การเตรียมตัวเพื่อทำงานในสาขาบริหารงานก่อสร้าง
รุนแรงเช่นกัน สถาปนิกในยุคนี้มีโอกาส และทางเลือกน้อยกว่าในยุคที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู การที่จะโก่งค่าตัวและวาด
ภาพอนาคตที่เลิศหรูนั้นจะไม่เป็นภาพที่ปรากฏให้เห็นอีกในยุคนี้ ดังนั้นนักศึกษาผู้ที่ก้าวเข้าสู่วงการอาชีพ มีความจำ
เป็นจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมที่จะเผชิญกับความเป็นจริงและความยากลำบากข้างหน้า ด้วยการใช้สติปัญญา
ความรู้ ความอดทน ในการปรับตัวหาช่องทางจนกว่าจะฝ่าฟันวิกฤตการนี้ไปให้ได้
ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งของการเป็นสถาปนิกคือ การได้ถูกฝึกมาให้เป็นนักคิด นักวางแผนมีความอดทนและมีมุมมอง
โลก (VISION) ที่ค่อนข้างกว้าง แต่ก็มีสถาปนิกอีกจำนวนไม่น้อยที่ใช้มุมมองตีกรอบให้ตัวเองอยู่ใน วงจำกัดแคบ ๆ ไม่
สามารถใช้พลังสร้างสรรค์และผลักดันให้ตัวเองหาทางออกหรือประสบความสำเร็จมากกว่าที่เป็นอยู่ นักศึกษาจึงควร
เปิดใจให้กว้างและปรับทัศนคติแบบเดิม ๆ เช่น เมื่อจบออกมาแล้วจะต้องเป็น นักออกแบบให้ได้สมกับที่ได้ร่ำเรียนวิชา
ออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นวิชาหัวใจหลักของสถาปนิก และมองว่าการไปทำอย่างอื่นเป็นเรื่องต่ำต้อย สถาบันการ
ศึกษาของเรานอกจากจะฝึกคนให้มีความคิดสร้างสรรค์แล้วยังฝึกฝนความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะค้นคว้า
ตรวจสอบและหาข้อสรุปได้อย่างดีเยี่ยม โดยที่ตัวบางคนเองก็ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ดังนั้นการที่สถาปนิกจะเบนเข็มไปสู่
วงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวงการก่อสร้างหรือวงการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย จึงมิใช่เรื่องยากที่จะกระทำ
งานบริหารการก่อสร้างก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ งานหลักของงานบริหารการก่อสร้าง คือ การควบคุม
การก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่ตกลงทำสัญญากันไว้ ด้วยความประหยัดมีคุภาพและตรงตามเวลาที่กำหนด บางคน
คิดว่าบทบาทของสถาปนิก SITE งานไม่โดดเด่นเท่ากับวิศวกร เนื่องจากสถาปนิกไม่รู้เรื่องกับ CONCEPT ของการ
คำนวณและโครงสร้างเพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่จำเป็นจะต้องมีความกังวลในเรื่องนี้ เพราะไม่ใช่วิศวกรทุก
คนที่จบมาแล้วจะสามารถทำรายการคำนวณได้ทุกคน และวิศวกรส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้จับงานทางด้านการคำนวณหรือ
ละเว้นมานานก็จะไม่ทำรายการคำนวณใน SITE งานจะมีผู้รับหน้าที่ทำรายการคำนวณโดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างมี
ปัญหาหรือเป็นการว่าจ้างมือปืนเฉพาะกิจ ดังนั้นสถาปนิกใน SITE งานจึงไม่ควรมีความรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าวิศวกร
สนามเพราะสถาปนิกมีความรู้และความสามารถมากมายในการทำงานบริหารการก่อสร้าง
การเตรียมตัวเพื่อทำงานสนามนั้นไม่มีอะไรมากเป็นพิเศษ แต่จะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับงานที่หนักในสภาพแวด
ล้อมที่ไม่สวยหรูเหมือนกับการทำงานใน OFFICE DESIGN งานสถาปนิกใน SITE โดยทั่วไปได้แก่ การทำแบบ SHOP
DRAWING, SUPERVISE งานก่อสร้าง, งานออกแบบประมาณราคา,จัดทำแผนงาน, ฝ่ายจัดซื้อ,ตรวจสอบคุณภาพ
ฯลฯ เนื่องจากงานที่สถาปนิกมักจะถูกมอบหมายให้ทำคือ ทำแบบ SHOP DRAWING และ SUPERVISE งานก่อสร้าง
จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะสองหัวข้อนี้
การทำ SHOP DRAWING คือการนำแบบคู่สัญญาจากผู้ออกแบบมาจัดทำใหม่ให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นอย่างเพียง
พอที่จะสามารถนำแบบไปก่อสร้างได้จริง สถาปนิกจะต้องใช้ความรู้ทางด้าน CONSTRUCTION และความเข้าใจของ
การออกแบบ แบบ SHOP DRAWING ก็มีลักษณะคล้ายกับแบบ DESIGN ของผู้ออกแบบ คือ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ใหญ่ ๆ คือ ส่วนของงานสถาปัตย์ งานโครงสร้างและงานระบบ สถาปนิกจะต้องทำการ CLEAR แบบและแก้ไขส่วนที่ไม่
ชัดเจนโดยการประสานงานกับผู้ออกแบบ หลักใหญ่ ๆ ในการ CLEAR แบบคือ จะต้องมี DIMENSION ค่าพิกัดและราย
ละเอียดแบบขยายที่ชัดเจนและเพียงพอสำหรับการก่อสร้าง โดยที่ SCOPE งานในแบบ SHOP DRAWING จะต้องตรง
ตามสัญญาข้อตกลงที่ทำกันไว้ แบบ SHOP DRAWING งานสถาปัตย์เปรียบเหมือนกับเป็นแม่บทที่วิศวกรจะนำไปใช้
ในการอ้างอิงทำแบบ SHOP DRAWING โครงสร้างและงานระบบไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล ต่อไป
ส่วนการ SUPERVISE งานก่อสร้าง คือ การควบคุมดูแลการก่อสร้างให้ถูกต้องตาม SHOP DRAWING และเป็นไป
ได้ตามแผนงานก่อสร้าง โดยอยู่ใน BUDGET ที่กำหนด สิ่งที่สถาปนิกมักจะได้รับมอบหมายให้ดูแลคือ ส่วนของงาน
FINISHING WORK ต่าง ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ประตู หน้าต่าง สี สุขภัณฑ์ กระเบื้อง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ งาน FINISHING ดู
ผิวเผินแล้วเหมือนกับงานที่ไม่มีความยากสลับซับซ้อนอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นงานที่ยุ่งยากมาก ยกตัวอย่าง
เช่น งานทาสีผนัง เมื่อทาสีผนังไปแล้วและมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศตามมาทำให้ผนังเลอะเทอะ จึงต้องมีการซ่อม
สีผนังใหม่และเมื่อซ่อมสีผนัง ช่างสีทาสีไปเลอะเครื่องปรับอากาศอีก เป็นผลทำให้เกิดงานซ้ำซ้อนวกไปวนมาไม่จบสิ้น
ดังนั้นการควบคุมงานจะต้องรู้ขึ้นตอนการก่อสร้างและมีการวางแผนที่ดี ประสบการณ์ในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาได้
ไม่ยาก แม้ว่าโครงสร้างอาคารจะมีความมหัศจรรย์พันลึก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็อยู่ภายใต้งาน FINISHING ทั้งหมด งาน
FININSHING จึงมีความสำคัญมาก ส่วนที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการทำงานใน SITE คือ จะมีปัญหาใหม่ ๆ ที่เราจะ
ต้องคอยแก้ไขต่างกันไปทุกวันและบางครั้งต้องใช้ไหวพริบและจิตวิทยาในการแก้ปัญหา ปัญหาของการทำงานส่วน
ใหญ่มาจากคน จะสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่สถาปนิกหรือวิศวกรจะลงมือก่ออิฐหรือผสมปูนเอง
ดังนั้นเราจะต้องมีทักษะในการใช้คนและการสื่อสาร ให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาเข้าใจ และนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างมี
ประสิทธิภาพ
เท่าที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงข้อมูลพอสังเขป เพื่อให้เห็นภาพของการทำงานใน SITE งานสำหรับผู้ที่สนใจ
อย่างไรก็ตามผู้เขียนเชื่อว่าการจบจากสถาบันการศึกษาเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิตของนัก
ศึกษา จึงจำเป็นจะต้องหาข้อมูลและเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความหมายตามที่ตัวเอง
ปรารถนา
อ.พรศักดิ์ สิมะพรชัย
สุดยอดต้นแบบ สถาปัตยกรรมรักษ์โลก
1. วารีนคร : Floating Ecopolis
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ถ้าวิกฤตโลกร้อนดำเนินไปจนถึงจุดแตกหัก ประเทศหมู่เกาะและพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลกจะถูกน้ำทะเลกลืนหาย รวมถึงเกาะมัลดีฟส์ เพชรเม็ดงามในมหาสมุทรอินเดีย
วินเซนต์ คาเลโบต์ สถาปนิกชาวเบลเยียม จึงออกแบบ “มหานครลอยน้ำ” ซึ่งแต่ละเมืองเป็นเอกเทศแยกออกจากกัน โดยตัวเมืองจะถูกทอดสมอลอยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่ และทนต่อแรงซัดของคลื่น วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับประชากรที่ต้องลี้ภัยจากภาวะโลกร้อน แต่ละแห่งรองรับประชากรได้ 50,000 คน
ระบบสาธารณูปโภคสำคัญ คือ ระบบเก็บสะสมและกรองน้ำฝน สร้างภูเขาจำลองเพื่อใช้เป็นจุดก่อสร้างที่พัก ส่วนไฟฟ้าผลิตจากพลังคลื่นและแสงอาทิตย์
2. เกษตรลอยฟ้า
ทุกวันนี้มหานครอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชาติอภิมหาเศรษฐีธุรกิจน้ำมัน มีประชากรกว่า 800,000 คน ชีวิตประจำวันของผู้คนต้องพึ่งพาโรงผลิตน้ำสะอาดขนาดใหญ่ 5 แห่ง และนำเข้าผักผลไม้เพื่อการบริโภค เพราะสภาพอากาศร้อนแล้ง เนื่องจากเป็นเขตทะเลทราย
บริษัทสตูดิโอโมบายล์ ประเทศอิตาลี นำเสนอแบบแปลน “หอเกษตรลอยฟ้า” ตั้งตระหง่านกลางอาบูดาบี โครงสร้างประกอบด้วยเรือนกระจกขนาดใหญ่ 5 โรง มีหน้าตาเหมือนกับรังดักแด้ โดยดึงน้ำทะเลนอกชายฝั่งมาแปรสภาพเป็นไอน้ำหล่อเลี้ยงพืชผักข้างใน และยังมีกระบวนการแปรรูปน้ำทะเลเป็นน้ำจืดได้ด้วย
3. ทะเลทรายสีเขียว
บริษัทเอ็กซ์พลอเรชั่น อาร์คิเทคเจอร์ ออกแบบโครงการ “ซาฮารา ฟอเรสต์ โปรเจ็กต์” เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนสภาพทะเลทรายตามเขตที่ราบต่ำติดทะเลของ “ทะเลทรายซาฮารา” ให้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกพืช ผลิตน้ำจืด และทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำสำหรับปลูกพันธุ์พืชสีเขียวขจีภายในพื้นที่รัศมี โดยรอบ พลิกฟื้นดินแตกระแหงสู่ความชุ่มชื้น
โครงสร้างหลักของ “ซาฮารา ฟอเรสต์ โปรเจ็กต์” ได้แก่ ระบบดึงน้ำจากทะเลเข้ามาใช้งาน แผงโซลาร์เซลล์แปลงแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าเพื่อใช้เดินเครื่องสร้างไอน้ำ ส่วนน้ำเหลือทิ้งจากระบบจะนำไปใช้รดเพาะปลูกพันธุ์พืชโดยรอบ
4. เมืองธรรมชาติ
ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า “เมืองสีเขียว” 648,000 ตารางเมตร จะถือกำเนิดขึ้นห่างจากตอนใต้ของกรุงโซล เมืองหลวงเกาหลีใต้ 35 กิโลเมตร มีชื่อเรียกว่า “กวางเกียว กรีน พาวเวอร์ เซ็นเตอร์” (ศูนย์พลังงานสีเขียวกวางเกียว) ออกแบบและพัฒนาโดย บริษัทเอ็มวีดีอาร์ เนเธอร์แลนด์
แนวคิดการสร้างเมืองใหม่จงใจออกแบบสิ่งปลูกสร้างลักษณะวงแหวนคล้ายๆ ภูเขา ไล่สูงขึ้นไปเป็นชั้นๆ เพื่อให้กลมกลืนธรรมชาติ ตัวเมืองมีทั้งส่วนที่พักอาศัย แหล่งช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ สถาบันการศึกษา สำนักงาน ศูนย์วัฒนธรรม ที่จอดรถ นอกตัวอาคารทุกแห่งจะมีระเบียงปลูกต้นไม้ไล่ไปทุกชั้น รองรับประชากร 70,000 คน
5. “หอคอย”พลังลม
ยูจีน ซุย สถาปนิกอเมริกันเชื้อสายจีน เริ่มต้นคิดโครงการนี้ และนำไปเสนอกับผู้บริหารนครโอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ แต่ไม่ผ่านการอนุมัติ ล่าสุดหอบหิ้วผลงานไปนำเสนอกับผู้บริหารนครเสิ่นเจิ้น เมืองท่าสำคัญของจีน
“หอคอยพลังลม” ของซุย สร้างบนเกาะจำลองขนาดเล็กบริเวณอ่าวนอกชายฝั่งเสิ่นเจิ้น และปลูกป่าโกงกางคอยกรองมลพิษ ตัวหอคอยติดตั้งเทอร์ไบน์กังหันลม ผลิตไฟฟ้าป้อนพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง รวมทั้งมีส่วนร้านอาหาร และหอสังเกตการณ์ เพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวไปในตัว
6. โรงแรมกลางทะเล
บริษัท มอร์ริส อาร์คิเทค มองว่า แท่งสำรวจขุดเจาะน้ำมันเก่าๆ นำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งเป็นขยะกลางทะเล แผนการของบริษัทแห่งนี้ก็คือ เริ่มต้นปรับปรุงสภาพฐานขุดเจาะน้ำมันร้างนอกชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก ให้กลายเป็น โรงแรม-แหล่งท่องเที่ยว กลางทะเล มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการประสบการณ์แปลกใหม่ ส่วนแหล่งพลังงานใช้ระบบพลังงานทางเลือกจากคลื่นและลม
“เราคิดว่าการปรับโฉมแท่งขุดเจาะน้ำมันเหล่านี้ยังเป็นสัญลักษณ์แสดงให้ เห็นว่า ยุคสมัยแห่งพลังงานสกปรกกำลังจะหมดไปอีกด้วย” มอร์ริส อาร์คิเทค ระบุ
นิทรรศการ “วัสดุบ้านบ้าน ล้านไอเดีย”
วัสดุบ้านบ้าน ล้านไอเดีย
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากหลากหลายประเทศซึ่งแสดงถึง ศักยภาพของวัตถุดิบจากผืนดินและผืนป่า ที่สามารถนำมาพัฒนาอย่างง่ายๆ ให้เป็นวัสดุที่ได้มาตรฐานสากล ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ดี ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ของเหลือใช้จากการเกษตรได้หลายเท่าตัว และยังคงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาร่วมกันค้นหาและจุดประกายความคิดในการ เพิ่มมูลค่าให้วัสดุบ้านๆ ไปไกลถึงต่างแดน ด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ผสานวัฒนธรรมและความมีเอกลักษณ์บนพื้นฐานมาตรฐานระดับโลกที่ใครๆ ก็ทำได้
EatHouse บ้านกินได้ สวนแนวตั้งที่สร้างจากลังพลาสติก
โครงสร้างของบ้านถูกทำขึ้นจากลังพลาสติกที่เราเห็นตามตลาดที่เอาไว้ขนส่ง ผักผลไม้ หรือวางผักผลไม้ขายตามตลาด หรือที่เราเห็นกองอยู่เต็มหน้า 7-eleven ในบ้านเรานั่นล่ะโดยเอามาทำเป็นแปรงเพาะปลูกเล็กๆสำหรับพืชผักสวนครัวต่างๆ ใส่ดินและ ตะแกรงคลุมหน้าดินอีกทีดูตามภาพนะคะแล้วนำมาประกอบต่อเข้าด้วยกันด้วยโครง ภายนอก ด้วยวิธีการแบบนี้ก็ทำให้ใครๆก็สามารถมีสวนแนวตั้งทำเองได้ ไม่ต้องติดตั้งระบบสวนแนวตั้งที่มีราคาแพง ลองดูสวนแนวตั้งอีกแบบจากลังพลาสติกไม่ใช้แล้วทีเคยลงไปนะคะ
ดูแล้วก็เป็นบ้านกินได้แบบบ้านๆจริงๆ เป็นสวนแนวตั้งแบบบ้านๆที่ใครก็ทำได้ เพียงแต่เราต้องหมั่นดูแลบำรุงรักษาหน่อยรดน้ำสม่ำเสมอก็ไม่ต้องติดตั้งระบบ สวนแนวตั้ง แต่ถ้าให้ดีโครงบ้านก็ใช้ท่อพีวีซีให้สามารถหล่อเลี้ยงน้ำให้กับแปรงผักด้วย หรือจะเอาแบบระบบสวนแนวตั้งสำเร็จเลย ปัจจุบันก็มีขายในเมืองไทย ก็สะดวกในการดูแลรักษาคะ
เหมาะกับรีสอร์ทในบ้านเรานะ ไว้เป็นจุดขาย และได้ส่งเสริมให้คนรักต้นไม้ เห็นคุณค่าของธรรมชาติ ในอนาคตอาจกลายเป็นสิ่งที่ทุกบ้านต้องมีก็ได้ ต้องช่วยกันปลูกเพราะอาหารในโลกกำลังจะขาดแคลน
ปลูกไป กินไป ถ้าเหลือก็เอามาขายหน้าบ้าน..น่ารักจะตายไปนะ ชีวิตแบบนี้ ได้กินของที่เราปลูกเอง สดๆ ไม่มียาฆ่าแมลง ไม่มีสารเคมีตกค้าง