Architect, Landscape and Interior Rangking

ดร.พร


อันดับโรงเรียน Architect, Landscape และ Interior ในสหรัฐอเมริกาล่าสุด (2007)
Posted February 22nd, 2007 by ดร.พร วิรุฬห์รักษ์


ผลสำรวจจากการเก็บข้อมูลจากบริษัทที่รับจ้างบัณฑิตจบใหม่เข้าทำงาน โดย นิตยสาร Design Intelligence
ในปีนี้ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

Architecture Program
อันดับเหล่านี้พิจารณาจาก ปริญญาที่ได้รับการรับรองโดย National Architectural Accrediting Board (คณะกรรมการรับรองหลักสูตรวิชาชีพสถาปัตย์)ให้เป็น ปริญญาวิชาีชีพ (Professional Degree) เท่านั้น ซึ่ง เรียกกันว่า Bachelor of Architecture, Master of Architecture และ Doctoral of Architecture เท่านั้น ถ้าในสถาบันใด มี โปรแกรมที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้เป็น ปริญญาในกลุ่มนี้ ก็จะไม่เอามานับ

ปริญญาวิชาชีพพวกนี้ สำคัญมาก หากท่านต้องการที่จะสอบใบอนุญาติประกอบวิชาชีพทีนี่ เพราะถ้าท่านไม่มีปริญญา ในปัจจุบัน ท่านจะไม่มีสิทธิเข้าโครงการฝึกงาน (Intern Development Program) ได้ ซึ่งถ้าท่านเข้าโครงการฝึกงานไม่ได้ก็จะไม่มีสิทธิสอบ กส. (ของสหรัฐ) นั่นเอง

ระดับปริญญาตรี (B.Arch)

ปริญญาวิชาชีพ เรียนห้าปี

1. Cornell University
2. Rice University
3. Syracuse University
4. Virginia Polytechnic Institute and State University
5. Rhode Island School of Design
6. Auburn University
6. California Polytechnic State University, San Luis Obispo
6. University of Kansas*
9. University of Texas at Austin
10. Carnegie Mellon University
11. University of Notre Dame
12. Kansas State University
13. Illinois Institute of Technology
14. Iowa State University
14. Pratt Institute
14. University of Oregon
14. University of Southern California

• U of Kansas กำลังจะยกเลิก ปริญญาตรีแล้ว เหลือแต่ปริญญาโท (M.Arch)

ระดับปริญญาโ์ท

ปริญญาโท ที่เรียกว่า M.Arch ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น ปริญญาวิชาชีพหรือ Professional Degree นี้ จะรับนักศึกษาจากหลายๆ สาขาเข้ามาเรียน โดยที่ไม่จำเป็นต้อง จบปริญญาตรีสถาปัตย์ (B.Arch) มาก่อน (จะสมัครเข้ามาก็ได้ แต่จำนวนคนที่จบตรีสถาปัตย์ B.Arch แล้วมาเรียนโท M.Arch ต่อมีไม่มาก)

นักศึกษาที่โครงการระดับ ปริญญาโทเหล่านี้ มุ่งหมายอยากรับเข้ามาจะมีอยู่สองพวก คือ
1. พวกที่มาต่อยอด คือ เรียนปริญญาสาขาที่เกี่ยวสถาปัตยกรรมมาแล้ว แต่ไม่ได้เป็นปริญญาวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจาก NCARB เช่น Bachelor of Science (BS) in Architecture หรือที่แปลเป็นไทยว่า วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม บัณฑิตพวกนี้มีความรู้เยอะ เข้ามาเรียนก็ต่อได้สนิท พอจบก็จะได้เป็น ปริญญาวิชาชีพ
2. พวกที่มาจากสาขาอื่นๆ คือจบปริญญาตรีมา แต่เป็นสาขาที่ไกลจากสถาปัตยกรรมมาก เช่น กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น พวกนี้ก็จะต้องเข้ามาเรียนมใหม่หลายอย่าง อาจจะใช้เวลาเรียนนานมาก 3-4 ปี กว่าจะจบปริญญาโท (เพื่อที่จะไป ประกอบวิชาชีพได้) แต่หลายๆ คนก็ยินดีที่จะเข้ามา เพราะใจรัก

สถาบันที่สอนสถาปัตยกรรมชั้นนำทั้งหลายในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในช่วงยุค ปลาย 1990s นั้นได้เล็งเห็นว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับบริบทที่หลากหลายในสังคม ดังนั้นการได้คนที่มีฐานความรู้จากวิชาชีพหรือองค์ความรู้ด้านอื่นๆ เข้ามาทำงานอยู่ในวงการวิชาชีพสถาปัตยกรรม จะเป็นผลดีต่อทั้งกับวงการ และฐานความรู้ให้กับสถาบันอีกด้วย ดังนั้น สถาบันชั้นนำหลายๆ แห่งจึงได้เริ่มที่จะหยุดผลิตระดับปริญญาตรี แล้วเน้นรับแต่นิสิตปริญญาโทเพียงอย่างเดียว

สถาบันที่ได้รับการจัดอันดับในปีนี้ของ M.Arch

1. Harvard University
2. University of Cincinnati
3. Yale University
4. Massachusetts Institute of Technology
5. University of Virginia
6. Cornell University
6. Rice University
6. Washington University in St.Louis
9. Columbia University
10. Virginia Polytechnic Institute and State University
11. Princeton University
11. University of Illinois at Urbana
11. University of Texas at Austin
14. Rhode Island School of Design
15. University of Michigan

(rank ของ Landscape และ Interior จะทยอยตามมานะครับ)



[10738] On March 4th, 2007 - 04:10 by ดร.พร วิรุฬห์รักษ์
10 อันดับ ของมหาวิทยาลัย Interior Design Programs – 2007
ระดับปริญญาตรี
1. University of Concinnati
2. Cornell University
3. Pratt Institute
4. Kansas State University
5. Arizona State University
5. Syracuse University
7. Auburn University
7. University of Florida
7. Virginia Polytechnic Institute and State University
10. University of Oregon
ระดับปริญญาโท
1. Rhode Island School of Design
2. Cornell University
3. Pratt Institute
4. Syracuse University
5. Virginia Polytechnic Institute and State University
6. Arizona State University
6. University of Florida
6. University of Oregon
9. Savannah College of Art and Design
10. Iowa State University
10. Ohio State University
Skill Assessment Rankings – Interior Design
Innovation in Design
1. Rhode Island School of Design
1. University of Cincinnati
3. Pratt Institute
Cross Discipline Experience
1. University of Cincinnati
2. Rhode Island School of Design
3. Cornell University
3. University of Nebraska – Lincoln
3. University of Oregon
Presentation Skills
1. Rhode Island School of Design
1. University of Cincinnati
3. Cornell University
3. Pratt Institute
Understanding of Professional Practice
1. University of Cincinnati
2. Arizona State University
2. Cornell University
2. Syracuse University
Quality of Graphic Presentation
1. University of Cincinnati
2. Rhode Island School of Design
3. University of Nebraska – Lincoln
Computer Applications
1. University of Cincinnati
2. Cornell University
2. Rhode Island School of Design
Sustainable Design Concepts and Principles
1. Rhode Island School of Design
2. University of Oregon
3. Arizona State University
3. Arizona State University
3. Pratt Institute
3. Syracuse University
3. University of Cincinnati
3. University of Florida
3. Virginia Poltechnic Institute and State University



[10736] On February 23rd, 2007 - 04:34 by ดร.พร วิรุฬห์รักษ์
ต่อเนื่องด้วยกลุ่มอันดับของ Architecture Program อีักแนวนึงนะครับ มาลองดูอันดับเกี่ยวกับเรื่องทักษะกันบ้าง ใน 5 อันดับ สถาบันที่มีทักษะเป็นเลิศใน 7 กลุ่มทักษะ (Skills Assessment Rankings)
ทักษะและความรู้เรื่องการออกแบบ (Design)
1. Harvard University
2. Cornell University
Yale University
4. Columbia University
5. University of Cincinnati
ทักษะและความรู้เรื่องการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง (Construction Methods and Materials)
1. University of Cincinnati
2. California State University, San Luis Obispo
Texas A&M University
4. Virginia Polytechnic Institute and State University
5. University of Kansas
ทักษะและความรู้เรื่องการค้นคว้าและทฤษฎี (Research & Theory)
1. Harvard University
2. Columbia University
3.Massachusetts Institute of Technology
3.Cornell University
3.Princeton University
ทักษะและความรู้เรื่องการสื่อสาร (Communication Skills)
1.Harvard University
2.University of Cincinnati
2.Yale University
4.Cornell University
4.Rice University
ทักษะการวิเคราะห์และวางแผน (Analysis and Planning)
1.Harvard University
2.Massachusetts Institute of Technology
3.California State University, San Luis Obispo
4.University of California, Berkeley
4.University of Cincinnati
4.University of Illinois at Urbana-Champaign
4.University of Virginia
ทักษะเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Applications)
1.Massachusetts Institute of Technology
2.Harvard University
3.Columbia University
3.University of Cincinnati
4.Cornell University
ทักษะเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Design Practices and Principles)
1.University of Virginia
2.Cornell University
2.University of California, Berkeley
2.University of Oregon
2.Virginia Polytechnic Institute and State University

ฟืก

A Paradigm of Sustainable Design and Construction

กระบวนทัศน์ของการออกแบบและการก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน
A Paradigm of Sustainable Design and Construction
ผศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์
ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

บทนำ“..Why do we need to concern about a paradigm of sustainable design and
development?..”
ในยุคปัจจุบันนี้ โลกเรากำลังเผชิญกับปัญหาและวิกฤตการณ์ที่รอการแก้ไขมากมาย ทั้งใน
เรื่องสภาวะโลกร้อน พลังงานหลักที่กำลังจะหมดไป ปัญหาด้านมลพิษ และสิ่งแวดล้อมจากอากาศ
ปัญหาขยะและน้ำเสีย สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ความเสื่อมโทรม
และกำลังจะสูญไปของป่าไม้ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่มีมาแต่อดีต ปัญหา
สังคม-ชุมชน-แหล่งพำนักอาศัยเสื่อมโทรมต่างๆ คงปฏิเสธกันไม่ได้แล้วว่า “มนุษย์ (Human)” คือ
ส่วนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังทั้งในฐานะ “ผู้สร้าง” และ “ผู้ทำลาย”
ในบทบาทสำหรับนักวิชาชีพและนักวิชาการด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก วิศวกร
นักออกแบบศิลปอุตสาหกรรม ภูมิสถาปนิก มัณฑนากร ผู้ประกอบการ นักวางผัง นักวิชาการ นัก
การศึกษา หรือผู้รับเหมาก่อสร้างก็ตาม ในฐานะมนุษย์หรือ ประชาชนคนหนึ่งในสังคมแล้ว โดยหน้าที่
และบทบาททางวิชาชีพ ท่านทั้งหลายเหล่านี้สามารถนำความรู้และกระบวนการทัศน์ของการออกแบบ
และพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ามาใช้ในการทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม สภาพแวดล้อม รวมถึงมีส่วนช่วยแก้ไข
บรรเทาปัญหาต่างๆที่มนุษย์และโลกของเรากำลังเผชิญดังเกริ่นไว้ข้างต้นได้
ขอบเขตและความสำคัญของกระบวนทัศน์ของการออกแบบและการก่อสร้างเพื่อ
ความยั่งยืน
แนวคิดสำหรับการออกแบบและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Concept of Sustainable Design and
Development) เป็นสิ่งที่นักออกแบบ นักคิด และนักวางแผนในยุคนี้ควรให้ความสำคัญ โดยจะต้องมี
กระบวนการคิดที่เป็นระบบตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีเป้าหมายเน้นไปที่สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
(Environment and Ecology) เป็นสำคัญ คำว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)”,
2
“สถาปัตยกรรมสีเขียว (Green Architecture)”, “การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ
(Environtal and Ecological Design)”, ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นหัวข้อประเด็นเนื้อหาที่สำคัญสำหรับการ
ออกแบบและพัฒนาตามหลักและแนวทางเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งความยั่งยืน (Sustainability) สิ่ง
สำคัญที่นักวิชาการหรือนักออกแบบประสงค์ที่จะมีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยการบูร
ณาการองค์ความรู้หรือศาสตร์ (Knownledge Integration) ที่ตนเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและผ่าน
กระบวนทัศน์ตามหลักการวิจัยเพื่อการออกแบบ เพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมี
ประสิทธิผล ซึ่งองค์ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอันนำไปสู่หนทางของการออกแบบและ
พัฒนาเพื่อความยั่งยืนนั้น มีความหลากหลายและกว้างขวางสำหรับนักออกแบบ นักวิชาการ นัก
วิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม ด้านวิศวกรรม และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ทั้งนี้อาจพิจารณาตามการ
จัดกลุ่มเนื้อหาศาสตร์เพื่อการวิจัยด้านความยั่งยืน (Topic Areas of Research and Consultancy for
Sustainability) ของ The Institute for Sustainable Futures1” ดังนี้
1. รูปแบบการขนส่งและเมืองเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Transport and Urban Form)
2. อนาคตเพื่อความยั่งยืนทางด้านทรัพยากรน้ำ (Sustainable Water Futures)
3. การใช้วัสดุเพื่อความยั่งยืนและการลดปริมาณขยะ/ของเสีย (Sustainable Materials Use
and Waste Minimisation)
4. พลังงานเพื่อความยั่งยืนและการลดปฏิกิริยาเรือนกระจก (Sustainable Energy and
Green House Reduction)
5. การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนโดยรัฐบาลระดับท้องถิ่น (Sustainable Development by
Local Government)
6. หลักความเสมอภาคทางการเมืองและสังคมกับการดำเนินการเพื่อความยั่งยืน
(Sustainable Democracy and Cooperation)
7. เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Economic Instruments
for Sustainability)
8. การบริหารจัดการด้านความต้องการ (อุปสงค์) และการวางแผนเพื่อลดต้นทุน (Demand
Management and Least Cost Planning)
9. อาคารและการออกแบบเพื่อความยั่งยืน(Sustainable Building and Design)
10. การพัฒนาในระดับนานาชาติ (International Development)
สำหรับการดำเนินการของวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาคารและการออกแบบ (หัวข้อ 9) เป็นหลัก
และปรารถนาที่จะสัมฤทธิผลในการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ควรพิจารณาบูรณาการองค์ประกอบหรือ
1 http://www.isf.uts.edu.au/whatwodo/index.html
3
ขอบเขตตามหัวข้อวิจัยทั้ง 10 สาขาเป็นต้นแบบ โดยหัวข้อ “อาคารและการออกแบบ (Building and
Design)” เปรียบเสมือนหัวใจหลักที่วิชาชีพเรากำลังพุ่งเป้าเข้าไปหาโดยมีหัวข้อและปัจจัยแวดล้อม
อื่นๆ เป็นตัวสนับสนุน เนื่องจากทุกวันนี้ในการดำเนินการในส่วนของวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการ
ออกแบบ และการก่อสร้างอาคารนั้น มักจะมุ่งเน้นอยู่ที่กระบวนการ 2 ส่วนหลัก คือ (1) การออกแบบ
(Design) และ (2) การก่อสร้าง (Construction) ส่วนการมุ่งไปสู่หนทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
(Sustainable Development) อย่างจริงจังนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นผลครอบคลุมในวง
กว้างได้ ยังเป็นแค่ส่วนหรือเพียงเสี้ยวหนึ่งของการปฏิบัติงานทางวิชาชีพเท่านั้น และยังไม่นำไปสู่การ
ปฏิบัติอย่างกว้างขวางได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบและก่อสร้างในประเทศไทย
รูปที่ 1 แสดงถึงสถานการณ์ปัจจุบันของแนวคิดด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable
Development) ว่ายังเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เป็นส่วนน้อยในการออกแบบ
(Design) และการก่อสร้าง (Construction)
(Design)
การออกแบบ
(Construction)
การก่อสร้าง
(Sustainable Design and Construction)
การออกแบบและการก่อสร้างที่ยั่งยืน
4
การสร้างกระบวนทัศน์เชิงวิจัยเพื่อสนับสนุนให้งานออกแบบและงานก่อสร้าง
พัฒนาไปสู่ความยั่งยืน
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่สั่งสมมาแต่อดีตและเพื่อการปรับตัวก้าวสู่อนาคต หนทางแห่งความ
ยั่งยืนในการออกแบบและก่อสร้างอาคารเป็นคำตอบหนึ่งที่วิชาชีพเราควรก้าวไปให้ถึง จากรูปที่ 1 นั้น
หากส่วนควาบเกี่ยวของวงกลมสองวงหรือส่วนพื้นที่ตรงกลางซึ่งเป็นพื้นที่ของการออกแบบและการ
ก่อสร้างที่ยั่งยืน (Sustainable Design and Construction) ถูกแผ่ขยายวงกว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วน
ของพื้นที่ทางด้านซ้าย คือ การออกแบบ (Design) หรือทางด้านขวา คือการก่อสร้าง (Construction)
นั่นย่อมเป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนา สิ่งดีๆ ของการพัฒนาย่อมเกิดผลตามมามากมาย อาทิ
สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีขึ้น การประหยัดในเชิงของเงินตราและทรัพยากร การประหยัดเวลา
และต้นทุนในการดำเนินงาน / บริหารจัดการ
ในการดำเนินการเพื่อให้บังเกิดผลในเชิงของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
นั้น สถาปนิก-วิศวกร-นักออกแบบ-และผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย จำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์การทำงาน
และการศึกษาเข้าสู่กระบวนการเชิงวิจัย มาถึงจุดนี้หลายท่านอาจสงสัยว่า แล้วกระบวนการเชิง
วิจัยเกี่ยวพันอย่างไรกับกระบวนทัศน์ของการออกแบบเพื่อความยั่งยืน? ลองพิจารณาหา
คำตอบจากคำถามที่เป็นข้อกังขาทีละขั้นตามลำดับดังนี้
1. “ การวิจัย ” หมายถึง การค้นหาข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบและเป็น
วิทยาศาสตร์ เพื่อการตอบคำถามการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้า ซึ่งการวิจัยที่ดีนั้นควรมีคุณสมบัติอย่าง
น้อย 3 ประการ ดังนี้
1.1 การวิจัยควรสามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ตั้งไว้ได้อย่างชัดเจนครบถ้วน
1.2 กระบวนการของการวิจัยจะต้องอาศัยวิธีการเชิงประจักษ์ที่นำไปสู่คำตอบได้อย่าง
ถูกต้องและมีเหตุผล
1.3 คำตอบของการวิจัยจะต้องมีคุณค่า สามารถนำไปใช้ได้กับการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย
หรือการปฏิบัติ ซึ่งมิใช่แค่การสำรวจความคิดเห็น (Poll) เนื่องจากการจัดทำโพลล์
ไม่ได้ใช้กระบวนการวิจัย
2. “ กระบวนการออกแบบ ” หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ โดย
กระบวนการหลักของการออกแบบประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอน2ดังนี้
2 Lang, Jon. A Model of the Designing Process, In Lang, Jon. (Ed.) Designing for Human Behavior, Pennsylvania : Hutchinson
and Ross Inc. 1974
5
2.1 ขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างและพัฒนาโปรแกรมการออกแบบ
(Intelligence)
2.2 ขั้นตอนการออกแบบ (Design)
2.3 ขั้นตอนการหาหรือสร้างทางเลือก (Choice)
2.4 ขั้นตอนการนำไปสู่การปฏิบัติ (Implementation)
2.5 ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluation)
ในกระบวนการของการออกแบบนั้น ขั้นตอนการประเมินผลสามารถนำไปสู่ความรู้ที่สามารถ
นำมาสร้างเป็นทฤษฏีหรือเพื่อการปรับปรุงการออกแบบในภายหลังได้ ทั้งนี้การวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่ง
สาระที่ต้องการมีอยู่ในกระบวนการหาข้อมูล / ข่าวสาร และกระบวนการประเมินผลซึ่งมีเป้าหมายที่
แตกต่างกัน ดังนั้น กระบวนการออกแบบจึงไม่ได้เป็นกระบวนการเส้นตรง (Linear Process)
เนื่องจากหลังจากที่ได้รูปแบบเบื้องต้นแล้ว ผู้ออกแบบมักได้รับอิทธิพลจากกระบวนการที่เรียกว่า
“ Vision of Process and Product” ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดดั้งเดิม และก่อให้เกิดการ
พัฒนาหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด (Ziesel 1981)
3. “ การวิจัยเพื่อการออกแบบ ” ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยเพื่อการออกแบบ แบ่งได้ 2
รูปแบบ คือ
3.1 ความรู้แบบ Programmatic ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากกระบวนการ Programming
Research
3.2 ความรู้แบบ Paradigmatic ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากกระบวนการ Evaluation
Research
การออกแบบจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทั้งสองรูปแบบเสมอ เนื่องจากทั้งคู่มีจุดอ่อนและจุดแข็ง
ในตัว โดยความรู้แบบ Programmatic นั้น เป็นการริเริ่มการหาข้อเท็จจริงเพื่อใช้ในงานเฉพาะมักใช้
เวลามาก ค่าใช้จ่ายสูง และอาจต้องลองถูกลองผิด แต่เป็นความรู้ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด
ส่วนความรู้แบบ Paradigmatic นั้น เป็นการเสริมความรู้แบบแรกที่ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
แต่ทำให้จำกัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบ เช่น การหาความรู้จาก Architectural Standard
หรือ Time Saver Standard ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาความสมดุลย์จากความรู้ทั้งสองรูปแบบ (ดู
รายละเอียดใน นภดล สหชัยเสรี วิธีการออกแบบ Paradigmatic และ Programmatic ใน
กระบวนการหาข้อมูลเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม และชุมชนเมือง วารสารพระจอมเกล้า
ลาดกระบัง V.5 March 1997, pp.79-83) หรืออาจกล่าวได้ว่า กระบวนการวิจัยเพื่อการออกแบบ
6
นำไปสู่ความรู้สองประเภท คือ ความรู้แบบ Programmatic และความรู้แบบ Paradigmatic โดย
แสดงดังรูปที่ 2 ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการหลักของการออกแบบ 5 ขั้นตอน ดังที่กล่าวมาแล้ว
P a r a d i g m a t i c D s
รูปที่ 2 กระบวนการวิจัยเพื่อออกแบบ นำไปสู่ความรู้สองประเภท จาก Lang, Jon. A Model of the
Designing Process, In Lang, Jon. (Ed.) Designing for Human Behavior, Pennsylvania
: Hutchinson and Ross Inc. 1974
เพื่อความเข้าใจในกลุ่มการวิจัยเพื่อการออกแบบ เราจึงควรทำความเข้าใจกับกระบวนทัศน์
ในการวิจัยเพื่อการออกแบบเสียก่อน จากวิวัฒนาการด้านแนวคิดในสาขาการออกแบบกระทั่งปัจจุบัน
เราสามารถแบ่งกระบวนทัศน์ที่เกิดขึ้นได้พร้อมๆ กันถึง 3 กระบวนทัศน์3 หลักที่สำคัญ ได้แก่
(1) ความรู้สึกด้านสถานที่ (Sense of Place) ซึ่งเป็นความรู้สึกของผู้ใช้สถานที่เป็นสำคัญ
(2) กระบวนทัศน์ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งเป็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและ
ระบบนิเวศน์
(3) กระบวนทัศน์ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ใช้สถานที่ (Participation) ซึ่งเป็นกระบวนการและ
เทคนิควิธีการค้นหาข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ การวิจัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ มักสามารถจัดเข้ากับหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง
กระบวนทัศน์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปจะเป็นรายละเอียดของสาระในกระบวนทัศน์
3 Snacar, Fahriye Hazer. Paradigms of Postmodernity and Implicative for planning and Design Review Process. Environment
and Behavior.,Vol.26 No.3 May 1994
Development of
architectural
program
Sketching of
alternative
solutions
Selection of
best
alternative
Working drawings,
specifications,
contracting,construction
Evaluation of
building in use and
process of design
used
Theory building
for future
designing
Correction of
faults in
design
INTELLIGENCE DESIGN CHOICE IMPLEMENTATION EVALUATION
7
เพื่อความยั่งยืนเท่านั้น (ดู ผศ.ดร.นภดล สหชัยเสรี. กระบวนทัศน์กับการวิจัยการออกแบบเพื่อความ
ยั่งยืน. เอกสารประกอบการประชุมใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 2 “ ความยั่งยืน สภาพแวดล้อม สุนทรียภาพ”,
สภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบภายในแห่งประเทศไทย, 2546, หน้า 45-52)
กระบวนทัศน์การออกแบบเพื่อความยั่งยืน (Sustainability)
ในกระบวนทัศน์การออกแบบเพื่อความยั่งยืน การรับรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของที่มาและ
แนวคิดของการออกแบบเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Design) การศึกษาแนวโน้มการวิจัยหรือ
ความรู้ด้านความยั่งยืนในด้านการออกแบบระดับโลก (Global Scale) และการสรุปทิศทางและความ
น่าจะเป็นของการดำเนินงานหรือการวิจัยในกระบวนทัศน์ด้านความยั่งยืนของการออกแบบและ
ก่อสร้าง เพื่อจรรโลงสิ่งแวดล้อมในอนาคตนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นแนวทาง และช่วยกันสรรค์สร้างสิ่งที่ดี ซึ่งแต่ละบุคคลมีส่วนรับผิดชอบตาม
บทบาทหน้าที่ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความน่าอยู่ของโลกใบนี้ต่ออนุชนรุ่นหลังในอนาคต
จากการที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่ง
ส่งผลต่อความไม่สมดุลแก่ระบบนิเวศ ดังจะเห็นได้จากปัญหาระดับโลกในปัจจุบัน อาทิ ปัญหาโลก
ร้อน การลดลงของปริมาณโอโซน และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแก๊ส เรือนกระจก จากรายงานที่ชื่อ
ว่า “Our Common Future” ในการประชุมของ The World Commission on Environment and
Development หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า the Bruntland Commission ในปี 1987 ได้มีคำที่เกิดขึ้นใหม่คือ
“การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)” เป็นครั้งแรก ซึ่งหมายถึง ความจำเป็นในการ
สนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบันโดยไม่เบียดเบียนความสามารถในการสนองความต้องการ
ของคนในยุคหน้า ซึ่งเป็นสัตยาบัน ที่เริ่มต้นขึ้นเนื่องจากระดับความรุนแรงของสภาพแวดล้อมโลกที่
เสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว ในครั้งการประชุมของ Bruntland Commission ทั้งในปี 1972 และปี 1987
นับว่าเปลี่ยนแนวคิดจากความกังวลต่อสภาพแวดล้อมโดยตรงมาเป็นความสนใจในสภาพแวดล้อม
มนุษย์ ที่เรียกว่า “Brown agenda” ก่อนที่ “Earth Summit” ในปี 1992 ที่ Rio de Janeiro จะหัน
กลับมาสนใจในสิ่งแวดล้อมกายภาพอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม รายงานของ UNCED เน้นปัจจัยที่
Bruntlant report ได้กล่าวไว้ 4 ด้าน ซึ่งได้แก่ ความยากจน ประชากร เทคโนโลยี และวิถีชีวิตโดยสอง
ประการหลังนี้เองที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านการออกแบบโดยตรง
อีกแนวคิดหนึ่งได้แก่ “การคิดระดับโลก ปฏิบัติในระดับท้องถิ่น (Think globally, act locally)”
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักในระดับโลกอีกครั้งหนึ่ง เช่น โลกร้อน ชั้นโอโซนที่สูญเสียไป และ
ทรัพยากรพลังงานที่หมดไปอย่างรวดเร็วที่จะต้องนำมาเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องปฏิบัติกันในแต่ละ
ท้องถิ่นตามบริบทเฉพาะของตนเพื่อการแก้ปัญหาโลกดังกล่าว ความตระหนักต่อการออกแบบที่
8
ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อโลกและถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของนักออกแบบอาชีพ การ
ออกแบบสภาพแวดล้อมควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ (Brian, 2001)
1. โลกร้อน (Global warming) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อโลกร้อนได้แก่ปริมาณก๊าซคาบอนไดอ๊อก
ไซที่เพิ่มขึ้น และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ใช้ไปในการก่อสร้างและใช้อาคาร 45%
ของการผลิตก๊าซชนิดนี้ทั่วโลกเกิดขึ้นจากอาคาร เช่น การผลิต การขนส่งวัสดุก่อสร้าง การให้แสงสว่าง
การทำความเย็น และการระบายอากาศ ในตัวอาคารดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในท้องถิ่นจะสามารถ ลด
การขนส่ง และการบริหารจัดการด้านการทำความเย็นและการให้แสงสว่างภายในอาคารด้วยวิธีการ
ตามธรรมชาติจะสามารถลดการเกิดก๊าซคาร์บอนนี้ได้ การใช้วิธีการทำความเย็นหรือการระบาย
อากาศ ด้วยวิธีการธรรมชาติ (Passive cooling) เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน
สิ้นเปลืองและการก่อให้เกิดแก๊สเรือนกระจก
2. การหมดไปของชั้นโอโซน (Ozone layer depletion) การออกแบบอาคารที่ใช้พลังงาน
น้อยย่อมก่อให้เกิดผลด้านการลดลงของชั้นโอโซนลงด้วย เนื่องจากอาคารที่ทำความเย็นด้วย
เครื่องปรับอากาศมักใช้สาร Chlorofluorocarbons (CFC) เป็นตัวกลางในการส่งผ่านความร้อนจาก
ภายในอาคารออกนอกตัวอาคาร ซึ่งมีผลต่อการลดลงของปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งนอกจาก
ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังที่เกิดขึ้นจำนวนมากกว่าหกหมื่น
รายต่อปีเนื่องจากไม่มีชั้นโอโซนในการกลั่นกรองรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต ที่ผ่านลงมายังพื้นโลก
3. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในครั้งการประชุม Earth Summit ที่ Rio
De Janeiro ในปี 1992 ได้เน้นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งมีผลมาจากตัว
อาคารเนื่องจากการเลือกใช้วัสดุที่เป็นอันตรายต่อชีวภาพบางพันธุ์และทำให้บางพันธุ์เพิ่มจำนวนมาก
ขึ้น เช่นการตัดไม้ทำลายป่า การขุดหินปูน ดิน และชอล์คขึ้นจากดินทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นใน
แหล่งขุด และทำให้ที่ดินอันมีค่าเสียไป การสร้างอาคารยังทำลายที่อยู่ของสัตว์หายากบางประเภท เช่น
ค้างคาว แต่กลายเป็นที่อยู่ของสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาอีกหลายประเภทเช่น แมลงสาป การใช้วัสดุตาม
ธรรมชาติช่วยลดผลกระทบดังกล่าวลง
4. ระยะทางการขนส่งวัตถุดิบ (Product miles) เป็นการคำนึงรอยเท้าแห่งนิเวศของตัว
อาคาร (Building ecological foot print) ซึ่งเรียกว่าแนวคิด Product miles เป็นการคำนึงถึงน้ำหนัก
ของวัสดุ ระยะทางการขนส่ง และชนิดของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง
5. การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) เป็นการคำนึงถึงวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ทั้งหมด หรือสามารถถอดประกอบและนำมาประกอบใหม่ได้ รวมทั้งการออกแบบอาคารที่สามารถ
ปรับใช้ได้ในอนาคต เป็นการบูรณาการด้านวัสดุและวิธีการออกแบบ
9
แนวโน้มการวิจัยด้านความยั่งยืนในการออกแบบในระดับโลก
จากแนวคิดด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ปรากฏว่ามีการวิจัยที่เกี่ยวข้องตามความสนใจ
ของนักวิชาการ และทิศทางของศาสตร์พอจะแบ่งได้เป็นสี่กลุ่มหลัก จากการประชุม PLEA ในปี 2002
มีบทความที่ส่งเข้าเสนอในที่ประชุม 167 บทความ ปรากฏว่ามีการวิจัยด้านกรอบอาคารเพียง
ประมาณหนึ่งในสามเท่านั้น ที่เหลือเป็นการวิจัยในด้านการจัดการในระดับที่ใหญ่กว่า และเป็นระบบ
มากขึ้น เช่น ระบบนิเวศอาคาร/เมือง ตลอดจนการจัดการด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร
อย่างไรก็ตาม สาระการวิจัยเพื่อการออกแบบในระดับโลก (จากการประชุม PLEA) พอสรุป
แนวโน้มได้ดังนี้
- เน้นเรื่อง Sustainability/ecology มากกว่าการประหยัดพลังงานเพียงอย่างเดียว
- เน้นการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ที่มา : จากการประชุม PELA ในปี 2002 มีบทความที่ส่งเข้าเสนอในที่ประชุม 167 บทความ
จำนวนบทความ ระดับ/สาขาที่เกี่ยวข้อง สาระ/ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง
45 Urban Planning / Design การแก้ปัญหาความน่าสบายพลังงานและนิเวศในระดับเมือง
36 Built Environment ระดับสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างตั้งแต่ภูมิทัศน์ถึงภายใน
63 Building Envelope การวิจัยด้านกรอบอาคารและสภาวะน่าสบายที่เกิดขึ้น
23 Interior/spatial การจัดสภาพแวดล้อมภายใน indoor air quality ,lighting,
sound absorption panels, environment and behavior.
รวม 167
- เน้นสาระการเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีมากกว่าการเน้นด้านเทคนิควิธี
- ในด้านมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ เน้นทั้งพลังงานที่ใช้ใน embodiment and operating
cost
- ในแง่กฎหมาย และแนวทางการส่งเสริมการขาย ใช้ energy pact (แนวคิดบ้านเบอร์ 5)
- เน้น rethinking architecture เพื่อคานความสมดุลด้านความตระหนัก/ จิตสำนึก และ
การค้า
- เชื่อมโยง micro-climate and morphology
- เน้น user participation ทั้งด้านการออกแบบ และการตัดสินใจโดยมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
- เน้น design tools ที่ตอบสนองต่อแนวคิดด้าน sense of place
10
- ด้านวิธีการและมุมมอง ใช้การผสมผสานระหว่างแนวคิด เช่น
• ตัวชี้วัดที่เป็น อัตวิสัย และวัตถุวิสัย (Subjective and Objective measurement)
เพื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกของสภาพทางกายภาพ
• Macro & micro scale / Atrium & interior space / Bottom-up & top-down
• Environment & psychology / behavior / cognitive map
สรุปทิศทางและความน่าจะเป็นของการวิจัยในการะบวนทัศน์ด้านความยั่งยืนของ
สิ่งแวดล้อมในอนาคต
1. การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความน่าสบาย ความต้องการด้านความสบายมัก
เกี่ยวข้องกับสองปัจจัยหลัก ได้แก่ ระดับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ บุคคลมักมีความ
ต้องการต่างกันเนื่องจากความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อม
ควรให้เหมาะสมกับความต้องการเพื่อสามารถประหยัดทรัพยากรได้สูงสุด (Optimization of
resource) โดยวิธีการในการแก้ปัญหาด้านความร้อนเพื่อความน่าสบาย (Comfort) มีหลายวิธี ขึ้นอยู่
กับภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆ เช่น ด้วยวิธีการเคลื่อนที่ของอากาศ การใช้ Cross ventilation, การใช้มวล
ของอาคารในการชะลอความเย็น การใช้หลักการด้านความร้อนแฝง ฯลฯ ทั้งนี้ ข้อสรุปจากที่เราคนไทย
กำลังศึกษา เช่น จาก Psychometric chart มักเป็นไปในบริบทของสภาพร่างกายของชาวตะวันตก ซึ่ง
คนไทยเรายังต้องการการวิจัยเพื่อให้ความสร้างมาตรฐานที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับความน่า
สบายตามบริบทไทยอีก
2. เทคนิคการประหยัดพลังงานในอาคาร พลังงานที่ใช้ในตัวอาคารแบ่งออกเป็นสอง
รูปแบบ ได้แก่
ก. Embody energy เช่น พลังงานที่ใช้ในการผลิต ขนส่ง และก่อสร้างตัวอาคาร จาก
ตารางจะเห็นได้ว่า วัสดุก่อสร้างประเภทต่างๆ มักต้องการพลังงานในการผลิต
ต่างกัน ดังนั้น การออกแบบจึงควรเลือกใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบด้านพลังงานต่ำ
เพื่อประหยัดสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมระบบนิเวศที่สมดุล การวิจัยที่เกี่ยวข้องมัก
ประสานความน่าจะเป็นของวัสดุเหล่านี้ ราคา ประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนรสนิยม
ของผู้ใช้อาคาร
ข. Operating energy ได้แก่พลังงานที่ป้อนให้แก่อาคารขณะใช้อาคารที่ได้รับการ
ออกแบบโดย คำนึงถึงการระบายความร้อนด้วยวิธีธรรมชาติ จะสามารถประหยัด
พลังงานได้มากกว่า ในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ เริ่มมีโครงการประเมิน
ระดับการใช้พลังงานของอาคาร (ในกรณีการทำความอุ่น) คล้ายกับการประเมิน
11
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตู้เย็น (โครงการฉลากเบอร์ห้า ของ สนพ.) เพื่อผู้
ซื้อสามารถคำนวณระยะเวลาคืนทุนเมื่อซื้ออาคารแต่ละหลัง วิธีนี้ถือว่าเป็นการ
ใช้การตลาดในการส่งเสริมการประหยัดพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง (Vale 2000)
การคำนึงถึง เทคนิคการประหยัดพลังงานในอาคาร เพื่อส่งเสริมความน่าสบาย ด้วยวิธีการ
หันทิศทางให้ถูกต้อง (Building Orientation) และการสร้างความเย็นโดยวิธีธรรมชาติ โดยวิธีการต่างๆ
(Passive cooling) บางครั้งวิธีการต่างๆ มักเป็นความต้องการที่ขัดแย้งกันเอง เช่น ทิศทางแดดและ
ลม แสงและรังสีความร้อน การระบายความร้อนด้วยน้ำกับความชื้นสัมพัทธ์ เป็นต้น (Givoni 2000)
ดังนั้นการผสมผสานวิธีการทาง Passive cooling จำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการด้านความขัดแย้ง
อย่างมาก พร้อมทั้งความรู้เฉพาะบริบทสำหรับแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย ดังนั้นการวิจัยเพื่อการ
ออกแบบจึงมักเกี่ยวข้องกับการผสมผสานเทคนิควิธีต่างๆดังกล่าวในข้อที่ 1
3. ความสมดุลของระบบนิเวศน์ภายใน สิ่งแวดล้อมสรรสร้าง (Built environment) ไม่
ว่าจะเป็นระดับเมืองหรืออาคารถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศแบบเปิด (King 2000) เช่น มีการนำเข้า
ทรัพยากรจากภายนอกมาใช้ และการนำของเสียออกไปทิ้งข้างนอก การออกแบบอาคารที่ดีควร
คำนึงถึงระบบนิเวศอาคารในลักษณะกึ่งเปิด เพื่อนำเข้าทรัพยากร และนำของเสียออกไปทิ้งให้น้อย
ที่สุด พร้อมทั้งจำกัดพื้นที่ของรอยเท้านิเวศให้แคบที่สุด โดยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศภายใน
และรอบตัวอาคาร การวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบำบัด การฟอกอากาศ การ Recycle น้ำใช้พลังงาน
ธรรมชาติ และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพรอบตัวอาคาร (Ken Yaeng 2000)
บทสรุป
การออกแบบและการก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Design and Construction) มิใช่
ประเด็นปัญหาใหม่ หรือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหนทางที่มนุษย์เราทุกคน
ต้องร่วมกันหาทางแก้ไข เพื่อดำรงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของโลกและตัวเรา
สำหรับในมุมมองของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ในบทบาทของนัก
ออกแบบ ทั้งสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ประกอบการด้านวัสดุผลิตภัณฑ์ นักวางผัง มัณฑนา
กร ล้วนมีส่วนสำคัญเท่าเทียมกัน ซึ่งควรใช้กระบวนทัศน์ของการออกแบบวิจัยเข้าไปดำเนินการตาม
ขั้นตอนต่างๆ ของการปฏิบัติวิชาชีพ อาทิ
- สถาปนิก ต้องมีจิตสำนึกและมีกระบวนทัศน์ของการออกแบบที่มีประสิทธิภาพใน
การวางผัง การเลือกใช้วัสดุ การจัดวางอาคารที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม และรับ
ประโยชน์จากธรรมชาติ รู้หลักและแนวคิดการออกแบบการประหยัดพลังงาน
12
- วิศวกร ต้องเข้าใจในหลักการเลือกใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพ วางแผนและควบคุม
กระบวนการทำงาน/การก่อสร้างให้เหมาะสม มีการคำนวณประสิทธิภาพในด้านราคา
และต้นทุน
- นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการผลิต การเลือกใช้วัสดุที่เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อม รู้จักคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุ เพื่อนำมาสร้างหรือวางแผน
ตลอดกระบวนการผลิตเพื่อลดการสูญเสีย สร้างประโยชน์ในด้านการใช้งานสูงสุด
และไม้ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
“ Sustainable development…….


3. Green, Ecological or Sustainable Architecture

คำเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร? และเป็นอย่างไร?

“Green”, “Ecology”, and “Sustainable” ถูกใช้โดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต่อมาเมื่อสถาปัตยกรรมได้ให้ความสนใจในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คำเหล่านี้จึงถูกนำมารวมกับสถาปัตยกรรม โดยให้ความหมายที่สื่อถึง งานสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมและเป็นสถาปัตยกรรมที่มีออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ สถาปัตยกรรมในแนวความคิดนี้มีเป้าหมายในการออกแบบที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มีผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ความหมายเชิงลึกของคำเหล่านี้เกี่ยวพันไปถึงเรื่องที่สถาปนิกจะทำได้เพื่อการรักษาเยียวยา รวมไปถึงการขยาย สืบต่อ หรือทำให้โลกสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงและคงอยู่เพื่อมนุษยชาติในรุ่นต่อๆ ไป
ในทางสถาปัตยกรรมแล้วมีหลายทางที่จะออกแบบ “สถาปัตยกรรมสีเขียว” (Green Architecture) และรับผิดชอบต่อการเพิ่มขึ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมบนพื้นโลก การออกแบบนี้อาจจะสามารถทำได้โดยที่ยังคงประสิทธิภาพในการใช้งานของอาคาร ยังมีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม และมีค่าใช้จ่ายของการก่อสร้างไม่มาก ทั้งนี้อาจจะสรุปการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เป็น 5 หัวข้อหลักๆ คือ ระบบนิเวศน์ของอาคาร (Building Ecology), ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), วัสดุ (Materials), รูปทรงอาคาร (Building Form), และการออกแบบอาคารโดยรวมที่ดี (Good Design)
Building Ecology
ผลิตภัณฑ์และงานระบบต่างๆ ที่ใช้ในอาคารอาจจะเป็นพิษได้ อาจจะปล่อยสารเคมี และเศษฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นระยะเวลายาวนานหลังจากที่อาคารสร้างเสร็จ สาเหตุนี้สามารถแก้ได้หากสถาปนิกมีความเข้าใจและลดอันตรายของการใช้วัสดุตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ มีการปรับเปลี่ยนและเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีผลข้างเคียง รวมไปถึงระบบระบายอากาศทั้งแบบธรรมชาติและระบบเครื่องจักรกลสามารถออกแบบให้มีการหมุนเวียนเอาอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารมากที่สุดและลดภาวะที่จะทำให้เกิดเชื้อราหรือความอับ เหม็นให้น้อยที่สุด
Energy Efficiency
โดยการออกแบบให้อาคารนำเอาและใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติเป็นลดภาระการผลิตพลังงาน ทั้งยังเป็นรักษาพลังงานไว้ใช้ในยามจำเป็นจริงๆ เช่น ในช่วงที่มีการใช้กระแสไฟสูงในช่วงร้อนจัด เป็นต้น การออกแบบอาจจะเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ การใช้ Thermal Mass ของอาคารเพื่อเก็บหรือระบายความร้อน หรือการออกแบบระบบฉนวนให้เหมาะสมกับการใช้งาน การใช้ระบบควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบทำความเย็นสามารถลดความต้องการในการใช้ไฟฟ้าได้
Materials
วัสดุบางอย่างที่ใช้ในการก่อสร้างส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของโลกมากน้อยแตกต่างกัน ไม้บางชนิดได้มาจากการตัดไม้ในป่าที่ไม่สามารถปลูกทดแทนได้ วัสดุบางอย่างอาจจะได้มาโดยกระบวนการที่สร้างมลภาวะให้กับพื้นโลก หรือสร้างสารพิษออกมาในขั้นตอนการแปรรูป วัสดุบางอย่างผลิตมาจากแหล่งทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้ และมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการผลิต สถาปัตยกรรมควรจะคำนึงถูกระบบนิเวศน์ทั้งในระดับทองถิ่นและระดับโลก โดยสถาปนิกควรจะพิจารณาใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และอ่นให้น้อยที่สุด
Building Form
รูปทรงของอาคารมีส่วนรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของที่ดิน ต้นไม้ หรือสภาพอากาศโดยรอบ ในการออกแบบรูปทรงอาคารอาจจะทำให้มีการเอื้อต่อการหมุนเวียนของการวัสดุ ทรัพยากร ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานในอาคาร เพิ่มความน่าอยู่ให้แก่ผู้ใช้ และมีความปลอดภัย การออกแบบสามารถสะท้อนถึงความงามในแง่ของความสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น หรือธรรมชาติโดยรอบ และมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมในวงเล็ก (Micro-Climate)
Good Design
การออกแบบที่ดีต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาหรือผลงานชิ้นนั้นทิ้งอะไรไว้บ้าง อาคารที่คงทนถาวร ง่ายต่อการใช้ คำนึงถึงเอาวัสดุเก่ากลับมาใช้ และสวยงาม มักจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เช่น จะมีความต้องการพลังงานน้อยลง ซ่อมบำรุงน้อย และคุณค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา การออกแบบที่คิดอย่างละเอียดละออ ให้ความสำคัญกับรายละเอียดแต่ละส่วน ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และใช้ระบบจักรกลอันทรงประสิทธิภาพจะเป็นการง่ายกว่าที่จะสนองต่อแนวความคิดของสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ในขณะที่อาคารที่สร้างออกมาอย่างมากมายรวดเร็ว ใช้ของราคาถูกเข้าไว้ ใช้เวลาในการคิดออกแบบสั้นๆ จะก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมตามมามากกว่าอย่างแน่นอน
เป้าหมายในการออกแบบนี้เรียกว่า การออกแบบเพื่อความยั่งยืน หรือการออกแบบเพื่อโลกสีเขียว ถ้าสถาปนิกไม่ได้คำนึงถึงส่วนนี้เลย ก็คงจะทิ้งซากแห่งความเลวร้ายของสภาพแวดล้อมตกทอดไปสู่ลูกหลานในภายภาคหน้า แต่ถ้าสถาปนิกมีจิตสำนึกในส่วนมากขึ้น เราก็จะสามารถชลอและยืดอายุความสวยงามของอากาศบริสุทธิ์ หมู่มวลแมกไม้อันเขียวขจี สภาพแวดล้อมที่ดีนี้ไว้อย่างยาวนาน
ในระยะยาวการออกแบบเพื่อความยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการทำลายและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุด ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ในเบื้องต้นวัตถุประสงค์ของการออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืน เป็นการสร้างตัวอย่างที่ดี เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมให้เกิดแก่สังคมและวงการสถาปนิกเอง การออกแบบเพื่อความยั่งยืนจะต้องมีการวางเป้าหมายดังนี้
- ใช้อาคารเป็นเสมือนเครื่องมือทางการศึกษาที่แสดงผลถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมที่มีต่อความยืนยาวของเผ่าพันธุ์มนุษย์
- เชื่อมสัมพันธ์มนุษย์กับสภาพแวดล้อมในแง่ของจิตวิญญาณ ความรู้สึก และผลประโยชน์ทางการเยียวยารักษาที่ธรรมชาติมอบไว้ให้
- โปรโมทคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอีกทางหนึ่ง โดยการแทรกตัวอย่างใกล้ชิดกับความเป็นท้องถิ่น ความเป็นภูมิภาค รวมไปถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทรัยากรและสภาพแวดล้อมของโลก
- กระตุ้นให้ชุมชนมีความคิดคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยี่และพลังงานที่เหมาะสม มีการจัดการกับขยะหรือของทิ้งจากอาคารที่ดี รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทำนุถนอมวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่มีความรับผิดชอบและกลมกลืนกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
- สร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของที่ตั้งกับความเป็นท้องถิ่น ภูมิภาค ไปจนถึงความสัมพันธ์ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น
โดยสรุป มาตรฐานการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Wines 2000, p.67) อาจจะตรวจสอบได้จาก
--> อาคารเล็ก
อาคารขนาดใหญ่ย่อมสิ้นเปลืองทรัพยากรในการก่อสร้างและพลังงานในการดำเนินการมากกว่าอาคารเล็ก นอกจากนี้อาคารขนาดใหญ่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ (Micro Climate) มากกว่าอาคารขนาดเล็ก แต่ความต้องการขนาดอาคารที่ใหญ่ขึ้นก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ในบางกรณีอาคารขนาดใหญ่เพียงอาคารเดียวอาจจะสูญเสียทรัพยากรน้อยกว่าอาคารเล็กหลายๆ อาคารในประโยชน์ใช้สอยเดียวกัน
--> ใช้วัสดุหมุนเวียนหรือวัสดุที่ทดแทนได้
การใช้วัสดุหมุนเวียนเป็นการลดการเสาะหาหรือใช้ทรัพยากรใหม่ หรือในทำนองเดียวกันการใช้วัสดุที่ทดแทนได้จะลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม
--> ใช้วัสดุที่สิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตต่ำ
วัตถุประสงค์ของใช้วัสดุที่ใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในการผลิตต่ำเป็นการให้ความสนใจต่อวงจรการใช้พลังงานของแต่ละวัสดุโดยรวมยกตัวอย่างเช่น อาคารก่ออิฐฉาบปูนจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมในแง่ของพลังงานที่ใช้ในการผลิต แต่ในระบบนิเวศน์แล้ว สารเคมีที่ออกมาจากโรงงานผลิตอาจจะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งการใช้พลังงานในการขนส่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึง
--> ใช้ไม้จากแหล่งไม้ทดแทน
ในปัจจุบันนี้ป่าไม้ถูกทำลายเป็นอย่างมากจนเกิดผลกระทบต่อภูมิอากาศของบางส่วนของโลก ไม้แม้ว่าจะถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ปลูกทดแทนได้ ก็ควรจะมีการเลือกจากแหล่งที่มีการเตรียมการสำหรับการตัดและการทดแทนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
--> ระบบเก็บน้ำ
ขณะที่น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก แต่ก็แหล่งกระจายมลภาวะที่สำคัญ ความรับผิดชอบต่อน้ำเป็นความรับผิดของทุกสังคมตั้งแต่เล็กไปหาใหญ่ จากอาคารสู่อาคาร ระบบเก็บน้ำเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ เป็นการขยายความต้องการน้ำในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤติหรือขาดแคลนน้ำ เป็นการลดการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
--> การบำรุงรักษาต่ำ
นี่คือผลประโยชน์ที่อาคารทุกหลังต้องการ เพราะเป็นการลดทุนในการรักษาสภาพอาคารให้คงประสิทธิภาพได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน การบำรุงรักษาที่ต่ำเป็นประพลังงานที่ต้องใช้ในงานนั้นๆ ด้วย
--> ใช้อาคารหมุนเวียน (Recycling of Buildings)
การสร้างอาคารใหม่ย่อมสิ้นเปลืองและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์มากกว่าการอาคารเดิม ดัดแปลงสำหรับประโยชน์อื่น ทั้งยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมเดิมให้คงอยู่ในชุมชน
--> ลดการใช้สารเคมีที่ทำลายโอโซน
สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างมากคือ สารเคมีที่ไปทำลายโอโซนของโลก การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากกระบวนเริ่มต้นของการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ การหมุนเวียนใช้วัสดุ และการหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่ไม่ทำลายโอโซน
--> อนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติ
การรักษาสภาพที่ดีของพื้นที่เป็นเป้าหมายหลักของการคำนึงถึงระบบนิเวศน์โดยรวม การรักษาต้นไม้ใหญ่ไว้หนึ่งต้นเป็นเสมือนการทำให้คน 4 คนบนพื้นโลกสามารถหายใจได้อย่างสบาย การรักษาสภาพสีเขียวไว้ให้เพียงพอเป็นการลดการรักษาพยาบาลและลดความกดดันภายในจิตใจของมนุษย์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ถือได้ว่าเป็นศัตรูหลักของการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ถ้าเขามีความเข้าใจต่อการรักษาสภาพแวดล้อม ธรรมชาติก็ถูกทำลายน้อยลง
--> ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อนี้รวมไปถึงการหาแหล่งพลังงานอื่นๆ จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานลม เป็นต้น การลดการใช้พลังานโดยการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงภูมิอากาศเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ
--> คำนึงถึงทิศทางของแสงอาทิตย์
แสงอาทิตย์มีบทบาทต่อการออกแบบอาคารมาช้านาน แสงอาทิตย์เป็นกำหนดฤดูหรือความหนาว ร้อนบนพื้นโลก จะเป็นการลดการใช้พลังงานหากมีการออกแบบที่เข้าใจทิศทางของแสงอาทิตย์
--> การเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ( Access to public transportation)
แม้ว่าข้อนี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่การลดการใช้รถส่วนตัว หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นแนวในการประหยัดพลังงานที่สำคัญมาทุกยุคทุกสมัย และเป็นการลดมลภาวะทางอากาศด้วย

4. สรุป
สถาปนิกเป็นอาชีพหนึ่งมีความสัมพันธ์และต้องรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสถาปนิกจะควรเริ่มจากมีความเข้าใจความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมและสถาปัตยกรรมก่อนที่จะลงมือออกแบบงานสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้น งานสถาปัตยกรรมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นในแง่ของมลภาวะ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และอื่นๆ เป้าหมายหลักที่สำคัญและสถาปนิกควรจะยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติวิชาชีพ คือ การยืดอายุของธรรมชาติออกไป หรือการรักษาความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม เพื่อมวลมนุษยชาติจากรุ่นสู่รุ่น

5. อ้างอิง

ENVIRON Design Collaborative, Green Strategies, http://www.cstone.net, Charlottesville, VA., 1999

Vale, Brenda, and Vale, Robert, Towards a Green Architecture, RIBA Publications Ltd., Lon Don, 1991

Wines, James, Green Architecture, TASCHEN, New York, 2000

Zeiher, Laura C., The Ecology of Architecture : A Complete Guide to Creating the Environmentally Conscious Building, Watson-Guptill Publications, New York, 1996

ที่มา : http://arch.kku.ac.th/philosophy/chumnan1.htm


…means improving the quality of human life while living within the carrying of
supporting eco systems.”



การออกแบบสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการที่สอดแทรกตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมenvironmentalเข้าไปในการวางผัง การจัดทำโปรแกรมการออกแบบ การวางแนวนโยบาย การก่อสร้าง หรือการผลิตสินค้า ตัวอย่างการออกแบบที่ชาญฉลาดมักจะคำนึงถึงองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมเสมอ อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมenvironmental movementที่เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้ทำให้แนวคิดนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การออกแบบสิ่งแวดล้อมอาจจำกัดความได้ดังนี้ “เราอาศัยอยู่ในโลกของการออกแบบอยู่ตลอดเวลา การสรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมประจำวันที่เราอาศัยอยู่นี้มักเกี่ยวข้องกับระบบที่สลับซับซ้อนของความหมายทางวัฒนธรรม การสื่อสารด้วยภาพ และการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี และวัสดุเสมอ การออกแบบสิ่งแวดล้อมถือเป็นศาสตร์หนึ่งที่รวมเอาสิ่งแวดล้อมที่ถูก สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของมนุษย์เข้าไว้ด้วยกันและมุ่งเน้นในการบันดาลให้เกิดความเกี่ยวพันทางกายภาพและสังคมที่ดีงามจากพฤติกรรมมนุษย์และกระบวนการทางธรรมชาติ การออกแบบเป็นการค้นหาคำตอบขั้นมูลฐานของมนุษย์ที่ว่า เราควรจะอยู่บนโลกนี้ให้ดีได้อย่างไร อะไรควรเป็นตัวกำหนดการกระทำของเรา? ความมุ่งมั่นที่ยุ่งยากซับซ้อนนี้ต้องอาศัยความรู้ที่เป็นสหวิทยาการ” แม่แบบ:Fact


การออกแบบสิ่งแวดล้อม ในความรู้สึกเดิม คือการพัฒนาสภาพแวดล้อมกายภาพทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพหรือสนองประโยชน์ใช้สอยประจำวัน หรือสรรค์สร้างประสบการณ์เฉพาะ เน้นสิ่งแวดล้อมที่ออกแบบโดยมนุษย์ การออกแบบสิ่งแวดล้อมต้องการผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน หมายรวมถึง สถาปนิก architects นักวิทยาศาสตร์ระบบเสียงacoustical วิศวกร engineers นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมenvironmental scientists ภูมิสถาปนิก landscape architects นักวางผังเมืองurban planning มัณฑนากรinterior designers นักออกแบบระบบแสงlighting designers นักออกแบบนิทรรศการexhibition designers บางกรณีอาจรวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์historic preservation ด้วย และไม่นานมานี้ก็ได้เพิ่มเกี่ยวกับ "การออกแบบเพื่อคนพิการdisability access" อีกด้านหนึ่ง

หากมองให้กว้างขึ้น การออกแบบสิ่งแวดล้อมหมายรวมถึง การออกแบบอุตสาหกรรมindustrial design ของผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมยานยนตร์automobiles เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังลม อุปกรณ์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น


เพิ่มเติมนะครับในส่วนของการออกแบบอาคารประหยัดพลังงงาน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพลังงานตั้งแต่ scale เล็กจนถึง scale ใหญ่อย่างผังเมืองเลยที่เดียว

การออกแบบและอาคารประหยัดพลังงาน

* เจ. บอลด์วินJ. Baldwin
* ทอม เบนเดอร์Tom Bender
* ปีเตอร์ แคลทรอปPeter Calthorpe
* วิลเลียม แมคโดนัฟWilliam McDonough
* วิคเตอร์ ปาปาเนคVictor Papanek
* ซิม ฟาน เดอร์ รินSim Van der Ryn
* เจมส์ ไวนส์James Wines
* เคน หยางKen Yeang ... http://www.trhamzahyeang.com/
* อีสท์เกต เซ็นเตอร์ เมือง ฮาแรร์Eastgate Centre
* พอร์ตคัลลิส เฮาส์Portcullis House
* ค่ายวายเอ็มซีเอนานาชาติ เมืองนิลชี ประเทศอินเดียYMCA International Camp

การใช้พลังงาน (ในอาคารพาณิชย์ อาคารพักอาศัย และทางสังคม)

* อเมอรี เลอวินส์Amory Lovins
* Soft energy path

นิเวศวิทยาเมือง

* ไบโอสเวล (ร่องน้ำปลูกพืช)Bioswale
* การวางแผนสิ่งแวดล้อมEnvironmental planning
* นิเวศวิทยาเมืองUrban ecology
* เมืองแบบใหม่New Urbanism
* หลักการออกแบบเมืองอัจฉริยะPrinciples of Intelligent urbanism

การวางผังการใช้ที่ดินและการวางผังชุมชน

* การป่าไม้Forestry
* การปลูกสวนป่าForest gardening
* คริสโตเฟอร์ อเล็กซานเดอร์Christopher Alexander
* แผงกันเลียงNoise barrier
* Permaculture

การป้องกันอาชญากรรม

* CPTED

นวัตกรรมการบำบัดของเสีย

* จอห์น ทอดด์John Todd

http://www.thaiengineering.com/column/project/shinawat/index.asp ... มหาวิทยาลัยชินวัตร มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต ครับ ผลงานการออกแบบของ ดร. สุนทร บุญญาธิการ

http://www.teenet.chula.ac.th/forum/allmsg.asp?ID=226 ข้อคิดเห็นการออกแบบครับ
http://www.teenet.chula.ac.th/defaultx1.asp ...-Thailand Energy and Environment Network (TEENET)... ;)


Introduction to LEED: เมื่อวงการก่อสร้างของสหรัฐอเมริกาตั้งธงรบสู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

หายไปนานเลยนะครับ ....กลับมาแล้วกับบบทความใหม่ของ คำว่า LEED หรือย่อมาจาก Leadership in Energy and Environmental Design แล้วมันมีหน้าที่ความสำคัญอย่างไรละกับสถาปนิก เกี่ยวกันครับ....ช่วยโลกได้นะครับ และส่งผลดีต่อผู้ใช้อาคารด้วย แต่.........ประเทศไทยละมีการตื่นตัวหรือให้ความสำคัญด้านนี้มากน้อยเพียงไรละครับ ...เท่าที่ทราบ ณ.ตอนนี้ยังไม่มีครับ หน่วยงานที่จะเข้ามาทำตรงนี้อย่างจริงจังและเป็นระบบการจัดการที่ดีครับ ..ถ้าให้ผมคิดน่าจะเกิดความร่วมมือกันได้นะครับ ระหว่างองค์กรต่างๆ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมhttp://www.warehouse.mnre.go.th+สภาสถาปนิก เพื่อการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคารและโลกจะได้น่าอยู่ขึ้นอีกนะครับ หากต้องการจะหาข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.asa.or.th/2008/index.php?q=node/95186
http://www.usgbc.org/DisplayPage.aspx?CategoryID=19
http://en.wikipedia.org/wiki/Leadership_in_Energy_and_Environmental_Design
http://www.worldbuild.com/index.htm
http://www.gotarch.com/projects/nrdc_office/nrdc_office2.html

*******เกล็ดเล็กๆ
*************
อาคารที่ได้รับสิ่งที่เรียกว่า LEED Platinum certificate จากหน่วยงาน US Green Building Council ซึ่งในขณะนี้วงการออกแบบของอเมริกาได้ตื่นตัวเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า LEED rating นี้มาก
ก็ขอพูดถึง LEED นี้ก่อนนะครับ มันย่อมากจาก Leadership in Energy and Environmental Design ซึ่งเป็นอะไรที่คล้ายๆกับมาตรฐานในการออกแบบเพื่อประหยัดพลังงาน และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเขาก็จะแบ่งให้คะแนนอาคารเป็นเกรดคือ
1. Certified เฉยๆ คือ ผ่านมาตรฐานต่ำสุด
2. Silver ดีขึ้นมาหน่อย
3. Gold ดีมาก
4. Platinum ดีสุดๆ
ซึ่งในขณะนี้มีอาคารที่ได้รับ Platinum rating น้อยมากในอเมริกา อาคารที่ได้ไปดูนี้เป็นหลังแรกๆเลยก็ว่าได้ที่ certificate นี้


เกณฑ์ในการให้คะแนนเขาจะแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆดังนี้ครับ
1. การใช้ที่ดิน (Land use) คิดคะแนนตั้งแต่การเลือกที่ตั้งโครงการเลยทีเดียว
2. การใช้น้ำ
3. การใช้พลังงาน
4. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
5. คุณภาพอากาศภายในอาคาร


http://www.archrit.com/smf/index.php?action=printpage;topic=280.0





NATURE BASED :
Research and Projects on Sustainable Design
Faculty of Architecture Kasetsart University
อะไรคือบทบาทของธรรมชาติในสภาพแวดล้อมของมนุษย์
ในปัจจุบันนี้สังคมมีแนวโน้มที่จะแยกสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างสรรค์และแม้กระทั่งตัวมนุษย์เองออกจากสภาพแวดล้อมที่เป็นชนบทและธรรมชาติ การแยก
ตัวออกห่างธรรมชาตินี้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในวงการวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และการวางผัง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยว-
เนื่องกับการพัฒนาและการใช้ที่ดินและทรัพยากร สิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ควรตระหนักในขณะนี้ก็คือแนวทางที่ผ่านมาได้กำหนดระบบความคิดและการให้คุณค่า
อีกทั้งยังจำกัดหนทางในการจัดการกับที่ว่างและการใช้วัสดุของพวกเรา การแบ่งแยกระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างไม่สามารถเป็นไปได้อีกต่อไป
ถ้าหากพวกเรามีความต้องการที่จะก้าวเดินตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะเป็นไปได้หรือไม่ในการที่พัฒนายุทธศาสตร์ใหม่ที่ไม่สรรเสริญการที่มนุษย์ใช้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ที่เรา
จะเรียนรู้จากธรรมชาติและระบบทางธรรมชาติเพื่อที่จะคิดค้นหานวัตกรรมแนวคิดและการออกแบบ ข้อคิดเหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของงานวิจัยของ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประเด็นของธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างได้ถูกตรวจสอบภายใต้หลายสาขาวิชาความรู้ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ยกตัวอย่างประเด็นการตรวจสอบนี้เป็นสิ่งสำคัญในด้านการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม ในที่ๆซึ่งการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองมักมีผลในการลบล้างที่ดินใน
การทำการเกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติ และโดยทั่วไปในกระบวนการพัฒนาที่ดินชุมชนพื้นถิ่นมักถูกทำให้หายไปเช่นกัน นอกจากนี้งานวิจัยในปัจจุบันของ
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และภูมิสถาปัตยกรรม ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แสดงให้เห็นว่าความสำคัญของภูมิปัญญาพื้นถิ่นในประเทศไทยสามารถเป็น
บทเรียนที่มีคุณค่าต่อสังคมร่วมสมัยแห่งปัจจุบัน
คำว่า “สายป่านธรรมชาติ” ได้ถูกใช้เพื่อแสดงถึงความสำคัญของแนวทางใหม่ในการออกแบบเมือง การวางผังสภาพแวดล้อม การออกแบบภูมิทัศน์และ
สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยีอาคาร จุดมุ่งหมายของการบูรณาการความรู้จากหลากหลายสาขาก็เพื่อที่จะสร้างยุทธศาสตร์การออกแบบที่คำนึงถึงสภาพ-
แวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน แนวทางการปฏิบัติและวัฒนธรรมท้องถิ่น และการใส่ใจต่อวัสดุและวิธีการในการก่อสร้าง
What is the role of nature in our human environment?
Today, society tends to separate the built and human environment from the rural and natural environment. This has
certainly been the case in the professions of architecture, landscape and planning, and has led to problems related
to the ways that land resources have been developed and used. It is now important to realize that this
preconception has shaped our value systems and limited our ways of managing space and using materials. The
dichotomy between nature and man-made is no longer valid if we are to progress towards sustainable
development.
Is it possible to develop new strategies that do not privilege the man-made at the expense of nature? Moreover, is
it possible to learn from nature and natural systems in order to produce innovative ideas and designs? This has
been one of the main research objectives at the Faculty of Architecture at Kasetsart University.
The issue of nature in the man-made environment is examined within the various academic disciplines of the
faculty at Kasetsart University. For example, this issue is particularly important in urban and environmental
planning, where urbanization often results in the removal of agricultural and wilderness land in Thailand. Often in
the process of land development, traditional communities are also displaced. Recent research in the landscape
and architectural design divisions at Kasetsart Architecture show that vernacular traditions in Thailand can provide
valuable lessons towards our contemporary society. In addition, the development of environmentally responsible
building materials within the building technology division emphasizes the potential of local resources for
developing a new composite material.
The term 'Nature-Based' is used to express this new approach to urban and environmental planning, landscape
and architectural design, and building technology. By incorporating knowledge obtained across many disciplines,
the aim is to produce design strategies that considers environmental and public health, local practices and culture,
and sensitivity to materials and construction techniques.
สายป่านธรรมชาติ:
งานวิจัยและโครงการบนการออกแบบเพื่อความยั่งยืน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
exhibition: 28 JAN - 5 FEB 2005 location: KASETSART UNIVERSITY BANG KHEN CAMPUS info: 0-2942-8960 www.arch.ku.ac.th
นอกจากนี้การพัฒนาวัสดุที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายใต้สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคารได้มุ่งเน้นศักยภาพของ
ทรัพยากรท้องถิ่นในพัฒนาวัสดุที่มีองค์ประกอบใหม่

http://www.arch.ku.ac.th/news/news_nature-based/info/intro-nature-based.pdf


การพัฒนาแบบยั่งยืน Sustainable Development

.
.

หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน

.
โดยไม่ทำให้ผู้คนในอนาคตเกิดปัญหาในการตอบสนองความต้องการของตนเอง

.
(นิยามของคณะกรรมการโลก ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา

.


World Commission on Environment and Development

.
ในรายงาน Our Common Future 1987 หรือ Brundtland Report)

.


การพัฒนาที่ยั่งยืนรวมความถึง3 ด้าน

.

คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

.

ซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โครงการพัฒนาใด ๆ

.

ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง3 ด้านนี้

.


.

การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอะไรที่ไกลกว่าเพียงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

.

เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคม

.

เพื่อลดการบริโภคทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

.

ลงไปในระดับที่ยังรักษาความสมดุลที่ดี

.

ทำให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลายล้างอย่างที่ผ่านมา

.

และยังทำกันอยู่หลายแห่ง ให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน อยู่ดีกินดี และอยู่เย็นเป็นสุข

อ้างอิง


การพัฒนาแบบยั่งยืน : กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม (metabolism)
และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์


โดย สุทธิดา ศิริบุญหลง
http://environment.exteen.com/20061216/entry-5

Notes on Teaching Design

Notes on Teaching Design--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

W.H.Raymond Yeh, F.A.I.A., Professor and Dean

School of Architecture, University of Hawaii, Honolulu, Hawaii, U.S.A. 96822

แปลและเรียบเรียง โดย ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์



สตูดิโอสำหรับการเรียนรู้ในการออกแบบอาคารเกิดขึ้นที่กรุงปารีสใน Ecole des Beaux Arts เมื่อประมาณกลางทตวรรษ 1800’s ซึ่งเป็นช่วงที่การศึกษาสถาปัตยกรรมเริ่มเป็นรูปร่างครั้งแรก ก่อนหน้านี้สถาปนิกเรียนรู้จากระบบการฝึกฝนจากสถาปนิกที่มีประสบการณ์ นับจากนั้นมาระบบการสอนแบบสตูดิโอจึงได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในกระบวนการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม โดยทั่วไปสตูดิโอเป็นส่วนประกอบสำคัญในหลักสูตรสถาปัตยกรรมหลัก นักศึกษาสถาปัตยกรรมใช้เวลามากกว่าครึ่งของการเรียนไปกับกิจกรรมหรืองานอันเกิดจากวิชาสตูดิโอ การเรียนรู้ในสตูดิโอเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากในกระบวนการศึกษาของพวกเขาก่อนที่จะก้าวออกไปเป็นสถาปนิกต่อไป

การเรียนรู้จากสตูดิโอมีข้อได้เปรียบหลายประการเมื่อเทียบกับการเรียนในชั้นเรียนธรรมดา เป็นหยิบยื่นให้และการเปิดกว้างเพื่อให้นักศึกษามีอิสระในการค้นหาและอธิบายข้อจำกัดของงานของพวกเขา ทั้งนี้สตูดิโอต้องการการเชื่อมประสานของความคิดกับการประยุกต์ใช้ความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน วิธีการเรียนรู้และกระบวนการสอนแบบนี้ถ่ายทอดต่อกันมาโดยมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก

เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง การทำงานมีการเปลี่ยนแปลงและการออกแบบอาคารมีความซับซ้อนกว่าเดิมอย่างมาก เจ้าของอาคารต้องการให้สถาปนิกสนองต่อความจำเป็นของพวกเขามากกว่าแต่ก่อน ความสัมพันธ์ของอาคารกับบริบทมีความยุ่งยากมากขึ้นทั้งในแง่ของที่ตั้ง กายภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม บทบาทของอาชีพสถาปนิกมีความแตกต่างจากแต่ก่อนอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามการสอนระบบสตูดิโอโดยภาพรวมแล้วยังไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลกแห่งการทำงานนักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ เนื้อหาและกระบวนการสอน

การจัดทำ Workshop เป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างโอกาสในการตรวจสอบการสอนสตูดิโอและแลกเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการสอนให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่อไป



What should we teach?

การสอนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่ยากมากและยังไม่มีตำราทางวิชาการใดๆ ที่สามารถใช้เป็นแนวทางได้อย่างเป็นสากล เหตุผลเพราะแก่นของการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นความพยายามทางการรังสรรค์ (Creative Endeavor) ซึ่งต้องใช้ความคิดฝันและความเป็นส่วนตัวที่สูงมาก เป็นการประมวลผลของกระบวนการผสานภายใต้จิตที่ไม่อาจจะมองเห็นได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยากที่จะเข้าใจหรืออธิบายออกมาเป็นถ้อยคำได้

ตามแนวทางแห่งการสอนการออกแบบที่ผ่านมามุ่งเน้นให้รู้จักการจัดการรูปทรง ที่ว่าง สี องค์ประกอบและระเบียบแบบแผน ภายใต้ข้อแม้ของประโยชน์ใช้สอยและเทคโนโลยีของอาคารบนที่ตั้งเฉพาะ จุดที่ถูกเน้นอย่างมากคือการตัดสินทางความงาม (Aesthetics Judgment) ด้วยวิธีแห่งการนึกคิด โดยมีกฎเกณฑ์เฉพาะเป็นตัวช่วย นักศึกษาเรียนรู้โดยการลงมือทำพร้อมกับแนวทางปฏิบัติคร่าวๆ เพื่อนำไปสู่ผลิตผลที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจารณ์ นี้เป็นการผลิตตามกระบวนการที่เกิดขึ้นในสำนักงานสถาปนิกอาชีพที่ผู้สอนส่วนใหญ่แล้วได้ฝึกฝนหรือมีประสบการณ์มา นอกจากนี้โดยธรรมชาติแห่งการแข่งขันในสตูดิโอเป็นเรื่องปกติที่จะละเลยความจำเป็นที่จะต้องเน้นที่การเรียนรู้แทนที่จะเป็นผลผลิตสุดท้ายเป็นหลัก การเรียนรู้จากพัฒนาการในการออกแบบและคำแนะนำที่มีคุณค่าจะถูกนำไปใช้ในการทำงานจริงในอนาคตต่อไป

มีหลากหลายนิยามของการออกแบบ คำนิยามที่น่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการสอนอันหนึ่งมาจาก Asimow ผู้ซึ่งหนังสือของเขา “Introduction to Design” ให้คำนิยามของการออกแบบเป็นแนวทางเพื่อคุณค่าอันสูงส่งและความเสี่ยงอันมากมายของผลิตผล มีแนวทางขนานแห่งการประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบทางสถาปัตยกรรม “… การออกแบบเป็นการรับรองกระบวนการแห่งการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์อันเกิดจากความเชื่ออันแฝงไว้ด้วยความไม่แน่นอน มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดสูง

Asimow นิยามการออกแบบเป็นการกระทำมากกว่าที่จะเป็นคำนาม และหมายความถึง กระบวนการแห่งการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แทนที่จะมุ่งเน้นที่ผลสุดท้ายแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งยังหมายถึงความเข้าใจการออกแบบที่มีคุณค่าและการออกแบบที่ดี รวมไปถึงความรับผิดชอบของผู้ออกแบบผ่านกระบวนการผลิตไปสู่ผลสุดท้าย การออกแบบอาคารในปัจจุบันมีการเอาจริงเอาจังสูงในการที่จะคำนึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนอกเหนือไปจากตัวโครงการเองมาผสานเข้าไปด้วยวิถีแห่งการสร้างสรรค์พาไป

ในการเรียนรู้การออกแบบนักศึกษาไม่ควรที่จะรับรู้เพียงคำสอนอันล่องลอยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการผสมผสานของเทคโนโลยีสู่งานออกแบบเท่านั้น นักศึกษาควรจะต้องเรียนรู้ในเรื่อง

ความคิดแบบฉับพลัน (Critical Thinking)

กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving Process)

ความรับผิดชอบต่ออาชีพ (Professional Responsibilities)

การเรียนรู้ชั่วชีวิต (Life-Long Learning)



A. Critical Thinking and Creative Problem Solving
พัฒนาการของการคิดแบบฉับพลันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบอันเป็นกระบวนทางจิต ความสามารถในการตั้งคำถามและการเข้าถึงหัวข้อแห่งการออกแบบอันนำไปสู่การประมวลปัญหาจำเป็นต้องใช้ความคิดที่โปร่งใสและรวดเร็ว การตัดสินใจแบบฉับพลันจะช่วยหลบเลี่ยงการซ้อนทับของกระบวนการหรือการลอกเลียนงานออกแบบที่มีอยู่แล้วโดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริง

ในปัญหาในการออกแบบใดๆ ก็ตาม นักออกแบบควรจะผ่านกระบวนการหลักแห่งการแก้ปัญหาซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอนพื้นฐาน โดยแต่ละขั้นตอนมีวิธีการอีกมากมาย ขั้นตอนดังกล่าวได้แก่

1.การวางวัตถุประสงค์ (Stating Objectives)

2. การกำหนดปัญหา (Defining Problem)

3. การหาแหล่งอ้างอิง (Establishing Reference Base)

4. การสร้างทางเลือก (Formulation of Alternatives)

5. การประเมิน (Evaluation)

6. การเลือกแนวทางแก้ไข (Selection of Solution)

7. การพัฒนาและการเสนอโครงร่าง (Development and Presentation of Proposal)

ขั้นตอนเหล่านี้ไม่สามารถรับประกันว่าผลงานที่ออกมาจะเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ที่สุดแต่ขั้นเหล่านี้จะก่อใก้เกิดผลของการออกแบบที่สอดคล้องสัมพันธ์กับปัญหาเบื้องต้นที่มี มีหลากหลายวิธีและกระบวนการสำหรับแต่ละขั้นตอนซึ่งสามารถใช้ในแต่ละการออกแบบแต่ละชิ้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายและซับซ้อนของแต่ละปัญหา เหล่านี้เป็นขั้นตอนแห่งการแก้ปัญหาซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายโดยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างรวมไปถึงในทางวิศวกรรมทางการทหารเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่รวดเร็วภายใต้การจัดการเวลาที่ดี

นักศึกษาควรจะมีความหลากหลายในกระบวนการแก้ปัญหาพื้นฐานอันจะส่งผลต่อความมั่นใจในการทำงานของพวกเขาต่อไป



B. Environmental and Community Issues

สถาปัตยกรรมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต การทำความเข้าใจกับผลกระทบในมุมกว้างของอาคารที่เราออกแบบต่อสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่เป็นพื้นฐานของความรับผิดชอบที่ต้องมี

สถาปัตยกรรมเป็นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อความต้องการทางกายภาพของเจ้าของอาคาร ผู้ใช้อาคารและประชาชนทั่วไปที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พื้นฐานเหล่านี้แยกสถาปัตยกรรมออกจากศิลปะในรูปแบบอื่นและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจกระบวนการแห่งการออกแบบสถาปัตยกรรม ความรับผิดชอบต่องานออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องของบุคคล ชุมชน และสังคมในวงกว้างออกไป สถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบของศิลปะเพื่อสังคมที่ส่งผลกระทบโยตรงต่อผู้คน การให้ผลแห่งการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจำเป็นต้องมีความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์และคุณค่าแห่งสังคมประกอบกันไป

เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม้ได้สำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรมที่จะต้องเรียนรู้ที่จะคำนึงและรับผิดชอบต่อสังคมในทุกๆ การรังสรรค์งานออกแบบ

C. Building Knowledge and Application

นักศึกษาสถาปัตยกรรมจะต้องมีความกระตือรื้อล้นที่จะเพิ่มเติมความรู้พื้นฐานของการทำงานอันจะนำไปสู่กระบวนการออกแบบ ความรู้เหล่านี้รวมไปถึงวัสดุสำหรับการก่อสร้าง ระบบผนัง โครงสร้าง เครื่องกล และระบบไฟฟ้าในอาคาร

นักศึกษาจะต้องเรียนรู้การผสมผสานบูรณาการองค์ประกอบของระบบต่างๆ ในอาคารที่จำเป็นเพื่อไปสู่การออกแบบที่ดี

D. Technical and Profesional Skills

ในการฝึกการทำงานในอาชีพสถาปนิกนักศึกษาจะต้องเรียนรู้การสื่อแนวความคิดในการออกแบบออกไปโดยผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการอธิบายแบบผ่านการพูด การเขียน การวาด การทำหุ่นจำลองด้วยมือหรือด้วยคอมพิวเตอร์

พัฒนาการทางความสามารถของนักศึกษาควรจะเป็นหนึ่งที่อยู่ในกระบวนการสอนสตูดิโอ

E. Understand Continuity in Design

การออกแบบทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการที่มีมาแต่อดีต โดยการออกแบบหาใช่กระบวนการประดิษฐ์ที่แยกตัวออกไปอย่างโดดเดี่ยวไม่ การเรียนเพื่อให้เห็นและการเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นเป็นพื้นฐานของการการเรียนรู้แห่งการออกแบบทุกแขนง ประสบการณ์ส่วนตัวและพื้นฐานทางวัฒนธรรมย่อมส่งผลต่อการออกแบบของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น อาคารของ Louis Kahn มีส่วนอิทธิพลของโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เขาคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ เป็นต้น

การคำนึงถึงพื้นฐานทั้งที่แฝงอยู่อย่างไม่รู้ตัวหรือรู้ตัวของแต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ต่อการสร้างสรรค์ของแต่ละคนและช่วยสร้างจิตใต้สำนึกแห่งการเป็นนักออกแบบ การเรียนรู้สภาพแวดล้อมที่มองเห็นได้และความสัมพันธ์ต่างๆ เป็นขั้นตอนแรกๆ ในการฝึกฝนนักออกแบบ การออกแบบไม่สามารถเรียนรู้จากหนังสือหากแต่มาจากการเห็นและประสบการณ์ตรงกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ การเห็นอาคารต่างๆ และการเข้าไปสัมผัสผลกระทบต่อผู้คนควรจะผสานเข้ากับกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับการออกแบบ

การสร้างให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นและต้องการที่จะเรียนรู้ควรจะเป็นเป้าหมายของผู้สอนการออกแบบทุกคน

F. The Creative and Innovative Role of an Architect

ท้ายที่สุดการออกแบบทางสถาปัตยกรรมต้องเป็นหนึ่งเดียวกับความต้องการแห่งการสร้างสรรค์นอกเหนือไปจากความคำนึงแห่งการแก้ปัญหาของโครงการ ความปรารถนาที่จะสรรค์สร้างรูปทรงใหม่ๆ การใช้วัสดุและกระบวนการหรือการวางแนวความคิดในการออกแบบที่ก้าวหน้าเป็นคำตอบของนักออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดี เป็นการเสี่ยงที่จะสร้างงานโดยไม่อยู่บนพื้นฐานของความต้องการแต่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างการเหนือกฏเกณฑ์และตามกฏเกณฑ์ ความรับผิดชอบต่องานสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้นอยู่ที่นักออกแบบแต่ละท่าน นี้ละที่ทำให้การออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่ท้าทายและมีความสนุกในตัวเอง

การสอนสตูดิโอออกแบบต้องพร่ำสอนให้นักศึกษามีความปรารถนาที่จะทดลองและคงไว้ซึ่งความสร้างสรรค์แห่งการออกแบบ

การรวมองค์ประกอบอันซับซ้อนเหล่านี้ไว้ในการศึกษาสถาปัตยกรรมจำเป็นมีหลักสูตรที่กว้างพอซึ่งต้องมีการวางแผนที่ดี มีการเรียงลำดับขั้นตอน และมีการประสานอย่างระมัดระวัง หลักสูตรการออกแบบที่มีประสิทธิภาพจะต้องสามารถค่อนๆ พัฒนาและมีความต่อเนื่องของการสนองต่อความต้องการของนักศึกษาและเปิดโลกของนักศึกษาออกสู่โลกกว้าง การสร้างพื้นฐานแห่งการสร้างสรรค์ที่มีในสตูดิโอควรจะมีในการเรียนอื่นๆ ด้วย โปรแกรมการเรียนควรจะมีความเนื่องในการแสวงหาการทดลองและการเชื่อมถ่ายกับทฤษฎีใหม่ๆในการเรียนรู้และวิธีการสอน ยกตัวอย่างเช่น การสอนการออกแบบสามารถที่ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตมาช่วยในการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างไร

จุดอ่อนของพัฒนาการของหลักสูตรสถาปัตยกรรมคือการรวบรวมการตัดสินของผู้สอนซึ่งมีความแตกต่างทางความคิดอันเนื่องมากประสบการณ์ในการทำงานทางการออกแบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันการเรียนสถาปัตยกรรมเป็นการเรียนรู้ที่ต้องพึ่งพากรณีศึกษาที่มีในอดีตและปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่บางครั้งก็จะขาดมุมมองในอนาคตไป ปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะเลวร้ายกว่านั้นคือสถาปัตยกรรมเป็นสาขาวิชาชีพที่มีการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังน้อยมาก ทำให้การค้นหาความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติมในกระบวนการออกแบบหรือการเรียนสตูดิโอมีน้อย



How we teach?

ในการสอนสตูดิโอในปัจจุบันผู้สอนแต่ละท่านควรจะมีความอิสระในการกำหนดกระบวนการในการสอนเอง แต่ละสถาบันต่างก็มีแนวทางและปรัชญาในการสอนที่แตกต่างออกไปซึ่งย่อมส่งผลต่อการสอนสตูดิโอ สตูดิโอโดยทั่วไปมีลักษณะที่พัฒนามาจากการสอนของ Ecole des Beaux Arts อันเป็นการกระบวนการสอนที่มุ่งเป้าไปที่ผลิตผลที่เกิดจากการปฏิบัติและการแข่งขัน และควบคุมโดยผู้วิจารณ์ (Studio Critic) ซึ่งได้รับมอบหมายมา

กระบวนการสอนมีพื้นฐานมาจากการวิจารณ์งานของนักศึกษาอาจจะเป็นกลุ่มหรือเดี่ยวก็ได้ ผู้สอนสตูดิโอซึ่งน่าจะมาจากผู้ปฏิบัติหรือสถาปนิกมากกว่าที่จะมาจากสายการสอนจึงมีเทคนิคการสอนที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการสอนของตนเองนั่นเอง วัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือหน้าที่หลักในการสอนมักจะถูกปล่อยปะละเลยอยู่บ่อยครั้งทำให้การสร้างหลักสูตรให้มีประสิทธิโดยรวมเป็นสิ่งที่ยาก

แม้ว่ากระบวนการสอนสตูดิโอที่มีรากฐานมาจาก Ecole des Beaux ยังคงเป็นแนวทางที่ถูกใช้กันแต่ความหลากหลายในรูปแบบมีอย่างมากขึ้นอยู่กับแนวงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมอยู่ในแต่ละยุคสมัย การออกแบบเป็นสิ่งที่ยากที่จะอธิบายเป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยจิตสำนึกที่อาจจะคำนึงถึง ผลกระทบของสังคม ความจำเป็นแห่งประโยชน์ใช้สอย และหลายๆครั้งที่ขาดพื้นแห่งเหตุและผล บ่อยครั้งที่ผู้สอนออกแบบลืมที่จะเน้นความสัมพันธ์ของการออกแบบกับประเด็นทางสังคมในวงกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาจำเป็นจะต้องสำนึกตลอดเวลา

การทำงานในสตูดิโอตามประเพณีแล้วนักศึกษาจะต้องใช้เวลามากมายและมีความแข็งแรงทางร้างกายพอที่จะอดหลับอดนอนได้หลายๆ วัน นักศึกษาสถาปัตยกรรมมักจะถูกรับรู้ว่าเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ใช้เวลากลางคืนทำงานในสตูดิโอ สภาพแวดล้อมแห่งการแข่งขันกระตุ้นให้นักศึกษาทำงานของตัวเองและหลีกเลี่ยงการร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อเป็นการป้องกันความเฉพาะทางแนวความคิดในการออกแบบของตนเอง

นักศึกษามักจะคิดว่าการประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานมาจากการที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในการเรียนสตูดิโอ อิสระในการค้นหาและสร้างสรรค์บางครั้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากภาวะแห่งการกดดันให้ทำตามคำแนะนำและการทำงานเพื่อการได้เกรดดีๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะที่พบเห็นในการเรียนสตูดิโอออกแบบทั่วโลก และมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากแม้จะผ่านกาลเวลามายาวนาน

อย่างไรก็ตามมีอีกหลายๆ แนวทางในการสอนสตูดิโอ ซึ่งต้องการที่จะสร้างประสิทธิภาพในพื้นฐานความสามรถในการออกแบบให้แก่นักศึกษา เมื่อความต้องการของนักศึกษา สถาปัตยกรรมเปลี่ยนไปกระบวนการสอนนี้จะควรต้องมีการปรับปรุง ทั้งนี้รวมไปถึงข้อหัวต่างๆ ดังนี้

สตูดิโอควรจะเป็นที่สำหรับการแสวงหาทางความคิดโดยปราศจากความกลัวอำนาจอื่นใด

เป็นสิ่งจำเป็นที่สตูดิโอต้องเป็นสถานแห่งการทดลองอันเปิดกว้างและเป็นที่ทดสอบความคิด สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนักศึกษามีการพัฒนาจิตแห่งความอยากรู้และเกิดการตั้งคำถามต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในการออกแบบทั้งหลาย และนำไปสู่การสรุปการตัดสินได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพผู้สอนควรจะวางตัวเป็นเสมือนผู้ร่วมงานและผู้แสวงหาทางความคิดไปพร้อมกัน แทนที่จะเป็นผู้ตัดสินหรือผู้กุมอำนาจซึ่งนักศึกษาต้องเอาใจ เป้าหมายของสตูดิโอควรจะช่วยให้นักศึกษาพัฒนาความคิดเฉพาะตัวที่แน่นอนเพื่อการตัดสินใจในการกระทำด้วยตัวเอง นั่นเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ยากที่สุดสำหรับการสอนสตูดิโอ และนี่ก็คือการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดสำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรม

การทำงานอย่างหนักในสตูดิโอไม่ควรจะก่อให้เกิดความสับสนในกระบวนการรับความรู้ใหม่ๆ

การทำงานหลายๆ ชั่วโมงและทั้งคืนของนักศึกษากับงานออกแบบโครงการเป็นเรื่องปกติสำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรม กิจวัตรดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ดีในการพัฒนาการทำงานและพัฒนาความสามารถทางเทคนิคแต่มักจะไม่สมดุลกับการรับความรู้ใหม่ๆ เข้ามา ผู้สอนการออกแบบควรจะช่วยให้นักศึกษาพัฒนาการจัดการโครงการและการกำหนดระยะเวลาการทำงานอย่างมีเหตุผลและเห็นคุณค่าของเวลาเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันคุณค่าของสตูดิโอส่วนหนึ่งอยู่ที่การเรียนรู้โดยการกระทำ (Learn by Doing) สะสมประสบการณ์ การสอนสตูดิโอควรจะใช้วิธีการสอนอันหลากหลายเพื่อเปิดให้นักศึกษามีความกระหายที่จะดูดซับความรู้ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบต่อไป

การออกแบบโดยปราศจากความเข้าใจอย่างเด่นชัดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของนักออกแบบที่มีต่อความสัมพันธ์อันซับซ้อนของงานอาชีพจะไม่เตรียมนักศึกษาเข้าสู่อาชีพที่ต้องการภาวะผู้นำสูงได้เลย

นักศึกษาเรียนรู้การออกแบบในสตูดิโอซึ่งยังคงเป็นนามธรรมแห่งความสัมพันธ์กับโลกจริงๆ การออกแบบสถาปัตยกรรมต้องรับผิดชอบต่อประเด็นต่างๆ ที่มาเกี่ยวพันกับตัวสถาปัตยกรรมตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับโลก สตูดิโอออกแบบจะทำเป็นกุญแจที่ดีสำหรับการเปิดมุมมองของนักศึกษาไปสู่งานในโครงการจริงซึ่งมีผู้คนเข้ามาใช้งาน โดยการทดลองทำงานที่มีที่ตั้งจริงและอ้างอิงกรณีศึกษาจริงๆ มาประกอบในกระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน

นักศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาการสื่อสารที่ดี การร่วมมือในการทำงานและความสามรถในการเป็นผู้นำ

การออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่มีประสิทธิภาพไม่สามารถที่จะแยกตัวออกจากความเป็นงานสร้างสรรค์ได้ทั้งนี้ควรจะเกิดจากการร่วมมือในการทำงานกับคนอื่น เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรับรู้ว่าสถาปนิกถูกวางให้สวมบทบาทของผู้นำในกระบวนการออกแบบ นักศึกษาที่จะก้าวไปสู่อาชีพนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้การสื่อสารที่ดีและการจัดวางระบบในการทำงานที่ดี ทั้งนี้สามารถเริ่มต้นได้จากประสบการณ์ในการทำโครงการในสตูดิโอ การมีงานโครงการแบบกลุ่มเป็นการสร้างโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้การร่วมมือกับคนอื่นซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับการทำงานในอนาคต

สตูดิโอควรจะเตรียมนักศึกษาสำหรับการทำงานในสายอาชีพในอนาคต

สตูดิโอออกแบบควรจะวางเป้าหมายที่จะสอนให้นักศึกษาพร้อมสำหรับอนาคตการทำงานด้วยการฝึกฝนความเชี่ยวชาญเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการทำงานอาชีพ มีคำวิจารณ์จากสำนักงานออกแบบมากมายบอกว่าผู้ที่จบการศึกษาสถาปัตยกรรมออกไม่ได้ถูกฝึกเพียงพอสำหรับการทำงานในสำนักงาน แม้ว่าคำวิจารณ์นี้ควรจะนำเข้ามาพิจารณาในกระบวนการเรียนการสอน แต่ในความเป็นจริงแล้วกระบวนการเรียนทำได้แค่เพียงการเตรียมบัณฑิตเพื่อเข้าไปเป็นผู้ช่วยอันจะถูกฝึกฝนสู่อาชีพสถาปนิกต่อไป นักศึกษาควรจะมุ่งเน้นในการพัฒนาการคิดและเก็บเกี่ยวเอาสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับชีวิต ไม่ใช่จะคำนึงเฉพาะความเชี่ยวชาญที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้เท่านั้น

ในบทสรุป ประการแรกการสอนสตูดิโอควรจะยึดติดกับหลักการที่ว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นการทำร้าย (Do No Harm) การเรียนรู้ในสตูดิโอควรจะมองไปข้างหน้าและสนับสนุนให้นักศึกษาเปิดความคิดแสวงหาความใหม่นอกเหนือจากปัจจุบัน สตูดิโอควรจะเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการทางการวิจัยที่ผู้วิจารณ์งานออกแบบและนักศึกษาสามารถร่วมมือกับผู้ทำงานจริงเพื่อพัฒนาความคิดและกระบวนการสำหรับการทำงานออกแบบงานจริงในอนาคต การร่วมมือนี้นำไปสู่บทบาทใหม่ของสตูดิโอนอกเหนือไปจากการสอนและการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ต้นฉบับภาษาอังกฤษของบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Workshop on “How to Teach Design Studio”, May 24-26, 2004, Faculty of Architecture, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand 50200

องค์ประกอบของระบบนิเวศน์และสถาปัตยกรรม

ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์
ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, ม.ขอนแก่น
1. บทนำ

สถาปัตยกรรมเกิดขึ้นมาเพื่อสร้างที่คุ้มกำบังกาย (Shelter) เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นเพราะผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม มนุษย์ต้องความอบอุ่นในหน้าหนาว ต้องความเย็นสบายในหน้าร้อน และต้องการสิ่งปกป้องคุ้มกันจากน้ำฝนและอื่นๆ สถาปัตยกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการทางประโยชน์ที่มากขึ้น แต่ความเข้าใจในธรรมชาติยังคงเป็นสิ่งที่ต้องมี เพื่อการใช้ชีวิตอย่างสบายภายใต้สถาปัตยกรรมที่ผสานการออกแบบโดยสถาปนิกในโลกที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นพื้นฐานต้นๆ ที่สถาปนิกควรจะเข้าใจ คือ ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการใช้งาน อาศัยของผู้คนในอาคาร ความเข้าใจนี้จะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างแท้จริง ในขณะเดียวพัฒนาการของสถาปัตยกรรมได้ผสมผสานกับเทคโนโลยี่เพื่อให้เกิดความสบายต่อการอยู่อาศัยใช้งาน อาคารที่มีความสอดคล้อง ถ้อยทีถ้อยอาศัยธรรมชาติก็เริ่มมีความห่างเหิน เครื่องจักรกลสามารถสร้างสภาพแวดล้อมขึ้นมาใหม่ภายในกรอบอาคาร โดยไม่จำเป็นต้องสนใจภาวะอากาศภายนอก มนุษย์สามารถสร้างความอบอุ่นภายในอาคารในขณะที่ภายนอกมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หรือสามารถสร้างความเย็นสบายภายในในขณะที่ภายนอกมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เป็นต้น ดูเหมือนว่ามนุษย์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้อย่างสิ้นเชิง จนกระทั่งการค้นพบผลกระทบที่เกิดจากการเสพสุขจากเครื่องจักรกลเหล่าได้หมุนวนมาเป็นผลร้ายต่อมวลมนุษย์เอง การขาดแคลนเชื้อเพลิงในช่วงปี 1970s หรือที่เรียกว่า Energy Crisis เป็นเสมือนการออกคำสั่งให้หันมาคำนึงถึงสภาพแวดล้มมากขึ้น โยเริ่มจากนั้นก็มีการรณรงค์การประหยัดพลังงาน หรือการพยายามใช้พลังงานที่ทดแทนได้ สืบเนื่องมา
ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสถาปัตยกรรมนั้นควรจะทำในสองลักษณะ คือ ผลกระทบที่สภาพแวดล้อมกระทำต่องานสถาปัตยกรรม ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หรือผู้อาศัยอาคารนั่นเอง และอีกประการหนึ่ง คือ การศึกษาผลกระทบที่งานสถาปัตยกรรมกระทำต่อสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม --> สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม --> สิ่งแวดล้อม

สำหรับสถาปนิกแล้ว ความเข้าใจในความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมกับสิ่งแวดล้อมจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ตอบสนองแก่มวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

2. องค์ประกอบของระบบนิเวศน์และสถาปัตยกรรม (The Elements of Ecology and Architecture)

2.1 อากาศ
อากาศที่เราหายใจประกอบไปด้วย ปริมาณออกซิเจนประมาณ 21% ไนโตรเจน 78% คาร์บอนไดออกไซด์, อาร์กอน และอื่นๆ อีกเล็กน้อย เป็นระยะเวลานานกว่าล้านปีแล้วที่ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้อยู่กันอย่างสมดุลเพียงพอที่จะเป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของมนุษย์ แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามองค์ประกอบเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างแน่นอน
Greenhouse Effect
ในปี 1896 นักวิทยาศาสตร์สวีเดนที่ชื่อว่า Svante Arrhenius เป็นคนแรกที่กล่าวว่า การเผาไหม้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในอากาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น (Global warming) หรือ Greenhouse Effect เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ความร้อนถูกเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศโลกมากเกินไป แทนที่จะถูกกระจายออกไปสู่ชั้นอวกาศ อันเป็นผลมาจากสารเคมีต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดการดูดซับความร้อนไว้
ในปี 1973 มีการประมาณว่าความร้อนบนพื้นโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1oC ต่อปี สิ่งที่ก่อให้เกิด Greenhouse Effect คือ คาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนนอกไซด์, มีเทน, Chuloroflurocarbons, และสภาพพื้นผิวของโอโซนโลก กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ เผาไหม้, การทำลายป่า, สารทำความเย็น, CFC, Halon หรืออื่นๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มผิวให้ชั้นบรรยากาศโลกให้เกิด Greenhouse Effect ทั้งสิ้น
โอโซนของโลกถูกทำลาย (Ozone Damage)
สารเคมีที่ถูกใช้ในระบบทำความเย็นโดยบริษัท General Motor ถูกค้นพบโดย Thosmas Midgley นักวิจัยประจำบริษัทในปี 1930 สารเคมีนี้มีชื่อว่า Cholrofluorocarbon (CFC) ซึ่งถูกนำมาใช้แอมโมเนียเพราะมีอันตรายต่อคนงานน้อยกว่าและราคาถูกกว่า สารเคมีนี้ได้ถูกใช้อย่างมากมายทั้งในระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศของอาคาร ระบบป้องกันอัคคีภัย และในวัสดุที่ใช้ทำฉนวนต่างๆ ในช่วงต้นปี 1970 มีการค้นพบว่าสารเคมีนี้มีผลทำลายชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการออกมาตรการลดและป้องกันสารชนิดนี้อย่างเคร่งคัด เช่น ในรัฐโอเรกอน ปี 1975 เป็นต้นมามีการห้ามใช้ Aerosols ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งใน CFC, ในอังกฤษพยายามที่จะเลิกใช้สารเคมีชนิดอย่างสิ้นเชิง ในปี 2000
ในปลายปี 1980 มีการค้นพบรูรั่วของชั้นบรรยากาศที่ Antarctica ส่งผลให้เกิดการเอาจริงเอาจังกับการหามาตรฐานการทำลายชั้น โอโซนของโลกมากขึ้น การที่โอโซนของโลกถูกทำลายจะทำให้รังสี Ultra-violet ของดวงอาทิตย์ สามารถแพร่เข้าสู้พื้นโลกมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก
CFC และสารเคมีที่เกี่ยวข้องได้ทำลายชั้นบรรยากาศไปแล้วกว่า 3% ของชั้นบรรยากาศโลกทั้งหมดในระยะเวลาแค่ 20 ปี นักวิจัยของอเมริกาวิเคราะห์ว่า ถ้าโอโซนถูกทำลายไป 5% ของชั้นบรรยากาศจะส่งผลทำให้เกิดมะเร็งบนผิวหนังเพิ่มขึ้นประมาณ 360,000 ราย
ประมาณ 50% ของปริมาณ CFC ที่มีถูกใช้ในอาคารไม่ว่าจะเป็น ในระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย และฉนวน ดังนั้นสถาปนิกจึงสามารถเป็นตัวแปรสำคัญในการรักษาชั้น โอโซนของโลกโดยการวัสดุหรือระบบที่ปราศจากสารเคมีชนิดนี้ในอาคาร
มลภาวะทางอากาศ (Air Pollution)
สิ่งต่างๆ สามารถก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศได้ หากมีความเบาพอและเล็กพอที่จะกระจายลอยตัวอยู่ในอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซ ของเหลวที่ระเหย หรือ ส่วนของของแข็งต่างๆ
แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของมลภาวะอาจจะจำแนกได้สองประเภท คือ ประเภทที่ไม่ย้ายที่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เหมือง หรืออาคารบ้านเรือนต่าง และประเภทที่เคลื่อนย้ายได้และไม่แน่นอน เช่น ยานพาหนะต่างๆ สเปย์ต่างๆ ควันจากไฟไหม้ป่า เป็นต้น
มลภาวะที่เป็นปัญหาโดยทั่วไป ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตะกั่ว ไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นต่างๆ ส่วนมลภาวะทางอากาศที่มีอันตรายสูงได้แก่ Asbestos สารปรอท Vinnyl Chloride Arsenic เป็นต้น
มลภาวะทางอากาศบางตัวเกิดขึ้นเมื่อมีก๊าซบางอย่างเป็นตัวประกอบ เช่น ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นเมื่อ ไนโตรเจนออกไซด์ จากควันรถ เมื่อมารวมตัวกับไฮโดรคาร์บอน และสารประกอบอื่น ในภาวะที่มีแสงแดดจะทำให้เกิดสารพิษ ไนโตรเจนไดออกไซด์และ Ozone ทำปกกิริยาจะทำให้เกิดหมอก ทำให้มองไม่เห็น ทัศนวิสัยไม่ดี และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คุณภาพอากาศภายในอาคาร
ในอาคารที่มีแนวโน้มในการปิดล้อมสภาวะภายในมากขึ้นเพื่อระบบปรับอากาศ การคำนึงถึงคุณภาพของอากาศจึงเป็นสิ่งที่มีสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่มีการะบายอากาศโดยธรรมชาติอย่างทั่วถึง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งอาคารมีการพึ่งพาเครื่องปรับอากาศอย่างมาก พบว่า ต้องเสียงบประมาณปีละ 60 ล้านล้านดอลลาร์ (60 Billion Dollars) ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากอากาศเสียภายในอาคาร

2.2 น้ำ
ในทางวิทยาศาสตร์ น้ำประกอบไปด้วยส่วนประกอบสองอย่าง คือ ออกซิเจนกับไฮโดรเจน น้ำที่มนุษย์ใช้ทั่วไปนั้นย่อมมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เกลือ เศษโลหะ แบคทีเรีย หรือ อื่นๆ ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้ มีปริมาณที่ต่ำแลไม่เป็นพิษภัยต่อการใช้หรือการดื่มกิน หรือบางกรณีอาจจะมีผลดีต่อการใช้ด้วย ในแต่ละประเทศมีการกำหนดความบริสุทธิ์ของน้ำที่ใช้ต่างกัน โดยอาจจะกำหนดจาก ปริมาณส่วนประกอบอื่นๆ ที่ไม่ถึงระดับที่จะมีอันตราย การวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (PH Level) หรืออื่นๆ
ฝนกรด
ในสภาพอากาศที่เป็นพิษ การหมุนเวียนน้ำในอากาศก็สะสมสารพิษไว้ด้วย อุตสาหกรรม การเกษตร หรือบ้านเรือนต่างๆ ที่มีการใช้น้ำ เป็นการเพิ่มสารต่างๆ ให้น้ำที่จะระเหยไปสู่ระบบนิเวศน์ เมื่อมารวมกับสภาพมลภาวะทางอากาศ ทำให้น้ำในอากาศที่จะกลายเป็นหมอกและฝนมีสภาพความเป็นกรดสูง
ฝนกรดจะทำลายวัสดุบางส่วนของตัวอาคาร จากากรสำรวจพบว่า ซากโบราณสถานของกรุงเอเธนส์ถูกทำลายโดยฝนกรดในรอบ 25 ปี มากกว่าการทำลายโดยสภาพธรรมชาติก่อนหน้านั้น ในเมืองสำคัญอีกหลายเมือง ไม่ว้าจะเป็น ลอนดอน โรม เวนิซ,วอชิงตัน ที่มีอนุสารีย์หรือมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างก็ได้รับความเสียหายจากฝนกรดนี้
ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ ก็อาจจะได้รับคามเสียหายได้เช่นกัน รางรถไฟที่ถูกกัดกร่อนทำให้เสื่อมสภาพเร็วอาจจะเป็นสาเหตุของการอุบัติเหตุ
นอกจากนี้ฝนกรดยังทำให้เกิดภาวะวิกฤติทางธรรมชาติ ปลาในแหล่งธรรมชาติทั้งในยุโรปและอเมริกามีการตายจากสภาพความเป็นกรดของน้ำมากขึ้น 20% ของน้ำในทะเลสาปของสวีเดนมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อการวางไข่ของปลาซาลมอน
การเผาไหม้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในอาคารและนอกอาคาร ล้วนแล้วแต่ให้เกิดมลภาวะในอากาศ ส่วนหนึ่งจะกลับมาในรูปของฝน
การทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ
หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมลภาวะในแม่น้ำต่างๆ คือ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ สถาปนิกมีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนนี้เพราะ วัสดุต่างๆ ที่สถาปนิกใช้ในแต่ละอาคารมีการผลิตผ่านระบบอุตสาหกรรม มากและน้อย การรู้จักเลือกวัสดุหรือใช้วัสดุที่มีกระบวนการผลิตที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์น้อยเป็นหนึ่งในแนวทางที่สถาปนิกสามารถมีส่วนร่วมได้
นอกจากของเสียที่ถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำโดยโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ของเสียจากอาคารบ้านเรือนและอาคารต่างๆ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกระบวนการออกแบบของสถาปนิกและวิศวกร
การใช้น้ำ
น้ำที่ใช้ในอาคารบ้านเรือนทั้งหลายส่วนใหญ่มาจากแม่น้ำ แหล่งน้ำจืดมีเพียง 3% ของน้ำในโลก และ 2 ใน 3 ของน้ำนี้ อยู่ที่ขั้วโลก ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ในอาคารบ้านเรือนทั่วไป แต่ปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ไม่เป็นปัญหาใหญ่ หากแต่น้ำที่จะนำมาใช้ดื่มต่างหากที่อาจจะขาดแคลน และเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตถ้าไม่มีการวางแผนที่ดีพอ แหล่งน้ำธรรมชาติหลายๆ แห่งที่เคยนำมาใช้ดื่มกินได้รับสารเคมีจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม บ้านเรือน ทำให้แหล่งน้ำดื่มหรือแหล่งน้ำจะนำมาใช้ทำน้ำประปาลดลง
การใช้น้ำในอาคารขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของอาคาร สำหรับอาคารที่พักอาศัยและอาคารสำนักงานแล้ว น้ำจะถูกใช้สำหรับ ชักโครก การชำระร่างกาย การซักผ้า การล้าง การดื่มและปรุงอาหาร การรดน้ำต้นไม้ ล้างรถ และสูญเสียน้ำในกรณีต่างๆ การประหยัดอาจจะทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการใช้เอาน้ำทิ้งบางอย่างหมุนเวียนมาใช้ในการรดน้ำต้นไม้ หรือในการชักโครก เป็นต้น

2.3 ดิน
เหล็ก กระจก คอนกรีต อลูมิเนียม และพลาสติกต่างๆ เป็นผลิตผลที่ได้มาจากพื้นโลกหรือดินทั้งสิ้น ดินบริเวณเหมืองต่างๆ ซึ่งถูกทำลายทำให้เสียความสมบูรณ์ของดินไป ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ อาจจะมีสารพิษตกค้างจากการทำเหมืองอีกด้วย กระบวนการขุดเอาวัตถุดิบ ขนส่งสู่โรงงาน การแปรรูป ล้วนแต่ต้องใช้พลังงาน และเพิ่มมลภาวะแก่โลก พลังงานที่ใช้ในการได้มาซึ่งวัสดุต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่า Embodied Energy พลังงานส่วนนี้ควรนำมาประกอบการพิจารณาเลือกวัสดุในการก่อสร้างด้วย ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าวัสดุที่ใช้พลังงานในการผลิตน้อยที่สุดก็สร้างมลภาวะให้สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ระยะในการดินทางไปยังที่ก่อสร้างก็เป็นการสูญเสียพลังงานเนื่องจากการขนส่ง ดังนั้นการใช้วัสดุในพื้นที่จะเป็นสิ่งที่ควรจะหันมาให้ความสนใจ วัสดุในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะราคาถูกกว่าวัสดุที่ขนส่งมาจากแดนไกล มีความสอดคล้องกับภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมมากกว่า ทั้งยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย
การเลือกวัสดุให้สอดคล้องกันจากหลากหลายแหล่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อน แต่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 8% ให้กับชั้นบรรยากาศเป็นหนึ่งในสาเหตุของ Global warming นอกจากนี้ยัง Robert Berkebile สถาปนิกอเมริกันยังพบว่า อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่ใช้พลังงานในการผลิตสูงมาก แต่โรงงานผลิตอลูมิเนียมก็มีการนำเอาวัสดุเก่ามาใช้อีกมากที่สุด ดังนั้นขึ้นอยู่กับสถาปนิกว่าจะช่วยประหยัดพลังงานในส่วนนี้อย่างไร การเลือกเอาอลูมิเนียมที่นำกับมาใช้ใหม่จะช่วยลดพลังงานในการผลิตไปได้ถึง 95% และลดมลภาวะได้ถึง 96% เมื่อเทียบกับอลูมิเนียมที่ใหม่
นอกจากปัญหาดินเสียอันเกิดจากการใช้สำหรับทิ้งขยะก็เป็นปัญหาที่เริ่มจะขยายใหญ่ขึ้นหากไม่ได้รับการศึกษาผลดีผลเสียให้แน่นอน รวมทั้งควรมีการวางแผนการใช้ที่ดินให้เป็นระบบ เพราะปริมาณขยะที่จะนำมาฝังกลบเพิ่มขึ้นอย่างมากในแต่ละปี

2.4 ไฟ
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเป็นการใช้พลังงานที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางน้ำ และการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ
เกือบจะทุกๆ กิจกรรมของมนุษย์ต้องการการใช้พลังงาน ชนิดของเชื้อเพลิงอาจจะจำแนกได้สองชนิดใหญ่ๆ คือ ที่ทดแทนได้ (Renewable) และทดแทนไม่ได้ (Finite) เชื้อเพลิงที่สูญเสียไปไม่สามารถทดแทนได้ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น ส่วนที่ทดแทนได้ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานจากการเผาไหม้ไม้ ฟืน เป็นต้น
พลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ มีการใช้มากกว่า 88% ของพลังงานทั้งหมด ในประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ การเผาไหม้เชื้อเพลิงดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะ Greenhouse Effect เพราะในการเผาไหม้เป็นสาเหตุให้เกิด คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ในการเผาไหม้ของน้ำมันและถ่านหินทำให้เกิดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน อันจะทำให้เกิด มลภาวะทางอากาศ และการเผาไหม้นี้ยังส่งผลให้เกิดฝนกรดกลับมาสร้างมลภาวะต่อเนื่องยังพื้นโลกอีกด้วย
แหล่งเชื้อเพลิงต่างๆ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถหมดลงได้ ด้วยปริมาณการใช้ในปัจจุบันนี้ คาดการณ์ว่าน้ำมันจะหมดลงใน 60 ปี ก๊าซธรรมชาติจะหมดใน 120 ปี และถ่านหินจะหมดไปในอีก 1500 ปีข้างหน้า อาคารเป็นหนึ่งในส่วนที่ใช้พลังงานอย่างมากทั้งในการก่อสร้างและการอยู่อาศัย ใช้งาน หากสถาปนิกรู้จักการใช้วัสดุที่ช่วยลดการใช้พลังงานทั้งในการผลิตและการติดตั้ง ออกแบบอาคารให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด รวมไปถึงการพยายามใช้พลังงานที่สามารถทดแทนได้ ย่อมจะเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมากมาย

3. Green, Ecological or Sustainable Architecture

คำเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร? และเป็นอย่างไร?

“Green”, “Ecology”, and “Sustainable” ถูกใช้โดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต่อมาเมื่อสถาปัตยกรรมได้ให้ความสนใจในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คำเหล่านี้จึงถูกนำมารวมกับสถาปัตยกรรม โดยให้ความหมายที่สื่อถึง งานสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมและเป็นสถาปัตยกรรมที่มีออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ สถาปัตยกรรมในแนวความคิดนี้มีเป้าหมายในการออกแบบที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มีผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ความหมายเชิงลึกของคำเหล่านี้เกี่ยวพันไปถึงเรื่องที่สถาปนิกจะทำได้เพื่อการรักษาเยียวยา รวมไปถึงการขยาย สืบต่อ หรือทำให้โลกสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงและคงอยู่เพื่อมนุษยชาติในรุ่นต่อๆ ไป
ในทางสถาปัตยกรรมแล้วมีหลายทางที่จะออกแบบ “สถาปัตยกรรมสีเขียว” (Green Architecture) และรับผิดชอบต่อการเพิ่มขึ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมบนพื้นโลก การออกแบบนี้อาจจะสามารถทำได้โดยที่ยังคงประสิทธิภาพในการใช้งานของอาคาร ยังมีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม และมีค่าใช้จ่ายของการก่อสร้างไม่มาก ทั้งนี้อาจจะสรุปการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมได้เป็น 5 หัวข้อหลักๆ คือ ระบบนิเวศน์ของอาคาร (Building Ecology), ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), วัสดุ (Materials), รูปทรงอาคาร (Building Form), และการออกแบบอาคารโดยรวมที่ดี (Good Design)
Building Ecology
ผลิตภัณฑ์และงานระบบต่างๆ ที่ใช้ในอาคารอาจจะเป็นพิษได้ อาจจะปล่อยสารเคมี และเศษฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นระยะเวลายาวนานหลังจากที่อาคารสร้างเสร็จ สาเหตุนี้สามารถแก้ได้หากสถาปนิกมีความเข้าใจและลดอันตรายของการใช้วัสดุตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ มีการปรับเปลี่ยนและเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีผลข้างเคียง รวมไปถึงระบบระบายอากาศทั้งแบบธรรมชาติและระบบเครื่องจักรกลสามารถออกแบบให้มีการหมุนเวียนเอาอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารมากที่สุดและลดภาวะที่จะทำให้เกิดเชื้อราหรือความอับ เหม็นให้น้อยที่สุด
Energy Efficiency
โดยการออกแบบให้อาคารนำเอาและใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติเป็นลดภาระการผลิตพลังงาน ทั้งยังเป็นรักษาพลังงานไว้ใช้ในยามจำเป็นจริงๆ เช่น ในช่วงที่มีการใช้กระแสไฟสูงในช่วงร้อนจัด เป็นต้น การออกแบบอาจจะเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ การใช้ Thermal Mass ของอาคารเพื่อเก็บหรือระบายความร้อน หรือการออกแบบระบบฉนวนให้เหมาะสมกับการใช้งาน การใช้ระบบควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบทำความเย็นสามารถลดความต้องการในการใช้ไฟฟ้าได้
Materials
วัสดุบางอย่างที่ใช้ในการก่อสร้างส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมของโลกมากน้อยแตกต่างกัน ไม้บางชนิดได้มาจากการตัดไม้ในป่าที่ไม่สามารถปลูกทดแทนได้ วัสดุบางอย่างอาจจะได้มาโดยกระบวนการที่สร้างมลภาวะให้กับพื้นโลก หรือสร้างสารพิษออกมาในขั้นตอนการแปรรูป วัสดุบางอย่างผลิตมาจากแหล่งทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้ และมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนการผลิต สถาปัตยกรรมควรจะคำนึงถูกระบบนิเวศน์ทั้งในระดับทองถิ่นและระดับโลก โดยสถาปนิกควรจะพิจารณาใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และอ่นให้น้อยที่สุด
Building Form
รูปทรงของอาคารมีส่วนรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของที่ดิน ต้นไม้ หรือสภาพอากาศโดยรอบ ในการออกแบบรูปทรงอาคารอาจจะทำให้มีการเอื้อต่อการหมุนเวียนของการวัสดุ ทรัพยากร ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานในอาคาร เพิ่มความน่าอยู่ให้แก่ผู้ใช้ และมีความปลอดภัย การออกแบบสามารถสะท้อนถึงความงามในแง่ของความสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น หรือธรรมชาติโดยรอบ และมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมในวงเล็ก (Micro-Climate)
Good Design
การออกแบบที่ดีต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาหรือผลงานชิ้นนั้นทิ้งอะไรไว้บ้าง อาคารที่คงทนถาวร ง่ายต่อการใช้ คำนึงถึงเอาวัสดุเก่ากลับมาใช้ และสวยงาม มักจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เช่น จะมีความต้องการพลังงานน้อยลง ซ่อมบำรุงน้อย และคุณค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา การออกแบบที่คิดอย่างละเอียดละออ ให้ความสำคัญกับรายละเอียดแต่ละส่วน ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และใช้ระบบจักรกลอันทรงประสิทธิภาพจะเป็นการง่ายกว่าที่จะสนองต่อแนวความคิดของสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ในขณะที่อาคารที่สร้างออกมาอย่างมากมายรวดเร็ว ใช้ของราคาถูกเข้าไว้ ใช้เวลาในการคิดออกแบบสั้นๆ จะก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมตามมามากกว่าอย่างแน่นอน
เป้าหมายในการออกแบบนี้เรียกว่า การออกแบบเพื่อความยั่งยืน หรือการออกแบบเพื่อโลกสีเขียว ถ้าสถาปนิกไม่ได้คำนึงถึงส่วนนี้เลย ก็คงจะทิ้งซากแห่งความเลวร้ายของสภาพแวดล้อมตกทอดไปสู่ลูกหลานในภายภาคหน้า แต่ถ้าสถาปนิกมีจิตสำนึกในส่วนมากขึ้น เราก็จะสามารถชลอและยืดอายุความสวยงามของอากาศบริสุทธิ์ หมู่มวลแมกไม้อันเขียวขจี สภาพแวดล้อมที่ดีนี้ไว้อย่างยาวนาน
ในระยะยาวการออกแบบเพื่อความยั่งยืนมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการทำลายและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุด ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ในเบื้องต้นวัตถุประสงค์ของการออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืน เป็นการสร้างตัวอย่างที่ดี เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมให้เกิดแก่สังคมและวงการสถาปนิกเอง การออกแบบเพื่อความยั่งยืนจะต้องมีการวางเป้าหมายดังนี้
- ใช้อาคารเป็นเสมือนเครื่องมือทางการศึกษาที่แสดงผลถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อมที่มีต่อความยืนยาวของเผ่าพันธุ์มนุษย์
- เชื่อมสัมพันธ์มนุษย์กับสภาพแวดล้อมในแง่ของจิตวิญญาณ ความรู้สึก และผลประโยชน์ทางการเยียวยารักษาที่ธรรมชาติมอบไว้ให้
- โปรโมทคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในอีกทางหนึ่ง โดยการแทรกตัวอย่างใกล้ชิดกับความเป็นท้องถิ่น ความเป็นภูมิภาค รวมไปถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทรัยากรและสภาพแวดล้อมของโลก
- กระตุ้นให้ชุมชนมีความคิดคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยี่และพลังงานที่เหมาะสม มีการจัดการกับขยะหรือของทิ้งจากอาคารที่ดี รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทำนุถนอมวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่มีความรับผิดชอบและกลมกลืนกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
- สร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของที่ตั้งกับความเป็นท้องถิ่น ภูมิภาค ไปจนถึงความสัมพันธ์ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น
โดยสรุป มาตรฐานการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Wines 2000, p.67) อาจจะตรวจสอบได้จาก
--> อาคารเล็ก
อาคารขนาดใหญ่ย่อมสิ้นเปลืองทรัพยากรในการก่อสร้างและพลังงานในการดำเนินการมากกว่าอาคารเล็ก นอกจากนี้อาคารขนาดใหญ่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ (Micro Climate) มากกว่าอาคารขนาดเล็ก แต่ความต้องการขนาดอาคารที่ใหญ่ขึ้นก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ในบางกรณีอาคารขนาดใหญ่เพียงอาคารเดียวอาจจะสูญเสียทรัพยากรน้อยกว่าอาคารเล็กหลายๆ อาคารในประโยชน์ใช้สอยเดียวกัน
--> ใช้วัสดุหมุนเวียนหรือวัสดุที่ทดแทนได้
การใช้วัสดุหมุนเวียนเป็นการลดการเสาะหาหรือใช้ทรัพยากรใหม่ หรือในทำนองเดียวกันการใช้วัสดุที่ทดแทนได้จะลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม
--> ใช้วัสดุที่สิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตต่ำ
วัตถุประสงค์ของใช้วัสดุที่ใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในการผลิตต่ำเป็นการให้ความสนใจต่อวงจรการใช้พลังงานของแต่ละวัสดุโดยรวมยกตัวอย่างเช่น อาคารก่ออิฐฉาบปูนจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมในแง่ของพลังงานที่ใช้ในการผลิต แต่ในระบบนิเวศน์แล้ว สารเคมีที่ออกมาจากโรงงานผลิตอาจจะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งการใช้พลังงานในการขนส่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึง
--> ใช้ไม้จากแหล่งไม้ทดแทน
ในปัจจุบันนี้ป่าไม้ถูกทำลายเป็นอย่างมากจนเกิดผลกระทบต่อภูมิอากาศของบางส่วนของโลก ไม้แม้ว่าจะถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ปลูกทดแทนได้ ก็ควรจะมีการเลือกจากแหล่งที่มีการเตรียมการสำหรับการตัดและการทดแทนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
--> ระบบเก็บน้ำ
ขณะที่น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก แต่ก็แหล่งกระจายมลภาวะที่สำคัญ ความรับผิดชอบต่อน้ำเป็นความรับผิดของทุกสังคมตั้งแต่เล็กไปหาใหญ่ จากอาคารสู่อาคาร ระบบเก็บน้ำเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ เป็นการขยายความต้องการน้ำในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤติหรือขาดแคลนน้ำ เป็นการลดการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
--> การบำรุงรักษาต่ำ
นี่คือผลประโยชน์ที่อาคารทุกหลังต้องการ เพราะเป็นการลดทุนในการรักษาสภาพอาคารให้คงประสิทธิภาพได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน การบำรุงรักษาที่ต่ำเป็นประพลังงานที่ต้องใช้ในงานนั้นๆ ด้วย
--> ใช้อาคารหมุนเวียน (Recycling of Buildings)
การสร้างอาคารใหม่ย่อมสิ้นเปลืองและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์มากกว่าการอาคารเดิม ดัดแปลงสำหรับประโยชน์อื่น ทั้งยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมเดิมให้คงอยู่ในชุมชน
--> ลดการใช้สารเคมีที่ทำลายโอโซน
สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างมากคือ สารเคมีที่ไปทำลายโอโซนของโลก การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากกระบวนเริ่มต้นของการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ การหมุนเวียนใช้วัสดุ และการหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่ไม่ทำลายโอโซน
--> อนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติ
การรักษาสภาพที่ดีของพื้นที่เป็นเป้าหมายหลักของการคำนึงถึงระบบนิเวศน์โดยรวม การรักษาต้นไม้ใหญ่ไว้หนึ่งต้นเป็นเสมือนการทำให้คน 4 คนบนพื้นโลกสามารถหายใจได้อย่างสบาย การรักษาสภาพสีเขียวไว้ให้เพียงพอเป็นการลดการรักษาพยาบาลและลดความกดดันภายในจิตใจของมนุษย์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ถือได้ว่าเป็นศัตรูหลักของการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ถ้าเขามีความเข้าใจต่อการรักษาสภาพแวดล้อม ธรรมชาติก็ถูกทำลายน้อยลง
--> ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อนี้รวมไปถึงการหาแหล่งพลังงานอื่นๆ จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานลม เป็นต้น การลดการใช้พลังานโดยการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงภูมิอากาศเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ
--> คำนึงถึงทิศทางของแสงอาทิตย์
แสงอาทิตย์มีบทบาทต่อการออกแบบอาคารมาช้านาน แสงอาทิตย์เป็นกำหนดฤดูหรือความหนาว ร้อนบนพื้นโลก จะเป็นการลดการใช้พลังงานหากมีการออกแบบที่เข้าใจทิศทางของแสงอาทิตย์
--> การเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ( Access to public transportation)
แม้ว่าข้อนี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่การลดการใช้รถส่วนตัว หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นแนวในการประหยัดพลังงานที่สำคัญมาทุกยุคทุกสมัย และเป็นการลดมลภาวะทางอากาศด้วย

4. สรุป
สถาปนิกเป็นอาชีพหนึ่งมีความสัมพันธ์และต้องรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสถาปนิกจะควรเริ่มจากมีความเข้าใจความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมและสถาปัตยกรรมก่อนที่จะลงมือออกแบบงานสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้น งานสถาปัตยกรรมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นในแง่ของมลภาวะ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และอื่นๆ เป้าหมายหลักที่สำคัญและสถาปนิกควรจะยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติวิชาชีพ คือ การยืดอายุของธรรมชาติออกไป หรือการรักษาความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม เพื่อมวลมนุษยชาติจากรุ่นสู่รุ่น

5. อ้างอิง

ENVIRON Design Collaborative, Green Strategies, http://www.cstone.net, Charlottesville, VA., 1999

Vale, Brenda, and Vale, Robert, Towards a Green Architecture, RIBA Publications Ltd., Lon Don, 1991

Wines, James, Green Architecture, TASCHEN, New York, 2000

Zeiher, Laura C., The Ecology of Architecture : A Complete Guide to Creating the Environmentally Conscious Building, Watson-Guptill Publications, New York, 1996

การออกแบบโรงแรม

การออกแบบโรงแรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักสำคัญของประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของโรงแรมก็
เพื่อการรองรับการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการรอง
รับการประชุมสัมนา หรือการเดินทางเพื่อเจรจาธุรกิจ โรงแรมในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการพัฒนา
ศักยาภาพโดยรวมของประเทศ
มาตรฐานในการออกแบบโรงแรมคงจะต้องพึ่งพามาตรฐานสากล แล้วนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับความ
ต้องการเฉพาะของแต่ละที่ เอกสารฉบับนี้เป็นการยกเอาหนึ่งในแนวความคิดที่พยายามวางมาตรฐานสากลของการ
ออกแบบโรงแรม ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบโดยทั่วไป

1. ที่ตั้ง
ที่ตั้งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักสำหรับความสำเร็จในเชิงธุรกิจ โรงแรมก็เป็นกิจการทางธุรกิจ ที่ไม่ สามารถหลีกเลี่ยง
ปัจจัยนี้ได้ โดยทั่วไปโรงแรมควรจะตั้งอยู่ใกล้กับถนนหลัก สนามบิน ย่านธุรกิจ หรือ แหล่งท่องเที่ยว อื่นๆ ควรเป็นที่
เข้าถึงโดยง่าย มีที่จอดรถเพียงพอ มีวิวที่ดีสู่ภายนอก รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบข้าง2. ประเภท
2.1 โรงแรมกลางเมือง (City Hotel) รวมถึงโรงแรมระดับหรู โรงแรมสำหรับการประชุม (Convention Hotel)
และโรงแรมสำหรับการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่โรงแรมประเภทนี้จะเป็นอาคารทางแนวตั้งหรืออาคารสูง ประกอบด้วย
ประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ หรือกิจกรรมทางธุรกิจอื่นมาประกอบ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิง เป็นต้น
2.2 โรงแรมริมทาง (Motor Hotel) เป็นโรงแรมที่มีเป้าหมายสำหรับลูกค้าที่ใช้รถสำหรับเดินทางไกล เป็น
หลัก ดังนั้นที่ตั้งจึงต้องติดกับถนนหรือสี่แยกหลักๆ ชานเมืองออกไป มีราคาที่ดินที่ถูกกว่า จึงสามารถมีที่จอดรถอัน
สะดวกได้ และสามาถแผ่อาคารไปทางแนวนอนได้ โดยทั่วไปจะมีบริการทั่วไปที่โรงแรมทั่วไปควรจะมี แต่อาจจะมี
ระดับความหรูหราน้อยกว่าโรงแรมกลางเมือง และอาจจะไม่มี Room Service
2.3 โรงแรมสนามบิน (Airport Hotel) จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรงแรมริมทาง แต่มุ่งลูกค้าที่มาทางสนาม
บิน ดังนั้นจึงต้องมีบริการที่สอดคล้องกับกำหนดการบินเป็นหลัก บางทีอาจจะมีศูนย์ประชุมขนาดใหญ่และมาตรฐาน
เนื่องด้วยความได้เปรียบในที่ตั้งซึ่งมีความสะดวกในการเดินทางเป็นทุนอยู่แล้ว
2.4 โรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว (Resort Hotel) ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภูเขา ทะเล
หรือแหล่งน้ำพุร้อน ปกติจะมีบริการประเภท Package มีความสัมพันธ์เทศกาลท่องเที่ยวต่างๆ ร้านอาหารสำหรับโรง
แรมประเภทนี้อาจจะต้องมีเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยวทุกคน ในกรณีไม่มีแหล่งรับประทานอาหารอื่นใกล้เคียง และอาจจะ
ต้องส่วนบริการเสริมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจอื่นๆ เช่น ห้องเล่นเกมส์ บาร์ สระว่ายน้ำนอกอาคาร บริการกีฬาทางทะเล
หรือปีนเขา เป็นต้น
2.5 โมเต็ล (Motel)
2.6 โรงแรมสำหรับการประชุม (Convention Hotel)
2.7 คอนโดมิเนียม (Condominium) บางแห่งอาคารชุดอาจจะมีการจัดการแบ่งให้เช่าในลักษณะโรงแรมในช่วง
ที่เจ้าของห้องชุดไม่ใช้งาน โดยมักจะดำเนินการโดยเจ้าของกิจการหรือเจ้าของอาคารรวม

3. ความสัมพันธ์ของประโยชน์ใช้สอยต่างๆ (Functional Relationship)
โดยหลักใหญ่แล้ว โรงแรมจะต้องแยกส่วนบริการลูกค้าที่มาพักออกจากส่วนบริการโดยเด็ดขาด โดยไม่ควรมีการข้ามไป
มาของประโยชน์ใช้สอยของสองส่วนนี้ (Cross Circulation) มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างส่วน บริการด้านหน้า
(Front of House) และส่วนบริการด้านหลัง (Back of House)
ทั่วไปส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้บริการจากครัว ควรจะอยู่ในระดับเดียวกับครัว แต่หากมีความจำกัดทางการออกแบบให้ยึด
เอาครัวติดกับห้องอาหารหลักของโรงแรมเป็นสำคัญ ส่วนห้องจัดเลี้ยงหรือร้านอาหารอื่นๆ อาจจะบริการ โดยการใช้ลิฟท์
ส่งของ ลิฟท์บริการ หรือบันไดเป็นทางเชื่อม
การจัดการส่วนด้านหลังของงานบริการต่างๆ (Back of House) คนงานและอุปกรณ์บริการต่างๆ จะต้องมีการจัด
วางให้มิดชิด ห่างจากสายตาของลูกค้า 4. พื้นที่ใช้งาน และมาตรฐานการออกแบบ
พื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณต่อห้องพักของโรงแรมประเภทต่างๆ ประเภท
พื้นที่รวม (ตร.ม. ต่อห้อง)

โรงแรมสำหรับการประชุม (Convention Hotel) ซึ่งประกอบด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่ ไนท์คลับ

55-65

โรงแรมกลางเมือง
45-55

โรงแรมริมทาง
35-45

รีสอร์ต
40-55

โรงแรมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
20-30

โรงแรมราคาถูก Hostel
18-20


พื้นที่ใช้งานแต่ละส่วนของโรงแรม

ประเภทการใช้สอย
โรงแรมริมทางขนาด 200 ห้องตร.ม. ต่อห้องพัก
โรงแรมกลางเมืองขนาด 500 ห้องตร.ม. ต่อห้องพัก

1) ที่พักอาศัย

ห้องพัก
24
26.5

ทางเดิน ลิฟท์ บันได
3.2
9.3

พื้นที่บริการ
0.6
0.7

รวมพื้นที่พัก
27.8
36.5

2) พื้นที่สาธารณะและบริการส่วนหน้า (Front of House)

ลอบบี้ การสัญจร ลิฟท์
1.6
1.8

ประชาสัมพันธ์ ต้อนรับ สำนักงาน
0.4
0.5

ธุรการ
0.3
0.4

ห้องอาหาร
1.1
0.6

ร้านกาแฟ
0.6
0.5

บาร์ที่ 1
0.8
0.4

บาร์ที่ 2
0.5
0.3

เลาน์จ
0.5
0.3

ห้องน้ำ
0.4
0.3

ส่วนประชุมสัมนา
1.1
1.3

ส่วนเตรียมการสัมนา
-
0.5

ห้องเก็บเฟอร์นิเจอร์
0.1
0.2

ร้านอาหารส่วนตัว ห้องประชุม
0.4
0.9

ร้านค้า
-
0.2

รวมพื้นที่ Front of House
7.8
8.2

3) ส่วนบริการด้านหลัง (back of House)

ครัวและห้องเก็บอาหาร
3.8
2.5

ห้องเก็บของ
0.9
0.9

ซ่อมบำรุง
0.8
0.4

ซักรีด เก็บผ้า
0.3
0.7

รับประทาน เปลี่ยนชุดพนักงาน
1.0
1.1

สำนักงานทั่วไป
0.3
0.5

ระบบสัญจรบริการ
0.8
0.9

รวมพื้นที่ Back of House
7.9
7.0

รวมทั้งหมด
43.5
51.7


* ไม่รวมพื้นที่สำหรับห้องเครื่องงานระบบ และที่จอดรถ5. รูปแบบการจัดผังพื้น
ห้องพักเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลถึงโครงสร้างอาคารโดยรวม ส่งผลต่อความประหยัดในการลงทุน ดังนั้นรูป
แบบของผังห้องพักจึงเป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการออกแบบรูปทรงโรงแรมอาคาร การจัดวางตำแหน่งทางเดินและ
ห้องพักอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบ Single-Loaded Block, Single-Loaded Block, Square Block,
Y-Shape, หรือวงกลม 6. ความสัมพันธ์ระหว่างห้องพักและส่วนสาธารณะอื่น
ห้องพักสามารถที่จะเชื่อมติดกับส่วนสาธารณะอื่นๆ และทางสัญจรในหลายรูปแบบ โดยหลักใหญ่ๆ อาจจะ มี 3 แบบ คือ
6.1 ห้องพักอยู่เหนือส่วนฐาน (Podium) เหมาะสำหรับโรงแรมที่เป็นอาคารสูง แต่ปัญหา คือ ส่วนบริการจะต้องใช้
ส่วนสัญจรทางตั้งเป็นหลัก และบางส่วนอาจจะต้องใช้ร่วมกับลูกค้า บางกรณีห้องพักอาจจะมีรูปร่างยาวแคบ ตามโครงสร้าง
ของอาคาร
6.2 ห้องพักอยู่ติดกับส่วนบริการสาธารณะอื่น ถือว่าเป็นแบบที่ประหยัด เพราะใช้โครงสร้างง่ายๆ ส่วน บริการต่างๆ
ออกแบบให้สัมพันธ์กับส่วนต่างๆ ตามความเหมาะสม เหมาะสำหรับโรงแรมริมทางหรือโรงแรมที่มีพื้นที่มาก
6.3 แบบผังเปิด (Open Layout) มีลักษณะกระจายตัวของประโยชน์ใช้สอยแผ่ไปตามพื้นที่ อาจจะจัดกลุ่มที่มีความ
สัมพันธ์กันมากไว้ด้วยกัน เหมาะสำหรับ โมเต็ล และรีสอร์ตต่างๆ ซึ่งมีพื้นที่มากพอ7. การสัญจรทางตั้ง
โรงแรมที่มีความสูงมากกว่า 2 ชั้น ควรจะมีลิฟท์บริการ ยกเว้นโรงแรมขนาดเล็ก ทั้งนี้ควรมีลิฟท์สำรองใน ยามฉุกเฉิน
หรือในกรณีลิฟท์อีกตัวอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง จำนวนและความเร็วของลิฟท์ขึ้นอยู่กับความสูงของอา คารและจำนวนห้องพัก
ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมด
ถ้าเป็นไปได้ควรจะวางตำแหน่งของลิฟท์ทุกตัวไว้ด้วยกันในส่วนแกนสัญจรกลางไม่ว่าจะเป็นลิฟท์บริการ หรือลิฟท์สำหรับลูกค้า
โดยแยกทางเข้า เพื่อความประหยัดและ ง่ายในการก่อสร้าง ในโรงแรมระดับหรูอาจจะแยกลิฟท์ลูกค้าออกเป็นสำหรับการขนกระเป๋า
ไว้ต่างหาก เพื่อความสะดวกและไม่เกะกะ 8 .ส่วนบริการสาธารณะ
8.1 ห้องอาหาร
ในโรงแรมขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่จะมีห้องอาหารอย่าง 1 แห่ง ไว้บริการลูกค้า ถ้าเป็นร้านอาหารราคา ถูกหรือขนาดเล็ก
จะเป็นรุปแบบของร้านกาแฟหรือศูนย์อาหาร ในโรงแรมขนาดใหญ่อาจจะมีห้องอาหารมากกว่า 1 แห่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า
จำนวนที่นั่งอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะอ้างอิงกับจำนวนผู้มา ใช้บริการหรือจำนวนห้องพัก
8.2 บาร์
- Cocktail ควรจะตั้งอยู่ในส่วนที่ใช้สำหรับการนั่งรอ อาจจะอยู่ระหว่างลอบบี้ของโรงแรมและร้านอาหาร การบริการอาจจะ
ใช้บริกร ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะเคาว์เตอร์บาร์ต่างๆ
- บาร์หลัก (Main Bar) จะมีบริการเครื่องดื่มพิเศษของแต่ละโรงแรม อาจจะเปิดสู่ส่วนสาธารณธเพื่อรับรอง ผู้ใช้บริการจาก
ภายนอกโดยตรง ปกติจะมีเคาว์เตอร์ยาวพร้อมที่นั่งสูง มีบริการน้ำแข็ง น้ำดื่มต่างๆ และอาจจะรวมไป ถึงอาหารเบาๆ บางชนิด
บาร์อาจจะตั้งอยู่บนหลังคาข้างสระน้ำ ริมหาดทราย หรือติดกับส่วนออกกำลังกาย หรือสโมสรต่างๆ แต่ บาร์ควรจะสามารถเปิดปิด
ได้เมื่อไม่เปิดบริการ อาจจะโดยการปิดส่วนเคาว์เตอร์หรือปิดห้องทั้งห้อง โดยผู้ใช้บริการ อาจจะใช้ส่วนเลาจ์น (Lounge) เมื่อส่วน
บาร์ปิดบริการและในการบริการไม่ควรให้เกิดการตัดผ่านส่วนสาธารณะอื่น ประการสำคัญที่สุด คือ บาร์จะต้องสอดคล้องกับกฏหมาย
เองแต่ละที่
พื้นสำหรับบาร์รวมเคาว์เตอร์
Cocktail Lounge 1.8 –2.0 ตร.ม. ต่อคน
บาร์ทั่วไป (อาจจะยืนและนั่ง Stools) 1.3 – 1.7 ตร.ม. ต่อคน
8.3 เลาน์จ (Lounges)
เป็นที่สำหรับผู้คนใช้เป็นที่รอหรือที่พักผ่อนสบายๆ อาจจะเกี่ยวเนื่องกับลอบบี้หรืออยู่ติดกับทางเดินต่างๆ ก็ได้ ในรีสอร์ตอาจจะ
ต้องมีพื้นที่สำหรับเลาน์จมากกว่าโรงแรมประเภทอื่นๆ บริการเครื่องดื่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ อาจจะเสริมโดยตรงจากครัว
หรือจากเคาว์เตอร์ หรือจากเครื่องหยอดเหรียญ ปกติจะไม่มีเลาน์จพิเศษสำหรับ ส่วนที่พัก
8.4 ห้องพักผ่อน บันเทิง
ห้องสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจอาจจะเป็นห้องเล่นเกมส์ ปิงปองหรืออื่นๆ สำหรับโรงแรมประเภทรีสอร์ต ที่ต้องอยู่เป็นระยะ
เวลาหนึ่งและมีเวลามากอาจจะมีความต้องในส่วนนี้มากกว่าโรงแรมประเภทอื่นๆ เพราะผู้ใช้บริ การไม่มีความรีบร้อนเหมือนโรงแรม
ในเมือง
8.5 Function Room
เป็นห้องเอนกประสงค์สำหรับการประชุมสัมนา จัดเลี้ยง บอลรูม ปาร์ตี้ จัดนิทรรศการ งานแต่งงานหรืออื่นๆ ที่มีจำนวนผู้ใช้งาน
จำนวนมาก การออกแบบสำหรับส่วนนี้มีข้อควรคำนึงหลายประการ เช่น การเข้าถึงระหว่างผู้ใช้งานและบริกรต้องแยกกัน ห้องที่มีขนาด
ใหญ่อาจจะสามารถแบ่งแยกย่อยได้โดยใช้ฉากขนาด ใหญ่และเก็บเสียงได้ดีที่เลื่อนเข้าออกได้โดยไม่เกะกะ ส่วนอุปกรณ์โสตต่างๆ เช่น
ระบบเสียง จอภาพ Projector จะต้องจัดเตรียมสำหรับการใช้งานและด้วยประโยชน์ใช้สอยที่ต้องเปิดโล่งเป็นพื้นที่กว้างๆ ทำให้ส่วน
นี้จะต้องใช้ช่วง เสาที่กว้างมากจึงไม่นิยมออกแบบไว้ใต้ส่วนที่พัก ซึ่งมีช่วงเสาที่แคบกว่า ยกเว้นพื้นที่ในเมืองซึ่งมีราคาที่ดินแพงมาก
พื้นที่ที่ต้องการ
สำหรับการจัดเลี้ยง 1.1-1.3 ตร.ม. ต่อคน
สำหรับส่วนประชุมสัมนา 0.9-1.1 ตร.ม. ต่อคน
สำหรับการฉายภาพยนตร์ คอนเสิร์ต 0.5-0.6 ตร.ม. ต่อคน
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบย่อยอีกหลายอย่าง เช่น
- ส่วนลอบบี้ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1/3 ของส่วนจัดเลี้ยง หรือ 30%
- ห้องเก็บเฟอร์นิเจอร์0.5 ตร.ม. ต่อที่นั่ง ซึ่งควรจะเข้าถึงได้โดยง่ายจากห้องจัดเลี้ยง
- ห้องน้ำ ขึ้นอยู่กับการคำนวณหาจำนวนต่อคน แต่ถ้าใช้เป็นห้องแสดงคอนเสิร์ต ฉายภาพยนตร์อาจจะ ต้องมีจำนวนห้องน้ำที่มากพอ
ตามความต้องการของประโยชน์ ใช้สอยนั้นๆ
- ฉากกั้นห้องควรจะสูงเต็มความสูงของห้อง สามารถลดเสียงระหว่างห้องได้ประมาณ 45-50 dB
- ส่วนนี้อาจจะถูกใช้สำหรับการแสดงงานซึ่งอาจจะมีน้ำหนักมาก เช่นงานแสดงสินค้าบางประเภท จึงควร ต้องคิดโครงสร้างเผื่อสำหรับ
น้ำหนักบรรทุกเหล่านั้นเสมอ
8.6 ห้องประชุมย่อย
ห้องประชุมย่อยเป็นอีกส่วนประกอบเพิ่มที่อาจจะจำเป็นในบางกรณี อาจจะมีหลากหลายขนาด หรือมีจำนวนหลายห้อง สำหรับการ
ประชุมย่อยหรือการแบ่งกลุ่มสัมนา แต่อย่างก็ตามควรจะเชื่อมสัมพันธ์กับส่วน บริการจากครัวหรือส่วนเตรียมอาหาร
8.7 การป้องกันเพลิงไหม้
ทางหนีไฟจะต้องมีให้เห็นได้ง่ายสำหรับส่วนบริการสาธารณะนี้ ระยะไปถึงบันไดหนีไฟ วัสดุกันไฟ จะต้องสอดคล้องกับกฏหมาย
ของแต่ละพื้นที่หรือประเทศ9. Front of House
9.1 ทางเข้า
ลักษณะของการเข้าถึงของรถยนต์จะเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างทางเข้าและลอบบี้โรงแรม ควรจะมีที่สำหรับนั่งรอรถ
ซึ่งอาจจะต้องเป็นลักษณะโซฟาหรือชุดรับแขกที่มีความสบายเหมือนส่วนหนึ่งของลอบบี้ ควรมีส่วนกันแดด กันฝนสำหรับการลงรถยนต์
ก่อนเข้าสู่ลอบบี้ สำหรับประตูทางเข้าจะต้องคำนึงถึงกระเป๋าสัมภาระ
ที่ใหญ่โตของผู้มาใช้บริการ บางโรงแรมอาจจะแยกประตูสำหรับกระเป๋าต่างหากโดยเฉพาะโรงแรมที่หรูหรา
9.2 ส่วนต้อนรับ
ส่วนเคาว์เตอร์ต้อนรับจะต้องใกล้และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายจากส่วนทางเข้า อาจจะเป็นส่วนที่รวมพนักงานต้อนรับ พนักงาน
การเงินและคนเฝ้าประตู แต่ในโรงแรมขนาดใหญ่คนเฝ้าประตูจะเป็นอีกส่วนหนึ่งแยก ต่างหาก ส่วนเคาว์เตอร์นี้จะมีส่วนเก็บกุญแจห้อง
พักที่แยกไว้อย่างเด่นชัด พนักงานสามารถหยิบได้ง่ายไม่สับสน ความสูงของเคาว์เตอร์ควรจะเหมาะสมสำหรับแขกที่ยืน ขณะที่พนักงาน
อาจจะนั่งทำงานบัญชีบางขณะ ส่วนหลัง
ของเคาว์เตอร์ต้อนรับนี้จะมีส่วนติดต่อกับส่วนสำนักงานหลักหรือสำนักงานย่อย ส่วนแคชเชียร์สำหรับโรงแรมขนาด เล็กหรือขนาด
กลางอาจจะรวมอยู่กับเคาว์เตอร์ต้อนรับ แต่ในโรงแรมขนาดใหญ่อาจจะแยกส่วนนี้ออกโดยอาจจะเป็นผนังแยก (Partition) และอาจจะ
มีสำนักงานการเงินอยู่ติดกัน
ปกติความยาวของเคาว์นเตอร์สำหรับขนาดโรงแรมต่างๆ อาจจะมีกำหนดได้คร่าวๆ ดังนี้จำนวนห้องในโรงแรม
ความยาวของเคาว์นเตอร์ (เมตร)

50
3.0

100
4.5

200
7.5

400
10.5


9.3 ลอบบี้
ในส่วนลอบบี้ควรจะมีส่วนบริการต่างๆ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ นาฬิกา โต๊ะแนะนำทั่วไป การท่องเที่ยว หรืออาจจะมี บริษัทนำเที่ยว
สายการบิน บริษัทรถเช่า ร้านค้าเล็กๆ เลาจ์น ที่นั่งพักรอ ส่วนบริการธุรกิจ และห้องน้ำ
9.4 ห้องฝากของ
ในบางโรงแรมโดยเฉพาะโรงแรมขนาดใหญ่อาจจะมีห้องรับฝากของหรือฝากเสื้อโค้ท สำหรับแขกที่มา ใช้บริการที่ลอบบี้ ร้านอาหาร
หรือห้องประชุมต่างๆ ซึ่งเคาว์เตอร์รับของนี้จะต้องมีความสดวกต่อการส่งหรือคืนของ ซึ่งจะมีความยาวอย่างน้อย 1.2 ม. เคาว์เตอร์สำหรับ
ฝากของห้องจัดเลี้ยง สามารถคำนวณคร่าวๆ ได้จาก 1 เมตร ต่อแขก 100 คน

10. ห้องครัวและห้องบริการอื่นๆ
ห้องครัวควรจะออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ 1 ชั้น ถ้าสามารถที่บริการส่วนประกอบต่างๆ ของโรงแรมทั้งหมดได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องแยกส่วน
บางส่วนออกไป ห้องครัวก็ยังควรเชื่อมติดกับห้องอาหารหลัก โดยอาจจะมีห้องเก็บอาหารหรือห้องเตรียมแยกออกไป ส่วนห้องจัดเลี้ยงที่อยู่
อีกชั้นกับครัวอาจจะเชื่อมกันโดยลิฟท์ หรือบันไดหรือลิฟท์ส่งของซึ่ง แยกจากลิฟท์สำหรับแขกโดยเด็ดขาด ส่วนห้องเย็นสำหรับเก็บอาหาร
ควรจะมีทางบริการเชื่อมจากข้างนอกได้ มี พนักงานดูแลโดยตรง
โดยประมาณแล้วพื้นที่ของครัวสามารถคิดคร่าวๆ ได้ดังนี้
ครัวหลักสำหรับห้องอาหาร 14 ตร.ม. x จำนวนแขกที่ต้องบริการ
ครัวสำหรับส่วนจัดเลี้ยง 0.2 ตร.ม. x จำนวนแขกที่ต้องบริการ
ครัวสำหรับคอฟฟี่ชอบ 0.3 ตร.ม. x จำนวนแขกที่ต้องบริการ
ทั้งนี้ครัวอาจจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าหรือน้อยกว่าแล้วที่ความพิเศษของอาหารหรือลักษณะการทำอาหารที่เฉพาะ นอกจากนี้ยังต้องเผื่อพื้น
ที่สำหรับพนักงานอีกประมาณ 50% สำหรับห้องเปลี่ยนชุด ห้องน้ำพนักงาน ห้อง กินข้าว และห้องเก็บของต่างๆ
ข้อควรระวังสำหรับการออกแบบห้องครัว : พื้นจะต้องใช้วัสดุที่กันลื่น มีการระบายที่ดีทั้งพื้นเวลาทำความ สะอาด โดยจะมีมุมลาด
ประมาณ 1:20 วัสดุที่ใช้ควรจะทำความสะอาดง่าย มีการระบายอากาศที่ มีหน้าต่างที่ สามารถเปิดสู่ภายนอกได้ และเพียงพอ ขนาดของ
ห้องอาหารขึ้นอยู่กับประเภทของโรงแรม ที่ตั้ง ความบ่อยในการส่ง ของหรืออาหาร ประเภทของอาหาร ห้องแช่แข็ง (Cold Room)
มีอุณหภูมิประมาณ -20 องศาเซลเซียส ห้องเย็น (Chill Room) มีอุณหภูมิประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส
ห้องเก็บของอื่นๆ เช่น ห้องเก็บเฟอร์นิเจอร์ควรอยู่ใกล้กับห้องซ่อมบำรุง โดยมีพื้นที่ ประมาณ 0.2-0.3 ตร.ม. ต่อห้องพัก
ห้องเก็บเครื่องมือทำความสะอาด ประมาณ 0.2-0.4 ตร.ม. ต่อห้องพัก
ห้องเก็บเครื่องแก้ว เครื่องเงิน ภาชนะอื่นๆ ประมาณ 0.1 ตร.ม. ต่อห้องพัก
ห้องเก็บเครื่องดื่ม 0.2 ตร.ม. ต่อห้องพัก โดยแยกออกเป็นส่วนเก็บเบียร์ เหล้า และไวน์ ไวน์แดงเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 14-16 องศาเซลเซียส
ไวน์ขาวเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส ส่วนนี้ควรอยู่ใกล้กับส่วนส่งของเพื่อ ความง่ายต่อการขน
ห้องขยะ การออกแบบขึ้นอยู่กับระบบเก็บและกำจัดขยะ รถขนขยะจะต้องเข้าถึงโดยสดวก ทำความ สะอาดได้ง่าย
ห้องเก็บผ้าปูเตียงและผ้าอื่น มีขนาดขึ้นอยู่กับประเภทของโรงแรม ปกติจะมีพื้นที่ประมาณ 0.4 ตร.ม.ต่อห้องพัก อาจจะมีขนาดเล็กลง
หากมีระบบวักรีดภายในโรงแรม มีชั้นเก็บความกว้าง 60 ซม. มีพื้นที่สำหรับพับผ้าและซ่อมแซม เย็บปัก ในโรงแรมขนาดมากกว่า 200 ห้อง
ไม่จำเป็นต้องมีห้องเก็บผ้าที่ใหญ่ขึ้น
ห้องซักรีด สำหรับโรงแรมขนาด 200 ห้อง ใช้พื้นที่ประมาณ 140 ตร.ม. ทั้งนี้ไม่รวมส่วนเก็บผ้า ห้องเครื่อง อบไอน้ำ (Stream Boiler)
และห้องพนักงานหรือสำนักงาน สำหรับผ้าที่ไม่ต้องการการีด สามารถลดพื้นที่ลง 40-59 ตร.ม. ควรระบบระบายอากาศที่ดี
ห้องรับส่งของ ควรจะแยกกับส่วนขยะ และส่วนทางเข้าพนักงาน โดยมีการตรวจเช็คของที่เข้าหรือออกอย่าง มีระบบผ่านห้องตรวจรับ
รถส่งของสามารถเข้าถึงโดยสดวก มีความสูงของฟุตบาทรับของที่เหมาะสม รถส่งของ สามารถกลับรถได้ เหลี่ยม มุมของเสาหรือมุมผนังควร
จะมีการหุ้มเพื่อป้องกันการได้รับความเสียหายจากการกระ แทก โดยรถยนต์หรือการขนของ11. ส่วนสำนักงาน
สำหรับโรงแรมขนาดเล็กส่วนสำนักงานอาจจะมีเพียงส่วนที่ติดกับเคาว์เตอร์ต้อนรับ โดยแยกห้องผู้จัดการและห้องหัวหน้าพ่อครัวไว้ต่างหาก
แต่สำหรับโรงแรมขนาดใหญ่จะมีระบบสำนักงานที่ซับซ้อนมากขึ้นดังสามารถแยก ได้ดังนี้
สำนักงานส่วนหน้า อยู่ติดกับเคาว์เตอร์ต้อนรับ ประกอบด้วยผู้จัดการต้อนรับ หัวหน้าฝ่ายแคชเชียร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและ เลขานุการฝ่าย
สำนักงานธุรการทั่วไป อาจจะอยู่ใกล้กับส่วนต้อนรับหรือแยกไว้ต่างหาก ประกอบด้วยผู้จัดการทั่วไป ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เลขานุการฝ่าย
หัวหน้าฝ่ายบัญชี หัวหน้าฝ่ายข้อมูล
สำนักงานส่วนหลัง (Back of House) เป็นสำนักงานส่วนที่ให้บริการต่างๆ เช่น สำนักงานรับของ สำนักงานฝ่ายบุคคล สำนักงานส่วนซ่อมบำรุง
วิศวกรรม สำนักงานฝ่ายอาหารหรือหัวหน้าพ่อครัว (อยู่ในส่วนครัว) สำนักงาน ส่วนทำความสะอาด และห้องฝึกอบรม
ในโรงแรมขนาดใหญ่จะมีที่พักผ่อนหรือที่รับประทานอาหารสำหรับพนักงาน สำหรับพนักงานประมาณ 1 ใน 3 ของพนักงานทั้งหมด พร้อมกับ
ครัวแยกเฉพาะส่วนนี้ พนักงานควรจะสามารถเข้าถึงส่วนนี้ได้โดยไม่ต้องผ่านครัว
สำหรับผู้บริหารโรงแรมอาจจะแยกไว้ต่างหาก ในโรงแรมขนาดเล็ก ผู้บริหารอาจจะใช้ห้องอาหาร และส่วนรับประทานอาหารของพนักงานอาจจะ
ใช้ครัวเดียวกับครัวหลักของโรงแรม ทั้งนี้ต้องมีห้องน้ำสำหรับพนัก งานด้วย
Locker สำหรับพนักงานใช้พื้นที่ประมาณ 0.36 ตร.ม. ต่อคน ไม่รวมพื้นที่สำหรับม้านั่ง ให้ประมาณการว่ามี จำนวนชายและหญิงเท่ากัน ยกเว้น
มีข้อแม้พิเศษในบางโรงแรม อาจจะต้องที่พักผ่อนสำหรับพนักงานที่เข้าเวรหรือไม่ สามารถกลับได้ หรือที่พักสำหรับผู้จัดการ
สำหรับพื้นที่สำหรับงานระบบต่างๆ อาจจะเป็นลักษณะของส่วนซ่อมบำรุง ห้องสำนักงานสำหรับวิศวกรซึ่งควรจะอยู่ใกล้กับห้องเครื่องต่างๆ
ทั้งนี้อาจจะรวมถึงแผนกช่างไม้ เฟอร์นิเจอร์ ช่างทาสี

12. ห้องพักแขก
12.1 ขนาดของห้อง
ในโรงแรมขนาดกลางทั่วมีขนาดห้องพัก ประมาณ 15-17 ตร.ม. ในขณะที่โรงแรมขนาดใหญ่มีขนาดห้อง อาจจะมากถึง 28 ตร.ม. โดยไม่รวม
ส่วนโถงและห้องน้ำ
ขนาดเตียงมาตรฐานอเมริกันสามารถแบ่งได้เป็น Twin : 9.90 x 1.90, Double : 1.37 x 2.03, Queen size : 1.52 x 2.10,
King size : กว้าง 1.83
โรงแรมส่วนใหญ่จะใช้เตียงขนาด Twin และ Double ซึ่งเป็นขนาดที่มีความยืดหยุ่นในการใช้สูง บางห้อง อาจจะมีเตียงแบบพับเก็บได้
หรือเตียงสำรอง หรือเตียงโซฟา (Sofa Bed)
ความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานประมาณ 2.50 ม. (ต่ำสุดประมาณ 2.3 ม.) ในขณะที่ส่วนทางเข้าอาจจะสูงเพียงแค่ 2.00 ม. เพราะต้องเผื่อระยะใต้
ฝ้าสำหรับระบบปรับอากาศ สำหรับปรับอากาศแบบศูนย์กลาง
ประตู และผนังควรจะเป็นวัสดุที่เก็บเสียงได้เป็นอย่างดี โดยการกันเสียงระหว่างห้องกับห้อง หรือห้องกับ ทางเดินจะต้องลดเสียงได้ประมาณ
45-50 dB ขณะที่เสียงจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นการจราจรหรือเสียงจากสนาม บินจะต้องลดลงโดยการใช้กระจกกันเสียงหรืออื่นๆ ประมาณ 40-42 dB
12.2 ห้องน้ำ
ห้องน้ำในห้องพักมักจะประกอบด้วย โถส้วม อ่างล้างหน้า กระจก อ่างอาบน้ำ พร้อมฝักบัว อาจจะมีโถปัสสาวะผู้ชาย ทั้งนี้การวางตำแหน่งแต่ละส่วน
ควรจะคำนึงถึงการวางท่อ การแชร์ช่องท่อกับห้องน้ำของห้องพักที่ติด กัน และมีส่วนที่เปิดเช็คท่อได้ เพื่อการซ่อมบำรุง
ในบางประเทศอาจจะมีข้อกำหนดห้องน้ำสำหรับคนพิการ โดยอาจจะต้องห้องพักที่คนพิการสามารถใช้ได้อย่างน้อยจำนวนหนึ่ง ห้องน้ำสำหรับคน
พิการก็ต้องมีราวจับ มีพื้นที่ที่รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ส่วนอื่นๆ ในห้องน้ำ ควรมีได้แก่ ชั้นวางผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ที่แขวนเสื้อ และอื่นๆ
12.3 ทางเดินในส่วนห้องพักและบันได
ทางเดินไม่ควรจะยาวเกินไป ความกว้างประมาณ 1.20 –2.00 ม. แล้วแต่ชนิดของโรงแรม ส่วนฝ้าเพดาน ของทางเดินในโรงแรมมักจะเป็นที่
สำหรับงานระบบทางวิศวกรรม พื้นถึงเพดานไม่ควรต่ำกว่า 2.25 ม.
ป้ายบอกทางไปแต่ละห้อง หรือทางไปสู่บันไดหนีไฟควรจะชัดเจน มีไฟฉุกเฉิน ควรมีปลั้กไฟไว้เป็นช่วงๆ เพื่อการซ่อมบำรุงหรือการทำความสะอาด
การใช้พรมจะทำให้ลดเสียงในทางเดิน อาจจะมีตู้เครื่องดื่มหรือตู้น้ำแข็ง ในส่วนโถงแต่ละชั้นหรือใกล้ช่องลิฟท์
12.4 การป้องกันเพลิงไหม้
ขึ้นอยู่กับเทศบัญญัติของแต่ละที่ ประตูห้องพักควรจะทนไฟได้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ผนังห้องควรจะทนได้ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ยกเว้นว่าจะมีระบบ
Springer ในทางเดิน ให้เช็คเทศบัญญัติในรายละเอียด
12.5 บริการแต่ละชั้น
จำนวนห้องในแต่ละชั้นอาจจะออกแบบให้สอดคล้องกับความสามารถในการบริการของบริกร 1 คนเป็น หลัก ดดยปกติแล้วบริกร 1 คนจะสามารถ
บริการได้ประมาณ 12-18 ห้อง ห้องพนักงานและส่วนบริการมักจะอยู่ในบริเวณช่องลิฟท์บริการ ควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับรถเข็น และกองผ้าปูหรืออื่นๆ
ควรแยกระหว่างผ้าสกปรกและผ้าสะอาด ในโรงแรมหรู อาจจะมีห้องเตรียมอาหารในแต่ละสำหรับ Room Service มีอุปกรณ์สำหรับเตรียมอาหารเช้า
ตู้เย็น เตาอบ ที่ปิ้งขนมปังหรืออื่นๆ
ช่องส่งผ้าหรือช่องทิ้งขยะเป็นส่วนหนึ่งที่มีการถกเถียงว่าควรมีหรือไม่ ถ้ามีจะต้องสอดคล้องกับส่วนชั้นล่างที่ทิ้งขยะหรือห้องซักผ้า
นอกจากนี้แต่ละชั้นยังต้องมีห้องเก็บของที่เก็บเฟอร์นิเจอร์สำรอง ส่วนประกอบที่ใช้ในการซ่อมแซมภายในห้องพักหรืออื่นๆ และอาจจะมีห้องน้ำพนักงาน
ห้องเก็บของพนักงานในแต่ละชั้นหรือในแต่ละโซนของการบริการ 13. ส่วนวิศวกรรมอาคาร
13.1 ไฟฟ้าสำรอง
ระบบไฟฟ้าสำรองควรจะต้องเตรียมเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ และไฟฉุกเฉินจะต้องใช้ได้เสมอ
13.2 สัญญาณเตือนภัย
อาจจะเป็นระบบกดสัญญาณด้วยมือ หรือระบบ Smoke หรือ Heat Detector ซึ่งสามารถได้ยินโดยทั่วถึง ทั้งตึก สายฉีดน้ำต้องยาวพอที่จะเข้าถึง
ทุกห้องพัก รวมทั้งควรมีเครื่องดับเพลิงตามจุดต่างๆ
13.3 ระบบปรับอากาศ
ระบบรวม (Central System) เป็นระบบที่มีความนิยมในอาคารขนาดใหญ่ แต่ละห้องพักควรจะต้องสา มารถอุณหภูมิตามความพอใจ ส่วนห้องจัด
เลี้ยงและส่วนสาธารณะต่างๆ ควรจะมีการแบ่งโซนที่สามารถเปิด ปิดได้ในเวลาใช้งาน เพื่อความประหยัด ทุกส่วนควรจะสามารถเข้าไปซ่อมแซมได้โดยง่าย
13.4 ระบบระบายอากาศสำหรับห้องน้ำ
ในระบบรวมห้องน้ำจะมีช่องอากาศหมุนเวียนอาจจะโดยใช้พัดลม ดูดอากาศไปสู่ท่อรวม แต่ต้องมีระบบกัน เสียงที่ดีเพื่อไม่ให้เสียงจากห้องน้ำอื่น
ผ่านเข้ามา
13.5 ระบบแสงสว่าง
ไฟฟ้าในหห้องพักจะต้องมีการวางระบบที่ดี มีจุดเปิดปิดหลักที่หัวเตียงครอบคลุมไฟส่วนใหญ่ของห้องได้ ส่วนทางเดินและส่วนสาธารณะอาจจะใช้ไฟ
ในการตกแต่งเพิ่มบรรยากาศโรงแรมตามแต่ประเภทที่แตกต่างกัน ส่วน Main Switch ควรอยู่ในที่ส่วนบริการ ไม่ให้แขกเข้าถึงได้ หนังสืออ้างอิง
Jones, Vincent, Ernst Neufert Architect’s Data: Second (International) English Edition, BSP Professional Books,
Oxford, UK, 1980