นับเนื่องจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอันเป็นที่อยู่อันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ สรรพสิ่งทั้งหลายก็พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของตัวเอง เพื่อการดำรงชีวิตที่เป็นอยู่ให้มีปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามอัตภาพรวมทั้งมนุษย์เราด้วย ตลอดระยะเวลาอันยาวนานมนุษย์ได้วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นลำดับ จนกระทั่งมีอารยธรรมและองค์ความรู้ก้าวหน้าเจริญสูงสุดในปัจจุบัน มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาได้พยายามเปลี่ยนแปลงพัฒนาสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่รอบตัวเพื่อสนองความต้องการให้ความเป็นอยู่สร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จนเกิดงานสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆสร้างสรรค์ให้มีลักษณะงามพร่างพราว เพื่อใช้ประกอบตกแต่งเพิ่มความงามให้งานสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและรายละเอียดภายใน ตามสภาพภูมิอากาศ พฤติกรรมการใช้สอยของเชื้อชาติ คติความเชื่อขนบประเพณี ทัศนะนิยมและองค์ความรู้ท้องถิ่น เป็นเกณฑ์ทั่วไปกำหนดแนวทางสถาปัตยกรรมแต่ละภูมิภาค ผ่านกาลเวลาและยุคสมัยต่างๆ จนในบางยุคสมัยก็ผสมผสานจนเป็นรูปแบบลักษณะทางกายภาพและแนวคิดเดียวกัน
สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ตะวันตก
สถาปัตยกรรมและงานออกแบบภายในของตะวันตกได้รับการพัฒนาขึ้นทั้งด้านลักษณะ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการ จนกลายเป็นศิลปวิทยาที่ต้องศึกษาเล่าเรียนกันมานานปี งานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในหลัง ๆ จึงตกเป็นหน้าที่ของนักออกแบบภายในหรือสถาปนิกภายในผู้มีความสามารถในการออกแบบ ควบคุมดุแลการก่อสร้าง เพราะได้ศึกษาแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปะในยุคสมัยต่างๆ พร้อมกับศึกษาเรื่องลักษณะรูปแบบอันเหมาะสมกับวัสดุที่จะใช้ก่อสร้างอีกด้วย การแสวงหาแนวทางสร้างสรรค์จากการวิเคราะห์ ทำให้สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ของตะวันตกก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ดังจะเห็นได้จากการสร้างอาคารขนาดใหญ่หรือตึกระฟ้าสูงนับร้อยชั้นภายในออกแบบตกแต่งด้วยเทคโนโลยี่ชั้นสูง หรือการสร้างอาคารสถานที่และสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ด้วยวัสดุแปลกใหม่ทั้งหลัง เป็นต้น
สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ในประเทศไทย
สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ของไทย ได้เริ่มต้นพร้อมกับการอพยพและตั้งถิ่นฐานของชุมชนคนไทยจากการซึมซับถ่ายทอดผ่านการแลกเปลี่ยนทางการค้าและวัฒนธรรม และยังสามารถคิดสร้างสรรค์โดยขยายความงามของธรรมชาติให้บังเกิดรูปแบบและสัดส่วนตามรสนิยมหรือตามทัศนะทางความงามของภูมิภาค ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ทางการก่อสร้างจากต่างประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวตะวันตกมารับราชการ เพื่อออกแบบและสร้างพระที่นั่ง อาคารราชการ ตลอดจนที่ประทับพระบรมวงศานุวงศ์ และที่พักของขุนนางและคหบดี ช่างเหล่านี้ได้นำประสบการณ์ของแต่ละคนมาใช้ ทำให้เกิดการผสมผสานสถาปัตยกรรมของไทยและต่างประเทศอย่างมาก ในด้านวัสดุตกแต่งและวัสดุก่อสร้าง ได้มีการใช้โครงเหล็ก หินอ่อนและกระจกที่สั่งจากต่างประเทศด้วย การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ในช่วงนั้นจึงมีข้อจำกัด มิใช่เป็นอาชีพที่ใครๆก็ทำได้เสมอไปเหมือนดังในช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีต แต่งานสถาปัตยกรรมภายในต้องการผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้านในการออกแบบและทักษะเทคนิคในสาขาวิชาชีพต่างๆที่เป็นสากลมากขึ้น เริ่มมีการแยกหน้าที่รับผิดชอบกันระหว่างงานทางด้านสถาปัตยกรรม งานด้านวิศวกรรม งานมัณฑนศิลป์และงานศิลปะในสาชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง เริ่มมีผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาดังกล่าวปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเล้าเจ้าอยู่หัวได้เริ่มมีการบัญญัติคำว่า “สถาปัตยกรรม” โดยพระราชทานให้คำหมายตรงกับคำว่า Architecture ส่วนคำว่า Architect พระราชทานว่า “สถาปก” และต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้คำว่า “สถาปนิกจนถึงปัจจุบัน
ภาพที่ 1 พระที่นั่งอนันตสมาคม
ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้ต้องยกเลิกการจ้างชาวต่างประเทศ และประกอบกับคนไทย ที่ไปศึกษาในต่างประเทศเริ่มกลับมารับราชการ จึงทรงมอบหมายให้คนไทยดูแลการออกแบบควบคุมการก่อสร้างและการปฏิสังขรณ์เอง แต่เนื่องจากคนต่างชาติบางส่วนยังคงอยู่ในประเทศไทยและมีคนไทยซึ่งได้รับการศึกษาจากต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมงาน จึงทำให้สถาปัตยกรรมตะวันตก ยังคงผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยแต่ได้มีการพัฒนารูปแบบอาคาร และวัสดุก่อสร้างให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2479 เริ่มมีพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ควบคุมการก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้ได้ผลทางด้านความมั่นคง แข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัยและการวางผังเมือง นอกจากนี้ยังมีเทศบัญญัตินครกรุงเทพฯ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร แต่ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารประกาศใช้แล้ว วิชาชีพสถาปนิกและนักออกแบบภายในก็ยังไม่ถูกควบคุมตามกฎหมาย จนในปี พ.ศ. 2508 จึงได้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508 ประกาศใช้เพื่อควบคุมการทำงานเฉพาะงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างหลัก จนปีพ.ศ. 2543 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปนิก พ.ศ. 2543 ขึ้นแทน พระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะพัฒนาวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมไปอย่างมีระบบและควบคุมดูแลการประกอบวิชาชีพของสถาปนิก ซึ่งรวมเอาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางสถาปัตยกรรมสาขาต่างๆเข้ามาอยู่ในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมต่างๆ ได้แก่ สาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง(การออกแบบชุมชนเมือง) สาขาสถาปัตยกรรมภูมิสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันเอง
จุดเริ่มต้นการศึกษาวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฎิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทย สามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆ ในงานประติมากรรมด้วย จึงได้ติดต่อกับรัฐบาลอิตาลีขอคัดเลือกนัก ประติมากรที่ชื่อเสียงเพื่อเข้ามาปฎิบัติราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนายคอร์ราโด เฟโรจี (Professor Corrado Ferocil) เป็นชาวนครฟลอเรซ์ ประเทศอิตาลี มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญา โดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้นกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466
ภายหลังจากก่อตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบงานทางด้านศิลปกรรมโดยตรง และแบ่งประเภทงานศิลปกรรมออกเป็น 7 สาขา คือ งานช่างปั้น ช่างเขียน ดุริยางคศาสตร์ นาฎศาสตร์ สุทรพจน์ สภาปัตยกรรม และอักษรศาสตร์ ทำให้กรมศิลปากรมีหน้าที่ดูแลงานต่างๆ ขึ้นโดยชัดเจน หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤต) อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ข้าราชการอยู่ในแผนกจิตรกรรมประติมากรรมและช่างรักกองสถาปัตยกรรมของกรมศิลปากร และคุณพระสาโรช รัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยงค์) สถาปนิกของกรมศิลปากรได้มีดำริร่วมกัน ในการผลิตบุคลากรเพื่อสานต่องานด้านศิลปกรรมของกรมศิลปากร โดยการจัดตั้งโรงเรียนอบรมและสอนวิชาศิลปะให้แก่ข้าราชการและคนไทยอย่างเป็นขั้นตอน ดังนั้นโรงเรียนประณีตศิลปกรรมจึงถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2477
เมื่อโรงเรียนศิลปากรได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2486 ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้ตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทยและโบราณคดีตามลำดับ แต่เนื่องจาก คณะจิตกรรมและ ประติมากรรมในขณะนั้นมีวิชาการตกแต่ง (Decoration) อยู่ในหลักสูตรด้วย และนักศึกษาที่จบการศึกษารุ่นแรก ๆ บางคน ได้ออกไปทำงานทางด้านการตกแต่งภายใน จนประสบความสำเร็จ ในการประกอบอาชีพพอสมควร กอปรกับสังคมไทยในขณะนั้น มีแนวโน้มให้เห็นว่า ต้องการผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาการออกแบบตกแต่งมากขึ้น ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม จึงได้หารือร่วมกับศาสตราจารย์ ม.จ.ยาใจ จิตรพงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.พูนสวาท กฤดากร และ ม.จ.เฉลิมสมัย กฤดากร ซึ่งเป็นข้าราชการในกรมศิลปากรด้วยกัน และกำลังสอนวิชาศิลปการตกแต่งอยู่ในคณะจิตรกรรม จัดทำโครงการจัดตั้งคณะและหลักสูตรคณะมัณฑนศิลป์ขึ้น จนบรรลุผลสำเร็จเป็นคณะวิชาที่ 4 ของมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2499
คณะมัณฑนศิลป์จัดการศึกษาปีแรกในปีการศึกษา 2499 หลักสูตรปีการศึกษา 2499 - 2516 เป็นหลักสูตรสาขาออกแบบตกแต่งภายในสาขาวิชาเดียว โดยพัฒนามาจากหลักสูตร คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มีการศึกษาทางวิจิตรศิลป์ เพื่อให้มีความรู้และทักษะทางศิลปปฏิบัติ แล้วจึงแยกมาศึกษาเฉพาะด้านการออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นประยุกต์ศิลป์ เพื่อสนองความต้องการ ของสังคมไทยที่ยังขาดนักออกแบบตกแต่งภายใน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความเป็นมาเริ่มต้นจาก "โรงเรียนช่าง บ.ส.อ." ในการอำนวยการของบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ยุบเลิกบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา ( บ.ส.อ.) โรงเรียนจึงถูกยุบเลิกไปด้วย แต่ความต้องการสถานที่เรียนต่อสำหรับนักเรียนที่จบหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูงจำนวนมากทำให้เกิด " โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง " ขึ้นเพื่อผลิตช่างไทยที่มีความสามารถปฏิบัติงานก่อสร้างได้อย่างจริงจัง โดยกรมโยธาธิการได้รับคำสั่งให้ดำเนินการเปิดทำการสอน มีแผนกช่างก่อสร้างเพียงแผนกเดียว ต่อมากรมโยธาธิการได้ถูกยุบไปรวมกับกรมโยธาเทศบาล ทำให้โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้างกลับไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีก และได้ปรับปรุงหลักสูตรยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นเทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิค ขึ้นเป็น "วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง " ( College of Design & Construction ) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2506
วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างได้ทำการย้ายมาอยู่ที่ลาดกระบังเมื่อปี พ.ศ. 2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ได้พิจารณามาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรการสอนของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง จึงมีมติ ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างเข้าสมทบในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป โดยขั้นแรกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผลิตนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ และศิลปอุตสาหกรรม เพื่อผลิตช่างเทคนิคหรือผู้ช่วยสถาปนิก ผู้ช่วยมัณฑนากร และผู้ช่วยนักออกแบบ ปีการศึกษา 2517 จึงให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
สมาคมวิชาชีพและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
สภาสถาปนิก
สภาสถาปนิกก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 ประกอบขึ้นด้วย สมาคมวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมที่ควบคุมตามกฏหมาย 4 สาขาคือ สาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรมและสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ควบคุมความประพฤติและดำเนินงานของประกอบวิชาชีพ ฯ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งชาชีพสถาปัตยกรรม รวมทั้งออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม การพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต การรับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม การรับรองความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม การเสนอแนะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดและการเลิกสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการออกข้อบังคับสภาสถาปนิก
สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทยในอดีตคือ “มัณฑนศิลป์สมาคมแห่งประเทศไทย” ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดความดำริของท่านอาจารย์จักร ศิริพานิช อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีคณาจารย์และมัณฑนากรอีกหลายท่านจากหลายสถาบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ทั้งนี้สมาคมได้รับทุนอุดหนุนการก่อตั้งสมาคมฯจากศิษย์เก่าและผู้มีอุปการคุณอีกหลายฝ่าย และได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรกเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยมีท่านอาจารย์มนัส รักใจ ได้รับเลือกให้ดำรงดำแห่นงนายกสมาคมฯเป็นท่านแรก
หลังจากการดำเนินการสมาคมได้ระยะหนึ่ง คณะกรรมการบริหารสมาคมฯจึงได้มีมติให้เสนอความคิดเห็นต่อสมาชิกในการเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย” ใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Thailand Interior Designers’ Association” เพื่อให้มีการดำเนินงานการบริหารงานชัดเจนกับสมาชิกในสาขาวิชาชีพการออกแบบภายในให้ครอบคลุมกับสมาชิกซึ่งมีพื้นฐานการศึกษาจากหลายสถาบัน อันเป็นการดำเนินการของสมาคมในแนวทางเดียวกันกับมาตรฐานสากลต่างประเทศที่มีอยู่ และในชื่อใหม่นี้ทางสมาคมฯได้รับการติดต่อแลกเปลี่ยน ทั้งทางด้านวิชาการและความร่วมมืออื่นๆ จากสมาคมในระดับนานาชาติทั้งในย่านแถบเอเชียและประเทศอื่นๆ
นับถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532-2534
นายเถียร สวัสดิ์รักษา ได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯในสมัยที่ 2 เวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2534-2538 นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ได้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่ 5 ในปี พ.ศ. 2538-2544 นางพันธ์พิไล ใบหยก ได้ดำรงตำแหน่ง ในสมัยที่ 4 และจนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน นายทินกร รุจิณรงค์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯคนปัจจุบัน
ต่อมาทางสมาคมฯได้มีการจัดทำระเบียบ “มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพมัณฑนากร พ.ศ. 2532 ขึ้นเพื่อถือปฏิบัติเป็นระเบียบทางวินัยตามมาตรฐานวิชาชีพกับมวลสมาชิก ปัจจุบันสมาชิกประกอบด้วย มัณฑนากร สถาปนิก นักออกแบบในสาขาอื่นๆ นักวิชาการ ฯลฯ ซึ่งมีพื้นฐานทางการศึกษาจากสถาบันต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้นกว่า 2,000 คน ในปลายปี พ.ศ. 2548 ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการผ่านมา สมาคมมัณฑนากรฯ ได้พยายามผลักดันวิชาชีพให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับในสังคม ได้มีกิจกรรมที่ก่อประโยชน์ต่อมวลสมาชิกนานานัปการ สมาคมฯได้รับการรับรองและยกย่องจากหน่วยงานและองค์กรในระดับชาติและระดับนานาชาติ ในฐานะที่เป็นสถาบันของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในมัณฑนศิลป์ของชาติ
สภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายใน และการออกแบบภายในแห่งประเทศไทย
แนวความคิดเรื่องการจัดตั้งสภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายใน และการออกแบบภายในแห่งประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 สืบเนื่องจากการประชุมสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบภายในของที่ประชุมสภาคณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ในวันที่ 29 มกราคม 2544 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารหรือตัวแทนของสาขาวิชาฯจากทุกสถาบันมีโอกาสพบปะสังสรรค์และประชุมปรึกษาหารือในเรื่องต่างๆทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ ในที่สุดที่ประชุมฯ ได้ตกลงก่อตั้งสภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบภายในแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีตัวแทนซึ่งเป็นผู้บริหารและนักวิชาการจากสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์หรือสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องเพื่อเพื่อก่อตั้งร่วมกับตัวแทนจากทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทยร่วมเป็นสมาชิกในเบื้องต้นที่ประชุมมีมติโดยได้มอบให้ ผศ.พิศประไพ สาระศาลิน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ทำหน้าที่เป็นประธานสภาวิชาการฯคนแรกในปี พ.ศ. 2544-4545 เพื่อเป็นองค์กรกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาควิชาสาขาสถาปัตยกรรมภายใน การออกแบบภายใน และมัณฑนศิลป์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ในที่เกี่ยวกับสาขาวิชาฯ รวมทั้งประสานงานกันเพื่อให้เกิดบทบาท ด้านการพัฒนาด้านวิชาการ การเตรียมปฏิบัติวิชาชีพ การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ตะวันตก
สถาปัตยกรรมและงานออกแบบภายในของตะวันตกได้รับการพัฒนาขึ้นทั้งด้านลักษณะ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการ จนกลายเป็นศิลปวิทยาที่ต้องศึกษาเล่าเรียนกันมานานปี งานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในหลัง ๆ จึงตกเป็นหน้าที่ของนักออกแบบภายในหรือสถาปนิกภายในผู้มีความสามารถในการออกแบบ ควบคุมดุแลการก่อสร้าง เพราะได้ศึกษาแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปะในยุคสมัยต่างๆ พร้อมกับศึกษาเรื่องลักษณะรูปแบบอันเหมาะสมกับวัสดุที่จะใช้ก่อสร้างอีกด้วย การแสวงหาแนวทางสร้างสรรค์จากการวิเคราะห์ ทำให้สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ของตะวันตกก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ดังจะเห็นได้จากการสร้างอาคารขนาดใหญ่หรือตึกระฟ้าสูงนับร้อยชั้นภายในออกแบบตกแต่งด้วยเทคโนโลยี่ชั้นสูง หรือการสร้างอาคารสถานที่และสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ด้วยวัสดุแปลกใหม่ทั้งหลัง เป็นต้น
สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ในประเทศไทย
สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ของไทย ได้เริ่มต้นพร้อมกับการอพยพและตั้งถิ่นฐานของชุมชนคนไทยจากการซึมซับถ่ายทอดผ่านการแลกเปลี่ยนทางการค้าและวัฒนธรรม และยังสามารถคิดสร้างสรรค์โดยขยายความงามของธรรมชาติให้บังเกิดรูปแบบและสัดส่วนตามรสนิยมหรือตามทัศนะทางความงามของภูมิภาค ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ทางการก่อสร้างจากต่างประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวตะวันตกมารับราชการ เพื่อออกแบบและสร้างพระที่นั่ง อาคารราชการ ตลอดจนที่ประทับพระบรมวงศานุวงศ์ และที่พักของขุนนางและคหบดี ช่างเหล่านี้ได้นำประสบการณ์ของแต่ละคนมาใช้ ทำให้เกิดการผสมผสานสถาปัตยกรรมของไทยและต่างประเทศอย่างมาก ในด้านวัสดุตกแต่งและวัสดุก่อสร้าง ได้มีการใช้โครงเหล็ก หินอ่อนและกระจกที่สั่งจากต่างประเทศด้วย การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ในช่วงนั้นจึงมีข้อจำกัด มิใช่เป็นอาชีพที่ใครๆก็ทำได้เสมอไปเหมือนดังในช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีต แต่งานสถาปัตยกรรมภายในต้องการผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้านในการออกแบบและทักษะเทคนิคในสาขาวิชาชีพต่างๆที่เป็นสากลมากขึ้น เริ่มมีการแยกหน้าที่รับผิดชอบกันระหว่างงานทางด้านสถาปัตยกรรม งานด้านวิศวกรรม งานมัณฑนศิลป์และงานศิลปะในสาชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง เริ่มมีผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาดังกล่าวปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเล้าเจ้าอยู่หัวได้เริ่มมีการบัญญัติคำว่า “สถาปัตยกรรม” โดยพระราชทานให้คำหมายตรงกับคำว่า Architecture ส่วนคำว่า Architect พระราชทานว่า “สถาปก” และต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้คำว่า “สถาปนิกจนถึงปัจจุบัน
ภาพที่ 1 พระที่นั่งอนันตสมาคม
ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้ต้องยกเลิกการจ้างชาวต่างประเทศ และประกอบกับคนไทย ที่ไปศึกษาในต่างประเทศเริ่มกลับมารับราชการ จึงทรงมอบหมายให้คนไทยดูแลการออกแบบควบคุมการก่อสร้างและการปฏิสังขรณ์เอง แต่เนื่องจากคนต่างชาติบางส่วนยังคงอยู่ในประเทศไทยและมีคนไทยซึ่งได้รับการศึกษาจากต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมงาน จึงทำให้สถาปัตยกรรมตะวันตก ยังคงผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยแต่ได้มีการพัฒนารูปแบบอาคาร และวัสดุก่อสร้างให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2479 เริ่มมีพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ควบคุมการก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้ได้ผลทางด้านความมั่นคง แข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัยและการวางผังเมือง นอกจากนี้ยังมีเทศบัญญัตินครกรุงเทพฯ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร แต่ถึงแม้จะมีพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารประกาศใช้แล้ว วิชาชีพสถาปนิกและนักออกแบบภายในก็ยังไม่ถูกควบคุมตามกฎหมาย จนในปี พ.ศ. 2508 จึงได้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508 ประกาศใช้เพื่อควบคุมการทำงานเฉพาะงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างหลัก จนปีพ.ศ. 2543 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปนิก พ.ศ. 2543 ขึ้นแทน พระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะพัฒนาวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมไปอย่างมีระบบและควบคุมดูแลการประกอบวิชาชีพของสถาปนิก ซึ่งรวมเอาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางสถาปัตยกรรมสาขาต่างๆเข้ามาอยู่ในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมต่างๆ ได้แก่ สาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง(การออกแบบชุมชนเมือง) สาขาสถาปัตยกรรมภูมิสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันเอง
จุดเริ่มต้นการศึกษาวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฎิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทย สามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆ ในงานประติมากรรมด้วย จึงได้ติดต่อกับรัฐบาลอิตาลีขอคัดเลือกนัก ประติมากรที่ชื่อเสียงเพื่อเข้ามาปฎิบัติราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนายคอร์ราโด เฟโรจี (Professor Corrado Ferocil) เป็นชาวนครฟลอเรซ์ ประเทศอิตาลี มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญา โดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้นกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466
ภายหลังจากก่อตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบงานทางด้านศิลปกรรมโดยตรง และแบ่งประเภทงานศิลปกรรมออกเป็น 7 สาขา คือ งานช่างปั้น ช่างเขียน ดุริยางคศาสตร์ นาฎศาสตร์ สุทรพจน์ สภาปัตยกรรม และอักษรศาสตร์ ทำให้กรมศิลปากรมีหน้าที่ดูแลงานต่างๆ ขึ้นโดยชัดเจน หลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤต) อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ข้าราชการอยู่ในแผนกจิตรกรรมประติมากรรมและช่างรักกองสถาปัตยกรรมของกรมศิลปากร และคุณพระสาโรช รัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยงค์) สถาปนิกของกรมศิลปากรได้มีดำริร่วมกัน ในการผลิตบุคลากรเพื่อสานต่องานด้านศิลปกรรมของกรมศิลปากร โดยการจัดตั้งโรงเรียนอบรมและสอนวิชาศิลปะให้แก่ข้าราชการและคนไทยอย่างเป็นขั้นตอน ดังนั้นโรงเรียนประณีตศิลปกรรมจึงถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2477
เมื่อโรงเรียนศิลปากรได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2486 ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้ตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทยและโบราณคดีตามลำดับ แต่เนื่องจาก คณะจิตกรรมและ ประติมากรรมในขณะนั้นมีวิชาการตกแต่ง (Decoration) อยู่ในหลักสูตรด้วย และนักศึกษาที่จบการศึกษารุ่นแรก ๆ บางคน ได้ออกไปทำงานทางด้านการตกแต่งภายใน จนประสบความสำเร็จ ในการประกอบอาชีพพอสมควร กอปรกับสังคมไทยในขณะนั้น มีแนวโน้มให้เห็นว่า ต้องการผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาการออกแบบตกแต่งมากขึ้น ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม จึงได้หารือร่วมกับศาสตราจารย์ ม.จ.ยาใจ จิตรพงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.พูนสวาท กฤดากร และ ม.จ.เฉลิมสมัย กฤดากร ซึ่งเป็นข้าราชการในกรมศิลปากรด้วยกัน และกำลังสอนวิชาศิลปการตกแต่งอยู่ในคณะจิตรกรรม จัดทำโครงการจัดตั้งคณะและหลักสูตรคณะมัณฑนศิลป์ขึ้น จนบรรลุผลสำเร็จเป็นคณะวิชาที่ 4 ของมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2499
คณะมัณฑนศิลป์จัดการศึกษาปีแรกในปีการศึกษา 2499 หลักสูตรปีการศึกษา 2499 - 2516 เป็นหลักสูตรสาขาออกแบบตกแต่งภายในสาขาวิชาเดียว โดยพัฒนามาจากหลักสูตร คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มีการศึกษาทางวิจิตรศิลป์ เพื่อให้มีความรู้และทักษะทางศิลปปฏิบัติ แล้วจึงแยกมาศึกษาเฉพาะด้านการออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นประยุกต์ศิลป์ เพื่อสนองความต้องการ ของสังคมไทยที่ยังขาดนักออกแบบตกแต่งภายใน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความเป็นมาเริ่มต้นจาก "โรงเรียนช่าง บ.ส.อ." ในการอำนวยการของบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ยุบเลิกบริการส่งเสริมอาชีวศึกษา ( บ.ส.อ.) โรงเรียนจึงถูกยุบเลิกไปด้วย แต่ความต้องการสถานที่เรียนต่อสำหรับนักเรียนที่จบหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูงจำนวนมากทำให้เกิด " โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง " ขึ้นเพื่อผลิตช่างไทยที่มีความสามารถปฏิบัติงานก่อสร้างได้อย่างจริงจัง โดยกรมโยธาธิการได้รับคำสั่งให้ดำเนินการเปิดทำการสอน มีแผนกช่างก่อสร้างเพียงแผนกเดียว ต่อมากรมโยธาธิการได้ถูกยุบไปรวมกับกรมโยธาเทศบาล ทำให้โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้างกลับไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีก และได้ปรับปรุงหลักสูตรยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นเทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิค ขึ้นเป็น "วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง " ( College of Design & Construction ) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2506
วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างได้ทำการย้ายมาอยู่ที่ลาดกระบังเมื่อปี พ.ศ. 2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ได้พิจารณามาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรการสอนของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง จึงมีมติ ให้รับวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างเข้าสมทบในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จัดตั้งเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป โดยขั้นแรกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผลิตนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ และศิลปอุตสาหกรรม เพื่อผลิตช่างเทคนิคหรือผู้ช่วยสถาปนิก ผู้ช่วยมัณฑนากร และผู้ช่วยนักออกแบบ ปีการศึกษา 2517 จึงให้โอนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
สมาคมวิชาชีพและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
สภาสถาปนิก
สภาสถาปนิกก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 ประกอบขึ้นด้วย สมาคมวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมที่ควบคุมตามกฏหมาย 4 สาขาคือ สาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรมและสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ควบคุมความประพฤติและดำเนินงานของประกอบวิชาชีพ ฯ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งชาชีพสถาปัตยกรรม รวมทั้งออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม การพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต การรับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม การรับรองความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม การเสนอแนะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดและการเลิกสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการออกข้อบังคับสภาสถาปนิก
สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทยในอดีตคือ “มัณฑนศิลป์สมาคมแห่งประเทศไทย” ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดความดำริของท่านอาจารย์จักร ศิริพานิช อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีคณาจารย์และมัณฑนากรอีกหลายท่านจากหลายสถาบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ทั้งนี้สมาคมได้รับทุนอุดหนุนการก่อตั้งสมาคมฯจากศิษย์เก่าและผู้มีอุปการคุณอีกหลายฝ่าย และได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรกเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยมีท่านอาจารย์มนัส รักใจ ได้รับเลือกให้ดำรงดำแห่นงนายกสมาคมฯเป็นท่านแรก
หลังจากการดำเนินการสมาคมได้ระยะหนึ่ง คณะกรรมการบริหารสมาคมฯจึงได้มีมติให้เสนอความคิดเห็นต่อสมาชิกในการเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย” ใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Thailand Interior Designers’ Association” เพื่อให้มีการดำเนินงานการบริหารงานชัดเจนกับสมาชิกในสาขาวิชาชีพการออกแบบภายในให้ครอบคลุมกับสมาชิกซึ่งมีพื้นฐานการศึกษาจากหลายสถาบัน อันเป็นการดำเนินการของสมาคมในแนวทางเดียวกันกับมาตรฐานสากลต่างประเทศที่มีอยู่ และในชื่อใหม่นี้ทางสมาคมฯได้รับการติดต่อแลกเปลี่ยน ทั้งทางด้านวิชาการและความร่วมมืออื่นๆ จากสมาคมในระดับนานาชาติทั้งในย่านแถบเอเชียและประเทศอื่นๆ
นับถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532-2534
นายเถียร สวัสดิ์รักษา ได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯในสมัยที่ 2 เวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2534-2538 นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ได้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่ 5 ในปี พ.ศ. 2538-2544 นางพันธ์พิไล ใบหยก ได้ดำรงตำแหน่ง ในสมัยที่ 4 และจนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 ถึงปัจจุบัน นายทินกร รุจิณรงค์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯคนปัจจุบัน
ต่อมาทางสมาคมฯได้มีการจัดทำระเบียบ “มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพมัณฑนากร พ.ศ. 2532 ขึ้นเพื่อถือปฏิบัติเป็นระเบียบทางวินัยตามมาตรฐานวิชาชีพกับมวลสมาชิก ปัจจุบันสมาชิกประกอบด้วย มัณฑนากร สถาปนิก นักออกแบบในสาขาอื่นๆ นักวิชาการ ฯลฯ ซึ่งมีพื้นฐานทางการศึกษาจากสถาบันต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้นกว่า 2,000 คน ในปลายปี พ.ศ. 2548 ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการผ่านมา สมาคมมัณฑนากรฯ ได้พยายามผลักดันวิชาชีพให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับในสังคม ได้มีกิจกรรมที่ก่อประโยชน์ต่อมวลสมาชิกนานานัปการ สมาคมฯได้รับการรับรองและยกย่องจากหน่วยงานและองค์กรในระดับชาติและระดับนานาชาติ ในฐานะที่เป็นสถาบันของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายในมัณฑนศิลป์ของชาติ
สภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายใน และการออกแบบภายในแห่งประเทศไทย
แนวความคิดเรื่องการจัดตั้งสภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายใน และการออกแบบภายในแห่งประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 สืบเนื่องจากการประชุมสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบภายในของที่ประชุมสภาคณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ในวันที่ 29 มกราคม 2544 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารหรือตัวแทนของสาขาวิชาฯจากทุกสถาบันมีโอกาสพบปะสังสรรค์และประชุมปรึกษาหารือในเรื่องต่างๆทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ ในที่สุดที่ประชุมฯ ได้ตกลงก่อตั้งสภาวิชาการสถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบภายในแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีตัวแทนซึ่งเป็นผู้บริหารและนักวิชาการจากสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์หรือสาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องเพื่อเพื่อก่อตั้งร่วมกับตัวแทนจากทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทยร่วมเป็นสมาชิกในเบื้องต้นที่ประชุมมีมติโดยได้มอบให้ ผศ.พิศประไพ สาระศาลิน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ทำหน้าที่เป็นประธานสภาวิชาการฯคนแรกในปี พ.ศ. 2544-4545 เพื่อเป็นองค์กรกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาควิชาสาขาสถาปัตยกรรมภายใน การออกแบบภายใน และมัณฑนศิลป์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ในที่เกี่ยวกับสาขาวิชาฯ รวมทั้งประสานงานกันเพื่อให้เกิดบทบาท ด้านการพัฒนาด้านวิชาการ การเตรียมปฏิบัติวิชาชีพ การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น