ซึ่งเป็นขนาดที่มีความยืดหยุ่นในการใช้สูง บางห้อง อาจจะมีเตียงแบบพับเก็บได้
หรือเตียงสำรอง หรือเตียงโซฟา (Sofa Bed)
ความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานประมาณ 2.50 ม. (ต่ำสุดประมาณ 2.3 ม.) ในขณะที่ส่วนทางเข้าอาจจะสูงเพียงแค่ 2.00 ม. เพราะต้องเผื่อระยะใต้
ฝ้าสำหรับระบบปรับอากาศ สำหรับปรับอากาศแบบศูนย์กลาง
ประตู และผนังควรจะเป็นวัสดุที่เก็บเสียงได้เป็นอย่างดี โดยการกันเสียงระหว่างห้องกับห้อง หรือห้องกับ ทางเดินจะต้องลดเสียงได้ประมาณ
45-50 dB ขณะที่เสียงจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นการจราจรหรือเสียงจากสนาม บินจะต้องลดลงโดยการใช้กระจกกันเสียงหรืออื่นๆ ประมาณ 40-42 dB
12.2 ห้องน้ำ
ห้องน้ำในห้องพักมักจะประกอบด้วย โถส้วม อ่างล้างหน้า กระจก อ่างอาบน้ำ พร้อมฝักบัว อาจจะมีโถปัสสาวะผู้ชาย ทั้งนี้การวางตำแหน่งแต่ละส่วน
ควรจะคำนึงถึงการวางท่อ การแชร์ช่องท่อกับห้องน้ำของห้องพักที่ติด กัน และมีส่วนที่เปิดเช็คท่อได้ เพื่อการซ่อมบำรุง
ในบางประเทศอาจจะมีข้อกำหนดห้องน้ำสำหรับคนพิการ โดยอาจจะต้องห้องพักที่คนพิการสามารถใช้ได้อย่างน้อยจำนวนหนึ่ง ห้องน้ำสำหรับคน
พิการก็ต้องมีราวจับ มีพื้นที่ที่รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ส่วนอื่นๆ ในห้องน้ำ ควรมีได้แก่ ชั้นวางผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ที่แขวนเสื้อ และอื่นๆ
12.3 ทางเดินในส่วนห้องพักและบันได
ทางเดินไม่ควรจะยาวเกินไป ความกว้างประมาณ 1.20 –2.00 ม. แล้วแต่ชนิดของโรงแรม ส่วนฝ้าเพดาน ของทางเดินในโรงแรมมักจะเป็นที่
สำหรับงานระบบทางวิศวกรรม พื้นถึงเพดานไม่ควรต่ำกว่า 2.25 ม.
ป้ายบอกทางไปแต่ละห้อง หรือทางไปสู่บันไดหนีไฟควรจะชัดเจน มีไฟฉุกเฉิน ควรมีปลั้กไฟไว้เป็นช่วงๆ เพื่อการซ่อมบำรุงหรือการทำความสะอาด
การใช้พรมจะทำให้ลดเสียงในทางเดิน อาจจะมีตู้เครื่องดื่มหรือตู้น้ำแข็ง ในส่วนโถงแต่ละชั้นหรือใกล้ช่องลิฟท์
12.4 การป้องกันเพลิงไหม้
ขึ้นอยู่กับเทศบัญญัติของแต่ละที่ ประตูห้องพักควรจะทนไฟได้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ผนังห้องควรจะทนได้ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ยกเว้นว่าจะมีระบบ
Springer ในทางเดิน ให้เช็คเทศบัญญัติในรายละเอียด
12.5 บริการแต่ละชั้น
จำนวนห้องในแต่ละชั้นอาจจะออกแบบให้สอดคล้องกับความสามารถในการบริการของบริกร 1 คนเป็น หลัก ดดยปกติแล้วบริกร 1 คนจะสามารถ
บริการได้ประมาณ 12-18 ห้อง ห้องพนักงานและส่วนบริการมักจะอยู่ในบริเวณช่องลิฟท์บริการ ควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับรถเข็น และกองผ้าปูหรืออื่นๆ
ควรแยกระหว่างผ้าสกปรกและผ้าสะอาด ในโรงแรมหรู อาจจะมีห้องเตรียมอาหารในแต่ละสำหรับ Room Service มีอุปกรณ์สำหรับเตรียมอาหารเช้า
ตู้เย็น เตาอบ ที่ปิ้งขนมปังหรืออื่นๆ
ช่องส่งผ้าหรือช่องทิ้งขยะเป็นส่วนหนึ่งที่มีการถกเถียงว่าควรมีหรือไม่ ถ้ามีจะต้องสอดคล้องกับส่วนชั้นล่างที่ทิ้งขยะหรือห้องซักผ้า
นอกจากนี้แต่ละชั้นยังต้องมีห้องเก็บของที่เก็บเฟอร์นิเจอร์สำรอง ส่วนประกอบที่ใช้ในการซ่อมแซมภายในห้องพักหรืออื่นๆ และอาจจะมีห้องน้ำพนักงาน
ห้องเก็บของพนักงานในแต่ละชั้นหรือในแต่ละโซนของการบริการ 13. ส่วนวิศวกรรมอาคาร
13.1 ไฟฟ้าสำรอง
ระบบไฟฟ้าสำรองควรจะต้องเตรียมเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ และไฟฉุกเฉินจะต้องใช้ได้เสมอ
13.2 สัญญาณเตือนภัย
อาจจะเป็นระบบกดสัญญาณด้วยมือ หรือระบบ Smoke หรือ Heat Detector ซึ่งสามารถได้ยินโดยทั่วถึง ทั้งตึก สายฉีดน้ำต้องยาวพอที่จะเข้าถึง
ทุกห้องพัก รวมทั้งควรมีเครื่องดับเพลิงตามจุดต่างๆ
13.3 ระบบปรับอากาศ
ระบบรวม (Central System) เป็นระบบที่มีความนิยมในอาคารขนาดใหญ่ แต่ละห้องพักควรจะต้องสา มารถอุณหภูมิตามความพอใจ ส่วนห้องจัด
เลี้ยงและส่วนสาธารณะต่างๆ ควรจะมีการแบ่งโซนที่สามารถเปิด ปิดได้ในเวลาใช้งาน เพื่อความประหยัด ทุกส่วนควรจะสามารถเข้าไปซ่อมแซมได้โดยง่าย
13.4 ระบบระบายอากาศสำหรับห้องน้ำ
ในระบบรวมห้องน้ำจะมีช่องอากาศหมุนเวียนอาจจะโดยใช้พัดลม ดูดอากาศไปสู่ท่อรวม แต่ต้องมีระบบกัน เสียงที่ดีเพื่อไม่ให้เสียงจากห้องน้ำอื่น
ผ่านเข้ามา
13.5 ระบบแสงสว่าง
ไฟฟ้าในหห้องพักจะต้องมีการวางระบบที่ดี มีจุดเปิดปิดหลักที่หัวเตียงครอบคลุมไฟส่วนใหญ่ของห้องได้ ส่วนทางเดินและส่วนสาธารณะอาจจะใช้ไฟ
ในการตกแต่งเพิ่มบรรยากาศโรงแรมตามแต่ประเภทที่แตกต่างกัน ส่วน Main Switch ควรอยู่ในที่ส่วนบริการ ไม่ให้แขกเข้าถึงได้ หนังสืออ้างอิง
Jones, Vincent, Ernst Neufert Architect’s Data: Second (International) English Edition, BSP Professional Books,
Oxford, UK, 1980
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น