ในวงการสถาปัตยกรรมนั้น แนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นย่อมมีจุดประสงค์ และแนวทางการศึกษาต่างกัน ซึ่งพอจะสรุปเป็นแนวทางใหญ่ๆ ได้สองแนวทาง
1. แนวทางแรกเป็นแนวทางของสถาปนิกที่มีพลังสร้างสรรค์ในตัวสูง
2. แนวทางที่สองเป็นแนวทางของสถาปนิกและแนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรม ที่ต้องการค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้วย
ระบบวิธีทางการศึกษาที่เป็นระบบและเป็นขั้นตอน
การศึกษาแนวทางแรก
อันเป็นแนวทางของสถาปนิกที่มีพลังสร้างสรรค์ในตัวสูงนั้น เป็นการศึกษาที่แสวงหาแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเพื่อสะสมและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ตนเอง สถาปนิกในระดับนี้มักท่องเที่ยวแสวงหาข้อมูลไปตามท้องถิ่นต่างๆ ตัวอย่างวิธีการศึกษาในแนวนี้ วิธีการของ Le Corbusier เป็นตัวอย่างที่ดีเพราะเป็นสถาปนิกที่มีประสบการณ์และสร้างสรรค์ในตัวสูงอยู่แล้ว และดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีการระบบการวิจัยของศิลปินที่เป็นเองโดยธรรมชาติเป็น "ระบบวิธีที่อยู่นอกเหนือระบบ " หรือ "เป็นระบบที่ไม่เป็นระบบ " หากจะเอากฎเกณฑ์ทางการวิจัยตามแนววิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์เข้ามาจัด เขาจะศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยไม่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดถึงขั้นวัดขนาดและเขียนแบบอาคารที่เขาศึกษา อย่างปราณีต เขาจะเลือกศึกษา (Study) เฉพาะงานที่เขาเห็นว่ามีคุณค่าโดยใช้ประสิทธิภาพของประสบการณ์ที่สั่งสมภายในตัวประเมินค่า อาคารที่เขาพบขณะที่ท่องเที่ยวค้นคว้าอยู่นั้น ด้วยการตรวจบันทึกและตรวจสอบงานที่เขาเห็นโดยวิธีการร่างภาพด้วยตนเอง (Sketch, Drawing) อย่างหยาบๆ และถือว่าวิธีการศึกษาด้วยการร่างเป็นรูปภาพนั้นเป็นการเขียนจากความประทับใจในสิ่งที่ตนเห็นอยู่เบื้องหน้า เป็นบันทึกที่มีคุณค่าในตัวเอง การบันทึกด้วยการร่างอย่างฉับไวเพื่อบันทึกความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจในระยะเวลานั้นเอาไว้ เพื่อจะใช้ย้ำเตือนความจำและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในมิติของเวลาหนึ่งไม่ให้หลงลืมไปจากสำนึก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับเสริมประสบการณ์ในการออกแบบของตนให้กว้างไกลขึ้น ภาพร่างที่บันทึกนั้นบางภาพก็ยากที่ผู้อื่นจะทำความเข้าใจได้โดยตลอด ยิ่งผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนและเข้าใจวิญญาณและธรรมชาติของศิลปินแล้ว รู้สึกว่าจะอยู่คนละมิติทีเดียว แต่สำหรับตัวศิลปินและสถาปนิกผู้บันทึกภาพด้วยตัวเองนั้น แม้ภาพจะหยาบเป็นภาพเขียนอย่างลวกๆ ก็ตาม แต่เขาก็เข้าใขอย่างกระจ่างชัดเพราะภาพร่างนั้นเป็นเพียงสื่อของรูปทรงที่เป็นกายภาพ ที่มีส่วนกระตุ้นประสบการณ์ที่เขาเก็บบันทึกไว้ในสำนึกแห่งความทรงจำให้พัฒนามาเป็นจินตนาการที่ลุกโพลงขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดพลังสร้างสรรค์ (Creative Force) ขึ้นในตัวศิลปินเอง อันเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน (Intuition) วิธีการเช่นนี้ถือว่าเป็นการศึกษาค้นคว้าโดยธรรมชาติของศิลปินและสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย และในขณะที่ร่างภาพที่เขาประทับใจอยู่นั้น ความคิดและความเข้าใจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน พร้อมทั้งปัญญาที่หยั่งลงเห็นคุณค่าและการตีความอันเป็นปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่มีพลังนั้น เขาจะรีบบันทึกเป็นข้อความสั้นๆ กินความหมายลึกซึ้งตามที่รู้สึกเอาไว้ ดังคำกล่าวของ Le Corbusier เองได้กล่าวว่า เมื่ออายุ 71 ปี "ข้าพเจ้าอายุได้ 71 ปี การค้นคว้า (Research) ของข้าพเจ้าเป็นเช่นเดียวกับความรู้สึกซึ่งพุ่งตรงไปยังคุณค่าอันเป็นหลักการในชีวิต.....เป็นบทกวี (Poetry) บทกวีที่ฝังอยู่ในหัวใจมนุษย์อันเป็นความสามารุถที่เข้าไปสัมผัสความร่ำรวยของธรรมชาติที่หลากหลาย ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ที่มีจักษุสัมผัสเพื่อการเห็น (Visual Man) (ที่ดีเลิศ) เป็นมนุษย์ที่ใช้ตาและมือทำงานมีการดำรงอยู่ที่มีชีวิตชีวาจากการหล่อหลอมของความเพียร จึงทำให้สถาปัตยกรรมที่ข้าพเจ้าออกแบบเป็นสถาปัตยกรรมที่มีสัจจะ" และเขาก็ได้กล่าวถึงวิธีการเขียนภาพที่เป็นบันทึกส่วนตัวและเป็นการค้นคว้าของสถาปนิกว่า "เมื่อเราท่องเที่ยวไปและทำการค้นคว้าในสิ่งที่ตาเห็น ได้แก่ สถาปัตยกรรม ภาพเขียนหรือประติมากรรม เราต้องใช้ตาจ้องมอง และร่างภาพเพื่อที่จะตรึงสิ่งที่เห็นให้ลึกลงไปในประสบการณ์ของเรา ซึ่งเป็นที่ประทับใจที่ถูกบันทึกด้วยดินสอ สิ่งนั้นจะยังตราตรึงอยู่ด้วยว่าเป็นการจดบันทึกและเป็นการจารึกเอาไว้แล้ว กล้องถ่ายรูปนั้นเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับบันทึกภาพของคนที่เกียจคร้าน เพราะการใช้เครื่องจักรกลบันทึกสิ่งที่ตาเห็น ส่วนการเขียนร่างเส้นไปตามที่ตาเห็น การเขียนรูปทรงและการร่างปริมาตร พร้อมทั้งการประมวลพื้นผิวทั้งมวลนั้น ถือว่าเป็นสิ่งแรกที่เรามองและสังเกต บางครั้งก็เป็นการค้นพบ และอาจเป็นความบันดาลใจที่เกิดขึ้น เป็นการประดิษฐ์ การสร้างสรรค์ที่เราใช้ทุกสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราทั้งหมดแปรเข้าสู่การกระทำ และเป็นการกระทำที่ถูกแนวทางซึ่งแต่ละคนย่อมมีแนวทางที่ต่างกัน" ส่วนการแสดงความรู้สึกที่เขียนบรรยายคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของ Le Corbusier นั้นในตอนหนึ่งในหนังสือ " The Four Routes " ของเขา เขาบันทึกในขณะนั่งเรือบินจาก Algiers ขณะที่เรือบินผ่านแนวเขา ATLAS ย่านทะเลทราย M'ZAB เขาเห็นบ้านของชาวพื้นเมือง OASIS โดยเขียนภาพและบันทึกไว้ว่า "บ้านเหล่านี้เป็นศูนย์การของความสุขที่สงบสงัดที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น... เป็นดุจดั่งรากเหง้าของสัจจะที่ก่อตัวบนแท่นศิลาอันทึบแน่นมั่นคง กลุ่มบ้านเรือนของชุมชนเหล่านี้ดำรงอยู่เพื่อที่จะสนองมนุษยชาติทั้งร่างกายและวิญญาณ" การร่างภาพในสิ่งที่ศิลปินเห็นนั้นเป็นการสังเกตสภาพแวดล้อมในธรรมชาติที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์ และประสบการณ์นี้เองจะแปรเป็นความบันดาลใจที่จะก่อให้เกิดงานศิลปะทั้งมวล ศิลปินจะเลือกสรรสรุปเนื้อหาให้ย่นย่อในสิ่งที่ตนเห็นและตีความออกจากประสบการณ์ของตน การทำงานของศิลปินคือการแปลการรับรู้ตลอดถึงอารมณ์ของศิลปินเองให้เป็นระเบียบ เพื่อที่จะเสนอการแปลความและการแสดงออกตามกระบวนการของศิลปะ ดังคำกล่าวของ Paulkee ที่ได้กล่าวว่า "ศิลปินนั้นเปรียบดั่งลำต้นของต้นไม้ที่ได้ประมวลเอาสิ่งที่มีคุณค่าจากเนื้อดินที่อยู่ลึกลงไป (ลึกลงไปในจิตใต้สำนึก) และแปรเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นให้เป็นพุ่มยอดของต้นไม้ คือ ความงามนั่นเอง "
ประสบการณ์ที่ศิลปินซึมซับมาจากสภาพแวดล้อมทั้งของธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นถือว่าเป็นการสะสมข้อมูลโดยอัตโนมัติของศิลปินผู้มีพลังสร้างสรรค์ ซึ่งจะแปรประสบการณ์ให้เป็นจินตภาพหรือมโนภาพ และแสดงออกมาตามแนวทางของตนโดยอาศัยสื่อทางศิลปะแขนงต่างๆ เป็นตัวแทนของการแสดงออกตามแต่พรสวรรค์ ข้อคิดของ "แฮร์มันน์ เฮสเสะ" พอจะเป็นรูปแบบอีกแนวหนึ่งที่แสดงถึงการรวบรวมข้อมูลจากโลกภายนอกเข้าสู่ประสบการณ์ และแปรประสบการณ์เข้าสู่งานสร้างสรรค์ศิลปะอันเป็นวิธีการสังเคราะห์ (Synthesis) ของศิลปินวิธีหนึ่ง อาจเป็นตัวอย่างของการสังเคราะห์ศิลปะในแขนงอื่นๆได้อีก ข้อเขียนของเขาถือว่าเป็นการแสดงกระบวนสร้างสรรค์งานศิลปะที่รัดกุม และเห็นวิธีการทำงานของศิลปินทั้งหลายได้อย่างชัดเจน ดังที่เขากล่าวว่า "...นวนิยายเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในวินาทีที่ข้าพเจ้าแลเห็นมโนภาพก่อตัวขึ้นมาเป็นภาพ ซึ่งสามารถเป็นสัญลักษณ์ เป็นตัวแทนของประสบการณ์ของปัญญาของความนึกคิดแห่งตน การปรากฎขึ้นของบุคคลในจินตนาการล้วนถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างฉับพลันจากทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างที่ปรากฏขึ้น งานนวนิยายร้อยแก้วแทบทั้งหมดของข้าพเจ้าล้วนเป็นบันทึก เป็นประวัติศาสตร์ของจิตวิญญาณ และในงานเหล่านั้น จุดที่คำนึงถึงที่สุดไม่ได้อยู่ที่โครงเรื่อง ไม่ได้อยู่ที่ความซับซ้อนซ่อนเงื่อน ไม่ได้อยู่ที่กลวิธีการหน่วงเรื่อง แต่แก่นของมันอยู่ที่การเล่าเรื่อง (Monoloques) เป็นประการสำคัญซึ่งให้ตัวละครเพียงตัวเดียว หรือคนในจินตนาการนั้นแสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับโลก และตัวเขากับโลกภายในของเขาเอง งานนวนิยายเช่นนี้แหละที่ถูกเรียกว่า "นวนิยาย" แต่ที่แท้จริงแล้วมันหาใช่นวนิยายไม่... ซึ่งในสายตาของข้าพเจ้าแล้ว ถือว่าเป็นงานศักดิ์สิทธิ์... และดังนั้น ข้าพเจ้าจึงผ่านช่วงเวลาดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ช่วงเวลาอันกระชั้นสั้นซึ่งเต็มไปด้วยความงดงามเต็มไปด้วยความยากลำบากและความตื่นเต้น ตรึงเครียด เป็นช่วงเวลาที่การบรรยายความผ่านมาถึงจุดวิกฤต ช่วงเวลานี้เหมาะที่บรรดาความคิดทั้งมวลมาถึงจุดวิกฤต ช่วงเวลานี้แหละที่บรรดาความคิดทั้งมวลและอารมณ์ความรู้สึกทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่บรรจุอยู่ใน "ภาพแห่งจินตนาการ" นั้นได้มาปรากฎเบื้องหน้าด้วยความคมชัดยิ่ง ด้วยความกระจ่างแจ้งและเร่งเร้าเรียกร้องยิ่ง บรรดาสิ่งที่เก็บเกี่ยวมาทั้งหมด บรรดาประสบการณ์และความคิดทั้งมวลต่างต่อสู้ผลักดันตัวเอง ให้ก่อรูปก่อร่างเป็นตัวเป็นตนขึ้นบนหน้ากระดาษก็ในช่วงเวลานี้แหละ (และช่วงเวลาดังกล่าวนี้มิได้ดำรงอยู่เนิ่นนานเลย) นี่เป็นสภาวะแห่งการหลั่งไหลออกมาแห่งการหล่อหลอมเข้าด้วยกัน มูลธาตุทั้งมวลจะถูกหลอมและนำมาตีขึ้นรูป จะต้องทำ ณ บัดนี้ หาไม่สายเกินการณ์จะไม่มีโอกาสอีกเลย "หนังสือแต่ละเล่มของข้าพเจ้าล้วนผ่านช่วงเวลาดังกล่าวมาทั้งสิ้น แม้บรรดาหนังสือที่แต่งไม่เสร็จและไม่มีโอกาสพิมพ์อีก หนังสือพวกหลังนี้เองที่ข้าพเจ้าช้าเกินไปสำหรับเวลาการเก็บเกี่ยว และทันใดนั้นเองที่มโนภาพ และปัญหาทั้งมวลที่จะก่อกำเนิดขึ้นผ่านการบรรยายก็ได้ลางเลือนเลื่อนลับดับสูญไปหมดสิ้นพลังและคุณค่าความหมาย"
จากแนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้วยการบันทึกภาพร่างและบันทึกภาพร่าง และบันทึกความเข้าใจด้วยคำบรรยายสั้นๆ ของหมู่สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นถือว่าเป็นการบันทึกช่วยจำ ตามความประสงค์ที่ตัวสถาปนิกเองจะใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปประยุกต์สร้างสรรค์งานออกแบบของตน เป็นการศึกษาค้นคว้าส่วนตัว (Private Study) มิได้มุ่งประสงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจจากการศึกษาของตนให้บุคคลทั่วไปรับทราบ หรือรับรู้ร่วมกัน มีสถาปนิกอีกบางกลุ่มที่เห็นคุณค่างานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตนได้ศึกษาค้นคว้า แล้วมีความมุ่งประสงค์จะเผยแพร่คุณค่าที่ตนได้พบเห็นให้บุคคลอื่น หรือบุคคลอื่นทั่วไปได้รับทราบเพื่อรับรู้ร่วมกันกับตน เขาจะใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกอาคารที่ตนเห็นว่ามีคุณค่าเอามาพิมพ์เผยแพร่ ขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่นั้น เขาจะถ่ายภาพในมุมต่างๆ มากมายเท่าที่เขาต้องการเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับศึกษา ครั้นเมื่อจะนำมาพิมพ์เผยแพร่เขาจะคัดภาพแต่ละภาพที่ดีและมีคุณค่าที่สุดมาพิมพ์เสนอด้วยว่า ภาพที่คัดมาพิมพ์เผยแพร่นั้นเป็นภาพที่สถาปนิกผู้ศึกษา ได้ประเมินคุณค่าของภาพที่ตนถ่ายจากประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ มุมที่ตนถ่ายเป็นมุมที่ "คุณค่าของอาคาร" หรือ "คุณค่าในรายละเอียด" ปรากฏชัดเจนที่ความหมายในตัวภาพเอง และเป็นมุมหรือเป็นภาพที่ผู้ค้นคว้าเองได้ประจักษ์เห็นในคุณค่าว่าเป็นภาพที่อธิบายเนื้อหา และคุณค่าของอาคารได้มากที่สุด อันเป็นการใช้ความรู้ ปัญญา ประสบการณ์ที่ตนสะสมมา ตลอดถึงความสามารถในการรับรู้ที่เป็นสุนทรียรสของตนมาตีคุณค่ารูปทรงของอาคารจากภาพถ่ายนั้น พร้อมทั้งเสนอความคิดที่ตนเห็นคุณค่ามาบรรยายประกอบกับภาพที่นำมาเผยแพร่ทุกภาพ คำบรรยายก็มุ่งหวังจะแสดงความเข้าใจความคิดที่ตนประจักษ์ทราบ (Realization) ในขณะบันทึกภาพหรือขณะศึกษาสอบสวนคุณค่าของอาคารจากภาพที่ถ่ายแล้วนั้นออกมาเป็นคำพูดที่รัดกุม กระชับส่วนใหญ่ของเนื้อความที่บรรยายนั้นเป็นประเด็นที่มีสาระ และมีคุณค่ายิ่งเพราะเป็นประเด็นที่เกิดจากความเข้าใจลึกไปกว่าคนธรรมดาจะทราบและมองเห็น การสร้างภูมิปัญญาความละเอียดอ่อนของการรับรู้ในตนที่ค้นพบคุณค่าที่ซ่อนเร้นมาตีแผ่ให้ผู้อื่นได้รับทราบ และเกิดอารมณ์ในคุณค่าเหล่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีกแนวทางหนึ่งที่จะขออนุโลมเข้าไว้ในแนวทางการค้นคว้าประเภทแรก ตัวอย่างการศึกษาในแนวนี้ก็ได้แต่ผลงานการค้นคว้าของ MYRON GOLD FINGER ในหนังสือ VILLAGE IN THE SUN และของ BERANRD RUDOFSKY ในหนังสือ ARCHITECTURE WITHOUT ARCHITECTS เป็นต้น งานค้นคว้าของ MYRON GOLD FINGER นั้นเจาะคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชุมชนย่านทะเลเมดิเตอเรเนียน เป็นส่วนใหญ่ ส่วนของ BERANRD RUDOFSKY นั้นเจาะคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทั่วๆไปหลายทวีปเป็นการเห็นคุณค่าในเชิงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อคุณลักษณะของ รูปทรงการนำเสนอ คุณค่าอาคารด้วยภาพถ่ายนั้นเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาของปัจจุบัน เพราะถือว่าเป็นการบันมึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูปนั้นเป็นภาษาของการเห็นที่สื่อความประเภทหนึ่ง (TYPE OF VISUAL SPEECH) และยังมีพลังทางสุนทรียรสอีกด้วย(ASETHETIC POWER) และภาพถ่ายก็เป็นเครื่องมือที่มีพลังอำนาจสำหรับการให้ข่าวสารและการศึกษาของโลกอีกประเภทหนึ่ง เพราะภาพถ่ายสามารถบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมอย่างสมเหตุสมผลที่แม่นยำที่สุด อีกทั้งยังเป็นหลักฐานที่สามารถช่วยรำลึกถึงวิญญาณของอดีตไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำของมนุษย์
การศึกษาแนวทางที่สอง
ซึ่งเป็นแนวทางของสถาปนิกและนักการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ต้องการค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้วยระบบวิธีการศึกษาที่เป็นระบบ และเป็นขั้นตอนเป็นวิธีการศึกษาที่มีความมุ่งหมายเพื่อจะศึกษาค้นคว้าให้เห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งคุณค่านั้นย่อมมีหลายแง่หลายความหมาย เช่น คุณค่าในเชิงออกแบบของสถาปัตยกรรมโดยตรง คุณค่าในฐานะเป็นรูปแบบเฉพาะทางวัฒนธรรมประเภทที่พักอาศัยของกลุ่มชนแต่ละท้องที่ คุณค่าในฐานะที่เป็ฯรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ของภูมิภาค คุณค่าในฐานะสะท้อนฐานะของชุมชน ฯลฯ เป็นต้น นอกจากความมุ่งหมายในการศึกษาในเชิงคุณค่าแล้ว ยังมีความม่งหมายอื่นนอกเหนือไปอีก เช่น ศึกษาเพื่อเห็นกระบวนการวิวัฒนาการของอาคารพื้นถิ่น ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับมาประยุกต์ใช้กับสมัยปัจจุบันศึกษาหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเชิงชาติพันธ์วิทยา ศึกษาถึงความเชื่อที่ผูกพันกับรูปทรงอาคาร ศึกษาเพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ฯลฯ วิธีการศึกษาสถาปัตยกรรมท้องถิ่นนั้นเป็นการศึกษาจากอาคารที่มีอยู่จริงจึงไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องตั้งสมมติฐานขึ้น แต่ต้องเป็นการศึกษาจากข้อมูลที่ได้มาและที่มีด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในแง่มุมต่างๆจึงจะพบคำตอบ ในชั้นหลังคำตอบที่จะได้มานั้นย่อมขึ้นอยู่กับวิธีที่จะใช้สอบสวนตรวจสอบข้อมูลโดยคล้อยตามแนวทางของจุดประสงค์ ของการศึกษาที่ผู้ศึกษาได้ตั้งเป็นความมุ่งหมายเอาไว้แต่แรก และเป็นได้ทั้งการศึกษาเฉพาะกรณี และการค้นคว้าจะศึกษาในเชิงปริมาณเพื่อแสวงหารูปแบบเฉพาะถิ่น และการค้นคว้าจะศึกษาในแนวลึกหรือแนวกว้างนั้นขึ้นอยู่กับความมุ่งประสงค์ของการศึกษาเช่นกัน
ตัวอย่างวิธีการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในแนวกว้างนั้นวิธีการของ R.W. BRUN SKILL เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับใช้ศึกษา จากหนังสือ VERNACULAR ARCHITECTURE ที่เขาเขียนขึ้นนั้นพอสรุปแนวทางศึกษาเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้
ก) การแบ่งประเภทของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งเขาแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆไว้ 3 ประเภท คือ
• อาคารประเภทที่พักอาศัย DOMESTIC ARCHITECTURE)
•อาคารสำหรับประกอบการทางเกษตรกรรม (ARCHITECTURE OF AGRICULTURE) ได้แก่ คอกสัตว์ ยุ้งข้าว โรงเกวียน ฯลฯ
•อาคารสำหรับประกอบการอุตสาหกรรมของชาวบ้าน (INDUSTRIAL VERNACULAR) เช่น โรงสีข้าว โรงกังหันลม โรงงานปั้นหม้อ โรงงานช่างเหล็ก ฯลฯ
ข) การศึกษาสำรวจท้องที่ที่ตั้งของอากาศพื้นถิ่น (VERNACULAR ZONE) โดยการศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพทางธรณีวิทยา ฯลฯ
ค) การศึกษาในรายละเอียดของส่วนประกอบอาคารจากวัสดุและวิธีการก่อสร้างโดยการแยกส่วนประกอบอาคารออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
•ผนัง วัสดุและวิธีการก่อสร้าง (WALLING : CONSTRUCTION AND MATERIAL)
•หลังคา - รูปร่าง วัสดุและวิธีการก่อสร้าง(ROOFING : SHAPE, CONSTRUCTION AND MATERIAL)
•แปลนและรูปตัด (PLAN AND SECTION) ตลอดถึงบันได ประตูและหน้าต่าง
•รายละเอียด(ARCHITECTURAL DETAIL)
•โรงนา (FARM BUILDING)
•อาคารพื้นถิ่นในเมืองและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กของชาวบ้าน (VERNACULAR AND MINOR INDUSTRIAL BUILDING)
ซึ่งหัวข้อที่ R.W. BRUNSKILL แบ่งไว้นี้สามารถนำไปเป็นหัวข้อย่อยในการค้นคว้าศึกษาเฉพาะกรณีได้อีกโดยวิธีการวิเคราะห์อย่างเจาะลึก แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาเบื้องแรกนั้นจำต้องศึกษาค้นคว้าหาลักษณะของรูปแบบอาคารโดยการสำรวจ วัดขนาดอาคารที่จะค้นคว้านั้น ด้วยการเขียนร่างภาพ ถ่ายภาพเป็นข้อมูลเบื้องต้น ตามหลักการศึกษาของสถาปัตยกรรม จะต้องนำข้อมูลมาเขียนแบบละเอียด คือ แปลน รูปตัด รูปด้าน รูป ISOMETRIC หรือทัศนียภาพเพื่อศึกษาปริมาตรผิว (SURFACE) ตลอดถึงความสัมพันธ์ของเนื้อที่ภายในอาคาร เพราะทัศนียภาพและภาพ ISOMETRIC นั้นเป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่ผิวและเนื้อที่ว่าง (SPACE) ที่ห่างได้กระจ่างชัด เพราะแสดงภาพเป็น 3 มิติ ซึ่งถือว่าเป็นการนำแสนอข้อมูลที่สำรวจมานั้นมาจัดวางเข้าระบบทางวิธีการของสถาปัตยกรรม เพื่อจะใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์เนื้อหา และประเด็นที่ต้องการศึกษาในแง่มุมที่ต้องการศึกษาได้อย่างสะดวกแบบอาคารที่เขียนขึ้นมานี้ทำให้เราทราบชัดในเบื้องแรกคือ รูปลักษณะของอาคารที่เราต้องการนั้นเองเพื่อจะใช้สำหรับการตีความจากการวิเคราะห์ต่อไป
การวิเคราะห์เบื้องแรก คือ การวิเคราะห์หาเนื้อที่ใช้สอยโดย วิเคราะห์หาขนาดของพื้นที่ใช้สอยแต่ละประเภทของอาคาร วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเนื้อที่ใช้สอย กิจกรรมที่เกิดขึ้นในเนื้อที่ใช้สอยตามมิติของเวลา และฤดูกาล และความสัมพันธ์ของกิจกรรมกับพื้นที่ใช้สอยตลอดถึงพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนอันเป็นผลมาจากคติความเชื่อ แบบแผนของการดำรงชีวิตที่สัมพันธ์หรือมีผลต่อกิจกรรมต่างๆอันเกิดขึ้นภายในอาคาร หลักการที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นต้องอาศัยจากการสังเกต(OBSERVATION) สัมภาษณ์ และเอกสารที่เกี่ยวกับคติความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ
วิเคราะห์จากระบบโครงสร้าง ธรรมชาติของวัสดุก่อสร้างที่มากำหนด วิธีการก่อสร้าง ระบบการระบายอากาศภายในอาคารการจัดสร้างระบบการระบายอากาศภายในอาคารการจัดวางพื้นที่ใช้สอย กับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ภูมิอากาศและทิศทางของแดดลม วิธีการแก้ปัญหาจากผลกระทบของธรรมชาติ การเลี่ยงแสงแดดการเปิดรับแสงแดด การเปิดรับลม วิธีเลี่ยงและป้องกันการสาดของแผนวิธีการป้องกันลมพายุ
เมื่อวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆแล้วเริ่มประเมินค่าของอาคารโดยสรุปค่าเป็น 3 หัวข้อ คือ คุณค่าของการแก้ปัญหาเรื่องประโยชน์ใช้สอย คุณค่าการก่อสร้างและการใช้วัสดุ ระบบวิธีของโครงสร้างที่ทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ประการสุดท้ายคือการประเมินคุณค่าทางความงาม ได้แก่ ความสัมพันธ์ของระนาบกับพื้นที่ สัดส่วนของรูปทรง จังหวะของการเจาะช่องที่สัมพันธ์กับผนังทึบ คุณค่ารูปทรงที่เป็นมวล (MASS) ระเบียบของการตกแต่งระนาบต่างๆ ความสัมพันธ์ของเส้นสายรูปทรงในตัวอาคาร วิธีการเก็บรายละเอียดของส่วนต่างๆของอาคาร (FINISHED) ความสัมพันธ์ของพื้นที่ผิววัสดุที่ใช้กับอาคาร ผลของแสงเงาที่มีต่อรูปทรงของอาคาร การเลื่อนไหลของที่ว่าง (FLOWING OF SPACE) ภายในอาคารการจัดองค์ประกอบของรูปด้านวิธีการจัดองค์ประกอบของมวลที่เป็นรูปทรง (MASS) ความงามขององค์ประกอบพื้นที่ (COMPOSITION OF PLAN) ความสัมพันธ์ระหว่างที่ว่างภายในอาคารกับที่ว่างภายนอกวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาคาร กับสภาพแวดล้อมในเชิงองค์ประกอบทางความงาม ศึกษาส่วนอาคารตกแต่งให้มีคุณค่า (ARCHITECTURAL DECORATION)
การประเมินคุณค่าทางความงามอันเป็นประเด็นสุดท้ายนี้เป็นการวิเคราะห์ทางการจัดระเบียบขององค์ประกอบ แม้บางครั้งการจัดองค์ประกอบทางความงามของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไม่ปรากฏชัด แต่ขอให้ถือว่าเป็นการศึกษาเพื่อจะทำความเข้าใจ ในหลักขององค์ประกอบของชาวบ้านที่มีสำนึกและประสบการณ์อีกมิติหนึ่งที่ผู้ศึกษาจะพบ และเป็นการสร้างสำนึกที่จะเข้าถึงความงามระดับ ชาวบ้านที่มีศักยภาพสุนทรียรสต่างไปจากผู้ค้นคว้าเอง และทำให้เราทราบว่าความงามในระดับชาวบ้าน นั้นเป็นอย่างไร มีการจัดองค์ประกอบเช่นไร นักวิชาการศึกษาศิลปะมักลงความเห็นเป็นผลสรุปว่างานแบบพื้นถิ่นหรือพื้นบ้านนั้นเป็นงานที่ออกแบบเพื่อสนองประโยชน์ใช้สอย และการใช้งานในชีวิตประจำวันของชาวบ้านความงามนั้นมิใช่เป้าหมายหากแต่ความงามนั้นเป็นผลผลิตขั้นตอนสุดท้าย (THE END PRODUCTION) ของงานออกแบบเป็นความงามที่ตรงไปตรงมาไม่เสแสร้าง (SINCERELY CONCEIVED) เพราะเป็นงานที่ออกแบบให้เคารพต่อประโยชน์ใช้สอย และวัสดุก่อสร้าง อันพ้องกับความเห็นเกี่ยวกับความงามของลักธิ FUNTIONALISM ที่เสนอว่าความตรงไปตรงมาของการจัดระเบียบโครงสร้างการเคารพและซื่อตรงต่อวิธีการก่อสร้าง ตลอดถึงความงามที่มีอยู่ในวัสดุก่อสร้างเองนั้น เป็นคุณลักษณะทางสุนทรียภาพของการออกแบบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ค่อนข้างจะรับรู้ได้ยาก เพราะเป็นความรู้สึกที่เป็นนามธรรม (ABSTRACT SENCE)
การค้นคว้าเรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้นจำต้องใช้ความรู้ที่เป็นหลักวิชาทางเหตุผลซึ่งเป็นลักษณะภาวะวิสัย (OBJECTIVE) ผสมผสานกับการใช้ความรู้ที่เป็นประสบการณ์อันจัดเป็นอัตวิสัย(SUBJECTIVE) หรือจิตนิยมควบคู่กันไป เพราะต่างก็เป็นวิธีการที่ได้รับความรู้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย การแสวงหาความรู้ที่มีลักษณะเป็นภาวะวิสัย หรือวิธีการทางวัตถุนิยมเป็นวิะการที่มีพื้นฐานอยู่บนเหตุผล (RATIONAL) ส่วนวิธีการที่เป็นอัตวิสัยนั้นมีพื้นฐานอยู่บนความรู้โดยฉับพลันของประสบการณ์ (INTUITIVE) ซึ่งต่างก็เป็นวิธีทางของภาระหน้าที่ๆ ต้องประกอบกันของสภาวะจิตของมนุษย์ (THE RATIONAL AND INTUITIVE ARE COMPLEMENTARY MODES OF FUNTIONING OF HUMAN MIND) แต่จากวงการศึกษาค้นคว้าของเราในปัจจุบันมักหลีกเลี่ยงวิธีการทางอัตวิสัย แบบความรู้ที่พลุ่งขึ้น (INTUITIVE) ว่าไม่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์แต่ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ทางอัตวิสัยนั้นเป็นวิธีการที่เข้าใจ และเป็นความรู้ที่ใช้กับศิลปะและความงามอันเป็นเป้าหมายหลักของโลกวิจิตรศิลป์อีกอย่างหนึ่ง หากใช้วิธีการทางภาวะวิศสัยแนวเดียว การค้นคว้าก็มักจะหลีกเลี่ยงประเด็นหลักของศิลปะไปเสียเป็นไม่ก้าวล้ำลงสู่ความลึกซึ้งทางศิลปะ อันควรเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประเด็นหลักอีกประเด็นหนึ่ง วิธีการของการศึกษาศิลปะนั้นไม่ถือว่าใครผิดใครถูก เป็นสิทธิที่ศิลปินจะมีความคิดและความเชื่อแตกต่างกันไป และศิลปะมีสภาวะอัตนัย(อัตวิสัย) มากที่สุดในกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ก็เพราะว่าศิลปะนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องของความรู้สึกนึกคิดจินตนาการเป็นอย่างมาก การสร้างสรรค์งานศิลปะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ ความบันดาลใจความรู้สึกนึกคิดจินตนาการ การทำงานศิลปะคือ การแสดงออกหรือการเอาออก จากการสั่งสมทั้งภายในและภายนอก ศิลปินไม่ถือว่าวัตถุสำคัญกว่าจิตใจ วัตถุไม่ใช่สิ่งสูงสุดและสิ่งถาวร ข้อมูลทางวัตถุอาจเป็นข้อมูลเบื้องต้น ศิลปินจินตนาการจากข้อมูลหรือแบบได้ศิลปินจำนวนมากหาข้อมูลโดยประสบการณ์ และความจำขณะที่เขาเขียนภาพเขาเขียนด้วยการแสดงออกเต็มที่และฉับพลันโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นวัตถุเลย วิทยาศาสตร์นั้นเพ่งเล็งเอาใจใส่สิ่งที่เป็ฯสัญลักษณ์เพียงชนิดหนึ่ง เพื่อมีความมุ่งหมายบรรยายลักษณะความจริงแท้ที่แน่นอน แต่วิทยาศาสตร์ก็ได้ละเลยและขาดระบบสัญลักษณ์อีกหลายอย่างโดยเฉพาะระบบสัญลักษณ์ของโลกศิลปะ ศิลปะนั้นไม่สามารถให้ความรู้ในทางพรรณนาหรือการบรรยาย แต่เป็นความรู้สึกที่แสดงออกโดยตรงในเรื่องราวของความจริงอีกประเภทหนึ่ง ศิลปะ คือ รูปแบบที่แสดงให้ปรากฏได้ (COMCRETIZE) ของปรากฎการณ์(PHENOMENAL) อันซับซ้อนหรือสถานการณ์ของชีวิต (LIFE SITUATION) เราอาจจะศึกษาศิลปะในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่การศึกษาโดยวิธีการนี้ไม่สามารถที่จะหาสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ แต่การศึกษาโดยวิธีการนี้ไม่สามารถที่จะหาสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์มาแทนระบบสัญลักษณ์ของศิลปะได้แม้กระทั่งเกณฑ์ สำหรับการพิจารณาทางความจริง หรือสัจจะ (TRUTH) ที่จะมาเชื่อมศิลปะเนื่องด้วยแนวความคิดทางความจริงอันเป็นปกติของ(วิทยาศาสตร์) เรานั้นได้ถูกสมมติล่วงหน้าจากระเบียบเหตุผล ทางตรรกวิทยาของภาวะวิสัยล้วนๆ ส่วนศิลปะนั้นเป็นระบบสัญลักษณ์ที่ไม่มีการพรรณนาความ (NON-DESCRIPTIVE SYNDOL SYSTEMS) ฉะนั้นศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่ให้ความรู้แต่ให้ประสบการณ์และแนวทางสำหรับพฤติกรรมแก่มนุษย์
ด้วยเหตุฉะนี้การศึกษาค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็มีความมุ่งหมายเพื่อสืบเสาะหาเค้าเงื่อนของปัญหาในการดำรงชีวิตของคน ระดับชาวบ้านทั่วๆไปในแง่ที่กำบังเพื่อพำนักอาศัย (SHELTER) ยังผู้ค้นคว้าได้ทราบชัดถึงอัจฉริยภาพในการแก้ปัญหาของปัญญาชาวบ้าน อันเป็นปัญญาที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชน (COMMNUAL INTELLECTUALS) ที่ปกติมักถูกละเลยและมองข้ามบางครั้งก็ดูหมิ่นดูแคลน เพราะถือว่าเป็นการแก้ปัญหาด้วยความบังเอิญ ซึ่งสถาปนิกผู้รู้บางท่านได้เคยกล่าวตำหนิเอาไว้ แต่โดยแท้จริงแล้วคือสิ่งที่แสดงพลังสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ของประชาชนในแต่ละวัฒนธรรม เมื่อผู้ศึกษาค้นคว้าได้กระโจนลงสู่สายสาครของการศึกษาของกระแสธารนี้แล้ว ก็เท่ากับได้แหวกว่ายลงไปในกระแสความคิดของหมู่ชนที่ได้สถาปนาสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพ และเสริมประสิทธิภาพให้แก่ชีวิตด้วยความงามตามอัตภาพของธรรมชาติแวดล้อม จะเห็นการต่อสู้ของมวลมนุษย์กับสภาพดินฟ้าอากาศอย่างทรหดอดทน ทั้งยังเป็นระบบของการสะสมความรู้ของกลุ่มที่น่าศึกษา เป็นการเสริมภาพรวมของมนุษย์ให้กระจ่างขึ้น ทำให้เข้าใจความหมายของชีวิตในมุมกว้างและลึก เกิดความรักในมนุษย์เพิ่มขึ้นไปอีกเพราะเป็นการหาประสบการณ์ของมนุษยชาติ และบางครั้งความรู้และประสบการณ์ของชาวบ้านที่หลงเหลือในปัจจุบัน ในรูปของประเพณีโบราณบางประการนั้น ได้รับการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องสืบมาเป็นเวลายาวนานเลยลึกเข้าไปในอดีตที่แสนไกล บางทีจะถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์เลยก็ได้
อุบายไปสู่การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยจากรากวัฒนธรรมท้องถิ่น โดย รศ. อนุวิทย์ เจริญศุภกุล
1.ถ้าเริ่มต้นศึกษาหรือทำความเข้าใจงาน สถาปัตยกรรมด้วยรูปวัตถุก็จะได ้แต่ ลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุธรรมเท่านั้น ได้แต่รูปภายนอกเข้าไม่ถึงเนื้อหา หรือชีวิตวิญญาณของงานอย่างแท้จริง นักปราชญตะวันออกตั้งแต่สมัยพุทธกาล ไม่ว่าจีนหรืออินเดียต่างก็พิจารณางาน สถาปัตยกรรม จากอากาศทั้งสิ้น
2. สังคมย่อมประกอบด้วย มนุษย์ กับ วัฒนธรรม เราสร้างงานสถาปัตยกรรมตามความต้องการใช้งานของมนุษย์ ฉะนั้นการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมจึงอยู่ในกระบวนการทางวัฒนธรรม ถ้าการออกแบบเบี่ยงเบนไปจากสัจธรรมนี้แล้วงานนั้น ก็ย่อมสูญเสียเนื้อหานัยของความสัมพันธ์ทางสังคมของตนไป
3.สังคมมนุษย์ได้พัฒนามาใน กาละ- เทศะ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่เข้ามาร่วมอยูในกระบวนการสร้างสรรค์ ทางวัฒนธรรมด้วยเสมอ
ประวัติศาสตร์ ณ ที่นี้ หมายถึง ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่อยู่ร่วมในยุค สมัยของเรา ตลอดจนถึง ประวัติศาสตร์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่ส่งผลต่อเนื่องมาสู่ประวัติศาสตร์ สมัยใหม่ที่จะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปประวัติศาสตร์เป็นของฆ่าไม่ตาย ถ้าเราละเลยองค์ประกอบนี้ไปเสียอย่าง สิ้นเชิงเราก็กำลังจะลืมกำพืดของตนเอง และ กำพืดของงาน ที่เราจะ สร้างขึ้น
4.โดยนัยดังกล่าว งานสถาปัตยกรรม แต่ถ้าการศึกษาวิชาดังกล่าว เป็นการ เริ่มต้นและลงท้ายที่แบบสถาปัตยกรรม เป็นเป้าหมายหลักแล้วโดยไม่นำพาต่อ กระบวนการออกแบบ ซึ่งส่งผลมาสู่ แบบสถาปัตยกรรมนั้นๆเราก็จะได้แบบ สถาปัตยกรรมตายๆไม่มีชีวิตชีวา ในภาวะการณ์ปัจจุบันเลย
5.วัฒนธรรมเป็นกระบวนการสร้าง เอกลักษณ์ และ สัญลักษณ์ วัฒนธรรมจึงมีความซับซ้อนในตัวเองอย่างลึกซึ้ง มีโครงสร้าง แบบแผน และเนื้อหานามธรรมอย่าง ซ่อนเงื่อน ถ้าสถาปนิกขาดความรู้ ขาดวิจารณญาณที่จะนำไปสู่การตีความทางวัฒนธรรม ก็ย่อมไม่สามารถนำ การออกแบบให้เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมได้ สถาปนิกก็จะเป็นเพียงนักออกแบบ มิใช่ปัญญาชนที่จะเป็นผู้นำกระแส การเคลื่อนไหวในด้าน แนวความคิด ทางสถาปํตยกรรมได้
6.โดยเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ดังกล่าว งานสถาปัตยกรรมย่อมมีระดับและขั้ว ตามพื้นเพการดำรงอยู่ทางชุมชนหรือ สังคมหนึ่งๆ ถ้าแยกแยะเนื้อหาดังกล่าวไม่ออกก็จะสูญเสียนัยของความสัมพันธ์ทางสังคม เข้าใจเอกลักษณ์อย่างคลุมเคลือ และใช้สัญลักษณ์อย่างผิดๆ อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
7. สภาพการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย กับสังคมโลก เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยง กระแสโลกาภิวัฒน์ไปได้ นักวิชาการ ทางแนวคิดดังกล่าวได้กล่าวไว้ว่า "จงคิดคำนึงอย่างโลกาภิวัฒน์แต่จงประพฤติปฏิบัติอย่างท้องถิ่นนุวัติให้จงได้" \
8. ฉะนั้นถ้าเราเริ่มต้นแสวงหาเอกลักษณ์ ของงานสถาปัตยกรรมท้องถิ่น โดย อาศัยสัญลักษณ์ของ แบบในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมด้วยวิธีการตัดทอนรายละเอียดให้ง่ายลงเราก็จะได้แต่แบบที่ตายๆ ขาดนัย สัมพันธ์กับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่เราดำรงอยู่
9. การสร้างสรรค์ต่างๆ นั้น ย่อมประ กอบด้วย แนวความคิด และวิธีการ ควบคู่อยู่ด้วยกันเสมอ ตัวแนวความคิด จะเป็นเครื่องนำทาง วิธีการจะเป็น เครื่องมือนำไปสู่เป้าหมาย ถ้าขาดแนวความคิดก็เหมือนเรือที่ ขาดหางเสือ คนขับรถที่ไร้สมอง ถ้า ขาดวิธีการก็เหมือนขาดพาหนะที่จะ พาไปสู่จุดหมายปลายทางได้
10. การสร้างแนวความคิดและวิธีการนั้น อาจจะทำควบคู่กันไปหรือแยกกันเพื่อ ความสะดวกแต่เบื้องต้นก็ได้ แต่ทั้ง สองกระบวนการใช้วิธีการ 2 แบบ เป็นประถม
•แบบที่ 1 เป็นกระบวนการของการวิจัย 1.เป้าหมาย 2.ข้อมูล 3.วิเคราะห์ 4.ตีความ 5.สังเคราะห์แนวความคิดหรือวิธีการ
•แบบที่2 ทำควบคู่อยู่ในกระบวนการ ตั้งแต่ต้นโดยนำข้อมูลดิบข้อสรุปที่ผ่านการ วิเคราะห์ตีความ แล้วเข้ามา ร่วมสังเคราะห์ตามขั้นตอนของ กระบวนการออกแบบต่างๆ วิธีการ นี้ผู้ดำเนินการจะต้องมีวุฒิภาวะสูง หรือ มีญาณทักษะและพลังสร้าง สรรค์แก่กล้าเท่านั้น
การศึกษาแนวทางแรก
อันเป็นแนวทางของสถาปนิกที่มีพลังสร้างสรรค์ในตัวสูงนั้น เป็นการศึกษาที่แสวงหาแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเพื่อสะสมและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ตนเอง สถาปนิกในระดับนี้มักท่องเที่ยวแสวงหาข้อมูลไปตามท้องถิ่นต่างๆ ตัวอย่างวิธีการศึกษาในแนวนี้ วิธีการของ Le Corbusier เป็นตัวอย่างที่ดีเพราะเป็นสถาปนิกที่มีประสบการณ์และสร้างสรรค์ในตัวสูงอยู่แล้ว และดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีการระบบการวิจัยของศิลปินที่เป็นเองโดยธรรมชาติเป็น "ระบบวิธีที่อยู่นอกเหนือระบบ " หรือ "เป็นระบบที่ไม่เป็นระบบ " หากจะเอากฎเกณฑ์ทางการวิจัยตามแนววิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์เข้ามาจัด เขาจะศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยไม่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดถึงขั้นวัดขนาดและเขียนแบบอาคารที่เขาศึกษา อย่างปราณีต เขาจะเลือกศึกษา (Study) เฉพาะงานที่เขาเห็นว่ามีคุณค่าโดยใช้ประสิทธิภาพของประสบการณ์ที่สั่งสมภายในตัวประเมินค่า อาคารที่เขาพบขณะที่ท่องเที่ยวค้นคว้าอยู่นั้น ด้วยการตรวจบันทึกและตรวจสอบงานที่เขาเห็นโดยวิธีการร่างภาพด้วยตนเอง (Sketch, Drawing) อย่างหยาบๆ และถือว่าวิธีการศึกษาด้วยการร่างเป็นรูปภาพนั้นเป็นการเขียนจากความประทับใจในสิ่งที่ตนเห็นอยู่เบื้องหน้า เป็นบันทึกที่มีคุณค่าในตัวเอง การบันทึกด้วยการร่างอย่างฉับไวเพื่อบันทึกความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจในระยะเวลานั้นเอาไว้ เพื่อจะใช้ย้ำเตือนความจำและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในมิติของเวลาหนึ่งไม่ให้หลงลืมไปจากสำนึก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับเสริมประสบการณ์ในการออกแบบของตนให้กว้างไกลขึ้น ภาพร่างที่บันทึกนั้นบางภาพก็ยากที่ผู้อื่นจะทำความเข้าใจได้โดยตลอด ยิ่งผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนและเข้าใจวิญญาณและธรรมชาติของศิลปินแล้ว รู้สึกว่าจะอยู่คนละมิติทีเดียว แต่สำหรับตัวศิลปินและสถาปนิกผู้บันทึกภาพด้วยตัวเองนั้น แม้ภาพจะหยาบเป็นภาพเขียนอย่างลวกๆ ก็ตาม แต่เขาก็เข้าใขอย่างกระจ่างชัดเพราะภาพร่างนั้นเป็นเพียงสื่อของรูปทรงที่เป็นกายภาพ ที่มีส่วนกระตุ้นประสบการณ์ที่เขาเก็บบันทึกไว้ในสำนึกแห่งความทรงจำให้พัฒนามาเป็นจินตนาการที่ลุกโพลงขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดพลังสร้างสรรค์ (Creative Force) ขึ้นในตัวศิลปินเอง อันเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน (Intuition) วิธีการเช่นนี้ถือว่าเป็นการศึกษาค้นคว้าโดยธรรมชาติของศิลปินและสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย และในขณะที่ร่างภาพที่เขาประทับใจอยู่นั้น ความคิดและความเข้าใจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน พร้อมทั้งปัญญาที่หยั่งลงเห็นคุณค่าและการตีความอันเป็นปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่มีพลังนั้น เขาจะรีบบันทึกเป็นข้อความสั้นๆ กินความหมายลึกซึ้งตามที่รู้สึกเอาไว้ ดังคำกล่าวของ Le Corbusier เองได้กล่าวว่า เมื่ออายุ 71 ปี "ข้าพเจ้าอายุได้ 71 ปี การค้นคว้า (Research) ของข้าพเจ้าเป็นเช่นเดียวกับความรู้สึกซึ่งพุ่งตรงไปยังคุณค่าอันเป็นหลักการในชีวิต.....เป็นบทกวี (Poetry) บทกวีที่ฝังอยู่ในหัวใจมนุษย์อันเป็นความสามารุถที่เข้าไปสัมผัสความร่ำรวยของธรรมชาติที่หลากหลาย ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ที่มีจักษุสัมผัสเพื่อการเห็น (Visual Man) (ที่ดีเลิศ) เป็นมนุษย์ที่ใช้ตาและมือทำงานมีการดำรงอยู่ที่มีชีวิตชีวาจากการหล่อหลอมของความเพียร จึงทำให้สถาปัตยกรรมที่ข้าพเจ้าออกแบบเป็นสถาปัตยกรรมที่มีสัจจะ" และเขาก็ได้กล่าวถึงวิธีการเขียนภาพที่เป็นบันทึกส่วนตัวและเป็นการค้นคว้าของสถาปนิกว่า "เมื่อเราท่องเที่ยวไปและทำการค้นคว้าในสิ่งที่ตาเห็น ได้แก่ สถาปัตยกรรม ภาพเขียนหรือประติมากรรม เราต้องใช้ตาจ้องมอง และร่างภาพเพื่อที่จะตรึงสิ่งที่เห็นให้ลึกลงไปในประสบการณ์ของเรา ซึ่งเป็นที่ประทับใจที่ถูกบันทึกด้วยดินสอ สิ่งนั้นจะยังตราตรึงอยู่ด้วยว่าเป็นการจดบันทึกและเป็นการจารึกเอาไว้แล้ว กล้องถ่ายรูปนั้นเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับบันทึกภาพของคนที่เกียจคร้าน เพราะการใช้เครื่องจักรกลบันทึกสิ่งที่ตาเห็น ส่วนการเขียนร่างเส้นไปตามที่ตาเห็น การเขียนรูปทรงและการร่างปริมาตร พร้อมทั้งการประมวลพื้นผิวทั้งมวลนั้น ถือว่าเป็นสิ่งแรกที่เรามองและสังเกต บางครั้งก็เป็นการค้นพบ และอาจเป็นความบันดาลใจที่เกิดขึ้น เป็นการประดิษฐ์ การสร้างสรรค์ที่เราใช้ทุกสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราทั้งหมดแปรเข้าสู่การกระทำ และเป็นการกระทำที่ถูกแนวทางซึ่งแต่ละคนย่อมมีแนวทางที่ต่างกัน" ส่วนการแสดงความรู้สึกที่เขียนบรรยายคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของ Le Corbusier นั้นในตอนหนึ่งในหนังสือ " The Four Routes " ของเขา เขาบันทึกในขณะนั่งเรือบินจาก Algiers ขณะที่เรือบินผ่านแนวเขา ATLAS ย่านทะเลทราย M'ZAB เขาเห็นบ้านของชาวพื้นเมือง OASIS โดยเขียนภาพและบันทึกไว้ว่า "บ้านเหล่านี้เป็นศูนย์การของความสุขที่สงบสงัดที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น... เป็นดุจดั่งรากเหง้าของสัจจะที่ก่อตัวบนแท่นศิลาอันทึบแน่นมั่นคง กลุ่มบ้านเรือนของชุมชนเหล่านี้ดำรงอยู่เพื่อที่จะสนองมนุษยชาติทั้งร่างกายและวิญญาณ" การร่างภาพในสิ่งที่ศิลปินเห็นนั้นเป็นการสังเกตสภาพแวดล้อมในธรรมชาติที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์ และประสบการณ์นี้เองจะแปรเป็นความบันดาลใจที่จะก่อให้เกิดงานศิลปะทั้งมวล ศิลปินจะเลือกสรรสรุปเนื้อหาให้ย่นย่อในสิ่งที่ตนเห็นและตีความออกจากประสบการณ์ของตน การทำงานของศิลปินคือการแปลการรับรู้ตลอดถึงอารมณ์ของศิลปินเองให้เป็นระเบียบ เพื่อที่จะเสนอการแปลความและการแสดงออกตามกระบวนการของศิลปะ ดังคำกล่าวของ Paulkee ที่ได้กล่าวว่า "ศิลปินนั้นเปรียบดั่งลำต้นของต้นไม้ที่ได้ประมวลเอาสิ่งที่มีคุณค่าจากเนื้อดินที่อยู่ลึกลงไป (ลึกลงไปในจิตใต้สำนึก) และแปรเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นให้เป็นพุ่มยอดของต้นไม้ คือ ความงามนั่นเอง "
ประสบการณ์ที่ศิลปินซึมซับมาจากสภาพแวดล้อมทั้งของธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นถือว่าเป็นการสะสมข้อมูลโดยอัตโนมัติของศิลปินผู้มีพลังสร้างสรรค์ ซึ่งจะแปรประสบการณ์ให้เป็นจินตภาพหรือมโนภาพ และแสดงออกมาตามแนวทางของตนโดยอาศัยสื่อทางศิลปะแขนงต่างๆ เป็นตัวแทนของการแสดงออกตามแต่พรสวรรค์ ข้อคิดของ "แฮร์มันน์ เฮสเสะ" พอจะเป็นรูปแบบอีกแนวหนึ่งที่แสดงถึงการรวบรวมข้อมูลจากโลกภายนอกเข้าสู่ประสบการณ์ และแปรประสบการณ์เข้าสู่งานสร้างสรรค์ศิลปะอันเป็นวิธีการสังเคราะห์ (Synthesis) ของศิลปินวิธีหนึ่ง อาจเป็นตัวอย่างของการสังเคราะห์ศิลปะในแขนงอื่นๆได้อีก ข้อเขียนของเขาถือว่าเป็นการแสดงกระบวนสร้างสรรค์งานศิลปะที่รัดกุม และเห็นวิธีการทำงานของศิลปินทั้งหลายได้อย่างชัดเจน ดังที่เขากล่าวว่า "...นวนิยายเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในวินาทีที่ข้าพเจ้าแลเห็นมโนภาพก่อตัวขึ้นมาเป็นภาพ ซึ่งสามารถเป็นสัญลักษณ์ เป็นตัวแทนของประสบการณ์ของปัญญาของความนึกคิดแห่งตน การปรากฎขึ้นของบุคคลในจินตนาการล้วนถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างฉับพลันจากทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างที่ปรากฏขึ้น งานนวนิยายร้อยแก้วแทบทั้งหมดของข้าพเจ้าล้วนเป็นบันทึก เป็นประวัติศาสตร์ของจิตวิญญาณ และในงานเหล่านั้น จุดที่คำนึงถึงที่สุดไม่ได้อยู่ที่โครงเรื่อง ไม่ได้อยู่ที่ความซับซ้อนซ่อนเงื่อน ไม่ได้อยู่ที่กลวิธีการหน่วงเรื่อง แต่แก่นของมันอยู่ที่การเล่าเรื่อง (Monoloques) เป็นประการสำคัญซึ่งให้ตัวละครเพียงตัวเดียว หรือคนในจินตนาการนั้นแสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับโลก และตัวเขากับโลกภายในของเขาเอง งานนวนิยายเช่นนี้แหละที่ถูกเรียกว่า "นวนิยาย" แต่ที่แท้จริงแล้วมันหาใช่นวนิยายไม่... ซึ่งในสายตาของข้าพเจ้าแล้ว ถือว่าเป็นงานศักดิ์สิทธิ์... และดังนั้น ข้าพเจ้าจึงผ่านช่วงเวลาดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ช่วงเวลาอันกระชั้นสั้นซึ่งเต็มไปด้วยความงดงามเต็มไปด้วยความยากลำบากและความตื่นเต้น ตรึงเครียด เป็นช่วงเวลาที่การบรรยายความผ่านมาถึงจุดวิกฤต ช่วงเวลานี้เหมาะที่บรรดาความคิดทั้งมวลมาถึงจุดวิกฤต ช่วงเวลานี้แหละที่บรรดาความคิดทั้งมวลและอารมณ์ความรู้สึกทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่บรรจุอยู่ใน "ภาพแห่งจินตนาการ" นั้นได้มาปรากฎเบื้องหน้าด้วยความคมชัดยิ่ง ด้วยความกระจ่างแจ้งและเร่งเร้าเรียกร้องยิ่ง บรรดาสิ่งที่เก็บเกี่ยวมาทั้งหมด บรรดาประสบการณ์และความคิดทั้งมวลต่างต่อสู้ผลักดันตัวเอง ให้ก่อรูปก่อร่างเป็นตัวเป็นตนขึ้นบนหน้ากระดาษก็ในช่วงเวลานี้แหละ (และช่วงเวลาดังกล่าวนี้มิได้ดำรงอยู่เนิ่นนานเลย) นี่เป็นสภาวะแห่งการหลั่งไหลออกมาแห่งการหล่อหลอมเข้าด้วยกัน มูลธาตุทั้งมวลจะถูกหลอมและนำมาตีขึ้นรูป จะต้องทำ ณ บัดนี้ หาไม่สายเกินการณ์จะไม่มีโอกาสอีกเลย "หนังสือแต่ละเล่มของข้าพเจ้าล้วนผ่านช่วงเวลาดังกล่าวมาทั้งสิ้น แม้บรรดาหนังสือที่แต่งไม่เสร็จและไม่มีโอกาสพิมพ์อีก หนังสือพวกหลังนี้เองที่ข้าพเจ้าช้าเกินไปสำหรับเวลาการเก็บเกี่ยว และทันใดนั้นเองที่มโนภาพ และปัญหาทั้งมวลที่จะก่อกำเนิดขึ้นผ่านการบรรยายก็ได้ลางเลือนเลื่อนลับดับสูญไปหมดสิ้นพลังและคุณค่าความหมาย"
จากแนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้วยการบันทึกภาพร่างและบันทึกภาพร่าง และบันทึกความเข้าใจด้วยคำบรรยายสั้นๆ ของหมู่สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นถือว่าเป็นการบันทึกช่วยจำ ตามความประสงค์ที่ตัวสถาปนิกเองจะใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำไปประยุกต์สร้างสรรค์งานออกแบบของตน เป็นการศึกษาค้นคว้าส่วนตัว (Private Study) มิได้มุ่งประสงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจจากการศึกษาของตนให้บุคคลทั่วไปรับทราบ หรือรับรู้ร่วมกัน มีสถาปนิกอีกบางกลุ่มที่เห็นคุณค่างานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตนได้ศึกษาค้นคว้า แล้วมีความมุ่งประสงค์จะเผยแพร่คุณค่าที่ตนได้พบเห็นให้บุคคลอื่น หรือบุคคลอื่นทั่วไปได้รับทราบเพื่อรับรู้ร่วมกันกับตน เขาจะใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกอาคารที่ตนเห็นว่ามีคุณค่าเอามาพิมพ์เผยแพร่ ขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่นั้น เขาจะถ่ายภาพในมุมต่างๆ มากมายเท่าที่เขาต้องการเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับศึกษา ครั้นเมื่อจะนำมาพิมพ์เผยแพร่เขาจะคัดภาพแต่ละภาพที่ดีและมีคุณค่าที่สุดมาพิมพ์เสนอด้วยว่า ภาพที่คัดมาพิมพ์เผยแพร่นั้นเป็นภาพที่สถาปนิกผู้ศึกษา ได้ประเมินคุณค่าของภาพที่ตนถ่ายจากประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ มุมที่ตนถ่ายเป็นมุมที่ "คุณค่าของอาคาร" หรือ "คุณค่าในรายละเอียด" ปรากฏชัดเจนที่ความหมายในตัวภาพเอง และเป็นมุมหรือเป็นภาพที่ผู้ค้นคว้าเองได้ประจักษ์เห็นในคุณค่าว่าเป็นภาพที่อธิบายเนื้อหา และคุณค่าของอาคารได้มากที่สุด อันเป็นการใช้ความรู้ ปัญญา ประสบการณ์ที่ตนสะสมมา ตลอดถึงความสามารถในการรับรู้ที่เป็นสุนทรียรสของตนมาตีคุณค่ารูปทรงของอาคารจากภาพถ่ายนั้น พร้อมทั้งเสนอความคิดที่ตนเห็นคุณค่ามาบรรยายประกอบกับภาพที่นำมาเผยแพร่ทุกภาพ คำบรรยายก็มุ่งหวังจะแสดงความเข้าใจความคิดที่ตนประจักษ์ทราบ (Realization) ในขณะบันทึกภาพหรือขณะศึกษาสอบสวนคุณค่าของอาคารจากภาพที่ถ่ายแล้วนั้นออกมาเป็นคำพูดที่รัดกุม กระชับส่วนใหญ่ของเนื้อความที่บรรยายนั้นเป็นประเด็นที่มีสาระ และมีคุณค่ายิ่งเพราะเป็นประเด็นที่เกิดจากความเข้าใจลึกไปกว่าคนธรรมดาจะทราบและมองเห็น การสร้างภูมิปัญญาความละเอียดอ่อนของการรับรู้ในตนที่ค้นพบคุณค่าที่ซ่อนเร้นมาตีแผ่ให้ผู้อื่นได้รับทราบ และเกิดอารมณ์ในคุณค่าเหล่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีกแนวทางหนึ่งที่จะขออนุโลมเข้าไว้ในแนวทางการค้นคว้าประเภทแรก ตัวอย่างการศึกษาในแนวนี้ก็ได้แต่ผลงานการค้นคว้าของ MYRON GOLD FINGER ในหนังสือ VILLAGE IN THE SUN และของ BERANRD RUDOFSKY ในหนังสือ ARCHITECTURE WITHOUT ARCHITECTS เป็นต้น งานค้นคว้าของ MYRON GOLD FINGER นั้นเจาะคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชุมชนย่านทะเลเมดิเตอเรเนียน เป็นส่วนใหญ่ ส่วนของ BERANRD RUDOFSKY นั้นเจาะคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทั่วๆไปหลายทวีปเป็นการเห็นคุณค่าในเชิงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อคุณลักษณะของ รูปทรงการนำเสนอ คุณค่าอาคารด้วยภาพถ่ายนั้นเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาของปัจจุบัน เพราะถือว่าเป็นการบันมึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูปนั้นเป็นภาษาของการเห็นที่สื่อความประเภทหนึ่ง (TYPE OF VISUAL SPEECH) และยังมีพลังทางสุนทรียรสอีกด้วย(ASETHETIC POWER) และภาพถ่ายก็เป็นเครื่องมือที่มีพลังอำนาจสำหรับการให้ข่าวสารและการศึกษาของโลกอีกประเภทหนึ่ง เพราะภาพถ่ายสามารถบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมอย่างสมเหตุสมผลที่แม่นยำที่สุด อีกทั้งยังเป็นหลักฐานที่สามารถช่วยรำลึกถึงวิญญาณของอดีตไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำของมนุษย์
การศึกษาแนวทางที่สอง
ซึ่งเป็นแนวทางของสถาปนิกและนักการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ต้องการค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้วยระบบวิธีการศึกษาที่เป็นระบบ และเป็นขั้นตอนเป็นวิธีการศึกษาที่มีความมุ่งหมายเพื่อจะศึกษาค้นคว้าให้เห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งคุณค่านั้นย่อมมีหลายแง่หลายความหมาย เช่น คุณค่าในเชิงออกแบบของสถาปัตยกรรมโดยตรง คุณค่าในฐานะเป็นรูปแบบเฉพาะทางวัฒนธรรมประเภทที่พักอาศัยของกลุ่มชนแต่ละท้องที่ คุณค่าในฐานะที่เป็ฯรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ของภูมิภาค คุณค่าในฐานะสะท้อนฐานะของชุมชน ฯลฯ เป็นต้น นอกจากความมุ่งหมายในการศึกษาในเชิงคุณค่าแล้ว ยังมีความม่งหมายอื่นนอกเหนือไปอีก เช่น ศึกษาเพื่อเห็นกระบวนการวิวัฒนาการของอาคารพื้นถิ่น ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับมาประยุกต์ใช้กับสมัยปัจจุบันศึกษาหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเชิงชาติพันธ์วิทยา ศึกษาถึงความเชื่อที่ผูกพันกับรูปทรงอาคาร ศึกษาเพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ฯลฯ วิธีการศึกษาสถาปัตยกรรมท้องถิ่นนั้นเป็นการศึกษาจากอาคารที่มีอยู่จริงจึงไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องตั้งสมมติฐานขึ้น แต่ต้องเป็นการศึกษาจากข้อมูลที่ได้มาและที่มีด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในแง่มุมต่างๆจึงจะพบคำตอบ ในชั้นหลังคำตอบที่จะได้มานั้นย่อมขึ้นอยู่กับวิธีที่จะใช้สอบสวนตรวจสอบข้อมูลโดยคล้อยตามแนวทางของจุดประสงค์ ของการศึกษาที่ผู้ศึกษาได้ตั้งเป็นความมุ่งหมายเอาไว้แต่แรก และเป็นได้ทั้งการศึกษาเฉพาะกรณี และการค้นคว้าจะศึกษาในเชิงปริมาณเพื่อแสวงหารูปแบบเฉพาะถิ่น และการค้นคว้าจะศึกษาในแนวลึกหรือแนวกว้างนั้นขึ้นอยู่กับความมุ่งประสงค์ของการศึกษาเช่นกัน
ตัวอย่างวิธีการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในแนวกว้างนั้นวิธีการของ R.W. BRUN SKILL เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับใช้ศึกษา จากหนังสือ VERNACULAR ARCHITECTURE ที่เขาเขียนขึ้นนั้นพอสรุปแนวทางศึกษาเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้
ก) การแบ่งประเภทของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งเขาแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆไว้ 3 ประเภท คือ
• อาคารประเภทที่พักอาศัย DOMESTIC ARCHITECTURE)
•อาคารสำหรับประกอบการทางเกษตรกรรม (ARCHITECTURE OF AGRICULTURE) ได้แก่ คอกสัตว์ ยุ้งข้าว โรงเกวียน ฯลฯ
•อาคารสำหรับประกอบการอุตสาหกรรมของชาวบ้าน (INDUSTRIAL VERNACULAR) เช่น โรงสีข้าว โรงกังหันลม โรงงานปั้นหม้อ โรงงานช่างเหล็ก ฯลฯ
ข) การศึกษาสำรวจท้องที่ที่ตั้งของอากาศพื้นถิ่น (VERNACULAR ZONE) โดยการศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพทางธรณีวิทยา ฯลฯ
ค) การศึกษาในรายละเอียดของส่วนประกอบอาคารจากวัสดุและวิธีการก่อสร้างโดยการแยกส่วนประกอบอาคารออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
•ผนัง วัสดุและวิธีการก่อสร้าง (WALLING : CONSTRUCTION AND MATERIAL)
•หลังคา - รูปร่าง วัสดุและวิธีการก่อสร้าง(ROOFING : SHAPE, CONSTRUCTION AND MATERIAL)
•แปลนและรูปตัด (PLAN AND SECTION) ตลอดถึงบันได ประตูและหน้าต่าง
•รายละเอียด(ARCHITECTURAL DETAIL)
•โรงนา (FARM BUILDING)
•อาคารพื้นถิ่นในเมืองและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กของชาวบ้าน (VERNACULAR AND MINOR INDUSTRIAL BUILDING)
ซึ่งหัวข้อที่ R.W. BRUNSKILL แบ่งไว้นี้สามารถนำไปเป็นหัวข้อย่อยในการค้นคว้าศึกษาเฉพาะกรณีได้อีกโดยวิธีการวิเคราะห์อย่างเจาะลึก แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาเบื้องแรกนั้นจำต้องศึกษาค้นคว้าหาลักษณะของรูปแบบอาคารโดยการสำรวจ วัดขนาดอาคารที่จะค้นคว้านั้น ด้วยการเขียนร่างภาพ ถ่ายภาพเป็นข้อมูลเบื้องต้น ตามหลักการศึกษาของสถาปัตยกรรม จะต้องนำข้อมูลมาเขียนแบบละเอียด คือ แปลน รูปตัด รูปด้าน รูป ISOMETRIC หรือทัศนียภาพเพื่อศึกษาปริมาตรผิว (SURFACE) ตลอดถึงความสัมพันธ์ของเนื้อที่ภายในอาคาร เพราะทัศนียภาพและภาพ ISOMETRIC นั้นเป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่ผิวและเนื้อที่ว่าง (SPACE) ที่ห่างได้กระจ่างชัด เพราะแสดงภาพเป็น 3 มิติ ซึ่งถือว่าเป็นการนำแสนอข้อมูลที่สำรวจมานั้นมาจัดวางเข้าระบบทางวิธีการของสถาปัตยกรรม เพื่อจะใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์เนื้อหา และประเด็นที่ต้องการศึกษาในแง่มุมที่ต้องการศึกษาได้อย่างสะดวกแบบอาคารที่เขียนขึ้นมานี้ทำให้เราทราบชัดในเบื้องแรกคือ รูปลักษณะของอาคารที่เราต้องการนั้นเองเพื่อจะใช้สำหรับการตีความจากการวิเคราะห์ต่อไป
การวิเคราะห์เบื้องแรก คือ การวิเคราะห์หาเนื้อที่ใช้สอยโดย วิเคราะห์หาขนาดของพื้นที่ใช้สอยแต่ละประเภทของอาคาร วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเนื้อที่ใช้สอย กิจกรรมที่เกิดขึ้นในเนื้อที่ใช้สอยตามมิติของเวลา และฤดูกาล และความสัมพันธ์ของกิจกรรมกับพื้นที่ใช้สอยตลอดถึงพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนอันเป็นผลมาจากคติความเชื่อ แบบแผนของการดำรงชีวิตที่สัมพันธ์หรือมีผลต่อกิจกรรมต่างๆอันเกิดขึ้นภายในอาคาร หลักการที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นต้องอาศัยจากการสังเกต(OBSERVATION) สัมภาษณ์ และเอกสารที่เกี่ยวกับคติความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ
วิเคราะห์จากระบบโครงสร้าง ธรรมชาติของวัสดุก่อสร้างที่มากำหนด วิธีการก่อสร้าง ระบบการระบายอากาศภายในอาคารการจัดสร้างระบบการระบายอากาศภายในอาคารการจัดวางพื้นที่ใช้สอย กับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ภูมิอากาศและทิศทางของแดดลม วิธีการแก้ปัญหาจากผลกระทบของธรรมชาติ การเลี่ยงแสงแดดการเปิดรับแสงแดด การเปิดรับลม วิธีเลี่ยงและป้องกันการสาดของแผนวิธีการป้องกันลมพายุ
เมื่อวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆแล้วเริ่มประเมินค่าของอาคารโดยสรุปค่าเป็น 3 หัวข้อ คือ คุณค่าของการแก้ปัญหาเรื่องประโยชน์ใช้สอย คุณค่าการก่อสร้างและการใช้วัสดุ ระบบวิธีของโครงสร้างที่ทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ประการสุดท้ายคือการประเมินคุณค่าทางความงาม ได้แก่ ความสัมพันธ์ของระนาบกับพื้นที่ สัดส่วนของรูปทรง จังหวะของการเจาะช่องที่สัมพันธ์กับผนังทึบ คุณค่ารูปทรงที่เป็นมวล (MASS) ระเบียบของการตกแต่งระนาบต่างๆ ความสัมพันธ์ของเส้นสายรูปทรงในตัวอาคาร วิธีการเก็บรายละเอียดของส่วนต่างๆของอาคาร (FINISHED) ความสัมพันธ์ของพื้นที่ผิววัสดุที่ใช้กับอาคาร ผลของแสงเงาที่มีต่อรูปทรงของอาคาร การเลื่อนไหลของที่ว่าง (FLOWING OF SPACE) ภายในอาคารการจัดองค์ประกอบของรูปด้านวิธีการจัดองค์ประกอบของมวลที่เป็นรูปทรง (MASS) ความงามขององค์ประกอบพื้นที่ (COMPOSITION OF PLAN) ความสัมพันธ์ระหว่างที่ว่างภายในอาคารกับที่ว่างภายนอกวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาคาร กับสภาพแวดล้อมในเชิงองค์ประกอบทางความงาม ศึกษาส่วนอาคารตกแต่งให้มีคุณค่า (ARCHITECTURAL DECORATION)
การประเมินคุณค่าทางความงามอันเป็นประเด็นสุดท้ายนี้เป็นการวิเคราะห์ทางการจัดระเบียบขององค์ประกอบ แม้บางครั้งการจัดองค์ประกอบทางความงามของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไม่ปรากฏชัด แต่ขอให้ถือว่าเป็นการศึกษาเพื่อจะทำความเข้าใจ ในหลักขององค์ประกอบของชาวบ้านที่มีสำนึกและประสบการณ์อีกมิติหนึ่งที่ผู้ศึกษาจะพบ และเป็นการสร้างสำนึกที่จะเข้าถึงความงามระดับ ชาวบ้านที่มีศักยภาพสุนทรียรสต่างไปจากผู้ค้นคว้าเอง และทำให้เราทราบว่าความงามในระดับชาวบ้าน นั้นเป็นอย่างไร มีการจัดองค์ประกอบเช่นไร นักวิชาการศึกษาศิลปะมักลงความเห็นเป็นผลสรุปว่างานแบบพื้นถิ่นหรือพื้นบ้านนั้นเป็นงานที่ออกแบบเพื่อสนองประโยชน์ใช้สอย และการใช้งานในชีวิตประจำวันของชาวบ้านความงามนั้นมิใช่เป้าหมายหากแต่ความงามนั้นเป็นผลผลิตขั้นตอนสุดท้าย (THE END PRODUCTION) ของงานออกแบบเป็นความงามที่ตรงไปตรงมาไม่เสแสร้าง (SINCERELY CONCEIVED) เพราะเป็นงานที่ออกแบบให้เคารพต่อประโยชน์ใช้สอย และวัสดุก่อสร้าง อันพ้องกับความเห็นเกี่ยวกับความงามของลักธิ FUNTIONALISM ที่เสนอว่าความตรงไปตรงมาของการจัดระเบียบโครงสร้างการเคารพและซื่อตรงต่อวิธีการก่อสร้าง ตลอดถึงความงามที่มีอยู่ในวัสดุก่อสร้างเองนั้น เป็นคุณลักษณะทางสุนทรียภาพของการออกแบบอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ค่อนข้างจะรับรู้ได้ยาก เพราะเป็นความรู้สึกที่เป็นนามธรรม (ABSTRACT SENCE)
การค้นคว้าเรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้นจำต้องใช้ความรู้ที่เป็นหลักวิชาทางเหตุผลซึ่งเป็นลักษณะภาวะวิสัย (OBJECTIVE) ผสมผสานกับการใช้ความรู้ที่เป็นประสบการณ์อันจัดเป็นอัตวิสัย(SUBJECTIVE) หรือจิตนิยมควบคู่กันไป เพราะต่างก็เป็นวิธีการที่ได้รับความรู้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย การแสวงหาความรู้ที่มีลักษณะเป็นภาวะวิสัย หรือวิธีการทางวัตถุนิยมเป็นวิะการที่มีพื้นฐานอยู่บนเหตุผล (RATIONAL) ส่วนวิธีการที่เป็นอัตวิสัยนั้นมีพื้นฐานอยู่บนความรู้โดยฉับพลันของประสบการณ์ (INTUITIVE) ซึ่งต่างก็เป็นวิธีทางของภาระหน้าที่ๆ ต้องประกอบกันของสภาวะจิตของมนุษย์ (THE RATIONAL AND INTUITIVE ARE COMPLEMENTARY MODES OF FUNTIONING OF HUMAN MIND) แต่จากวงการศึกษาค้นคว้าของเราในปัจจุบันมักหลีกเลี่ยงวิธีการทางอัตวิสัย แบบความรู้ที่พลุ่งขึ้น (INTUITIVE) ว่าไม่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์แต่ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ทางอัตวิสัยนั้นเป็นวิธีการที่เข้าใจ และเป็นความรู้ที่ใช้กับศิลปะและความงามอันเป็นเป้าหมายหลักของโลกวิจิตรศิลป์อีกอย่างหนึ่ง หากใช้วิธีการทางภาวะวิศสัยแนวเดียว การค้นคว้าก็มักจะหลีกเลี่ยงประเด็นหลักของศิลปะไปเสียเป็นไม่ก้าวล้ำลงสู่ความลึกซึ้งทางศิลปะ อันควรเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประเด็นหลักอีกประเด็นหนึ่ง วิธีการของการศึกษาศิลปะนั้นไม่ถือว่าใครผิดใครถูก เป็นสิทธิที่ศิลปินจะมีความคิดและความเชื่อแตกต่างกันไป และศิลปะมีสภาวะอัตนัย(อัตวิสัย) มากที่สุดในกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ก็เพราะว่าศิลปะนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องของความรู้สึกนึกคิดจินตนาการเป็นอย่างมาก การสร้างสรรค์งานศิลปะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ ความบันดาลใจความรู้สึกนึกคิดจินตนาการ การทำงานศิลปะคือ การแสดงออกหรือการเอาออก จากการสั่งสมทั้งภายในและภายนอก ศิลปินไม่ถือว่าวัตถุสำคัญกว่าจิตใจ วัตถุไม่ใช่สิ่งสูงสุดและสิ่งถาวร ข้อมูลทางวัตถุอาจเป็นข้อมูลเบื้องต้น ศิลปินจินตนาการจากข้อมูลหรือแบบได้ศิลปินจำนวนมากหาข้อมูลโดยประสบการณ์ และความจำขณะที่เขาเขียนภาพเขาเขียนด้วยการแสดงออกเต็มที่และฉับพลันโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นวัตถุเลย วิทยาศาสตร์นั้นเพ่งเล็งเอาใจใส่สิ่งที่เป็ฯสัญลักษณ์เพียงชนิดหนึ่ง เพื่อมีความมุ่งหมายบรรยายลักษณะความจริงแท้ที่แน่นอน แต่วิทยาศาสตร์ก็ได้ละเลยและขาดระบบสัญลักษณ์อีกหลายอย่างโดยเฉพาะระบบสัญลักษณ์ของโลกศิลปะ ศิลปะนั้นไม่สามารถให้ความรู้ในทางพรรณนาหรือการบรรยาย แต่เป็นความรู้สึกที่แสดงออกโดยตรงในเรื่องราวของความจริงอีกประเภทหนึ่ง ศิลปะ คือ รูปแบบที่แสดงให้ปรากฏได้ (COMCRETIZE) ของปรากฎการณ์(PHENOMENAL) อันซับซ้อนหรือสถานการณ์ของชีวิต (LIFE SITUATION) เราอาจจะศึกษาศิลปะในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่การศึกษาโดยวิธีการนี้ไม่สามารถที่จะหาสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ แต่การศึกษาโดยวิธีการนี้ไม่สามารถที่จะหาสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์มาแทนระบบสัญลักษณ์ของศิลปะได้แม้กระทั่งเกณฑ์ สำหรับการพิจารณาทางความจริง หรือสัจจะ (TRUTH) ที่จะมาเชื่อมศิลปะเนื่องด้วยแนวความคิดทางความจริงอันเป็นปกติของ(วิทยาศาสตร์) เรานั้นได้ถูกสมมติล่วงหน้าจากระเบียบเหตุผล ทางตรรกวิทยาของภาวะวิสัยล้วนๆ ส่วนศิลปะนั้นเป็นระบบสัญลักษณ์ที่ไม่มีการพรรณนาความ (NON-DESCRIPTIVE SYNDOL SYSTEMS) ฉะนั้นศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่ให้ความรู้แต่ให้ประสบการณ์และแนวทางสำหรับพฤติกรรมแก่มนุษย์
ด้วยเหตุฉะนี้การศึกษาค้นคว้าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็มีความมุ่งหมายเพื่อสืบเสาะหาเค้าเงื่อนของปัญหาในการดำรงชีวิตของคน ระดับชาวบ้านทั่วๆไปในแง่ที่กำบังเพื่อพำนักอาศัย (SHELTER) ยังผู้ค้นคว้าได้ทราบชัดถึงอัจฉริยภาพในการแก้ปัญหาของปัญญาชาวบ้าน อันเป็นปัญญาที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชน (COMMNUAL INTELLECTUALS) ที่ปกติมักถูกละเลยและมองข้ามบางครั้งก็ดูหมิ่นดูแคลน เพราะถือว่าเป็นการแก้ปัญหาด้วยความบังเอิญ ซึ่งสถาปนิกผู้รู้บางท่านได้เคยกล่าวตำหนิเอาไว้ แต่โดยแท้จริงแล้วคือสิ่งที่แสดงพลังสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ของประชาชนในแต่ละวัฒนธรรม เมื่อผู้ศึกษาค้นคว้าได้กระโจนลงสู่สายสาครของการศึกษาของกระแสธารนี้แล้ว ก็เท่ากับได้แหวกว่ายลงไปในกระแสความคิดของหมู่ชนที่ได้สถาปนาสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพ และเสริมประสิทธิภาพให้แก่ชีวิตด้วยความงามตามอัตภาพของธรรมชาติแวดล้อม จะเห็นการต่อสู้ของมวลมนุษย์กับสภาพดินฟ้าอากาศอย่างทรหดอดทน ทั้งยังเป็นระบบของการสะสมความรู้ของกลุ่มที่น่าศึกษา เป็นการเสริมภาพรวมของมนุษย์ให้กระจ่างขึ้น ทำให้เข้าใจความหมายของชีวิตในมุมกว้างและลึก เกิดความรักในมนุษย์เพิ่มขึ้นไปอีกเพราะเป็นการหาประสบการณ์ของมนุษยชาติ และบางครั้งความรู้และประสบการณ์ของชาวบ้านที่หลงเหลือในปัจจุบัน ในรูปของประเพณีโบราณบางประการนั้น ได้รับการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องสืบมาเป็นเวลายาวนานเลยลึกเข้าไปในอดีตที่แสนไกล บางทีจะถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์เลยก็ได้
อุบายไปสู่การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยจากรากวัฒนธรรมท้องถิ่น โดย รศ. อนุวิทย์ เจริญศุภกุล
1.ถ้าเริ่มต้นศึกษาหรือทำความเข้าใจงาน สถาปัตยกรรมด้วยรูปวัตถุก็จะได ้แต่ ลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุธรรมเท่านั้น ได้แต่รูปภายนอกเข้าไม่ถึงเนื้อหา หรือชีวิตวิญญาณของงานอย่างแท้จริง นักปราชญตะวันออกตั้งแต่สมัยพุทธกาล ไม่ว่าจีนหรืออินเดียต่างก็พิจารณางาน สถาปัตยกรรม จากอากาศทั้งสิ้น
2. สังคมย่อมประกอบด้วย มนุษย์ กับ วัฒนธรรม เราสร้างงานสถาปัตยกรรมตามความต้องการใช้งานของมนุษย์ ฉะนั้นการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมจึงอยู่ในกระบวนการทางวัฒนธรรม ถ้าการออกแบบเบี่ยงเบนไปจากสัจธรรมนี้แล้วงานนั้น ก็ย่อมสูญเสียเนื้อหานัยของความสัมพันธ์ทางสังคมของตนไป
3.สังคมมนุษย์ได้พัฒนามาใน กาละ- เทศะ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่เข้ามาร่วมอยูในกระบวนการสร้างสรรค์ ทางวัฒนธรรมด้วยเสมอ
ประวัติศาสตร์ ณ ที่นี้ หมายถึง ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่อยู่ร่วมในยุค สมัยของเรา ตลอดจนถึง ประวัติศาสตร์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่ส่งผลต่อเนื่องมาสู่ประวัติศาสตร์ สมัยใหม่ที่จะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปประวัติศาสตร์เป็นของฆ่าไม่ตาย ถ้าเราละเลยองค์ประกอบนี้ไปเสียอย่าง สิ้นเชิงเราก็กำลังจะลืมกำพืดของตนเอง และ กำพืดของงาน ที่เราจะ สร้างขึ้น
4.โดยนัยดังกล่าว งานสถาปัตยกรรม แต่ถ้าการศึกษาวิชาดังกล่าว เป็นการ เริ่มต้นและลงท้ายที่แบบสถาปัตยกรรม เป็นเป้าหมายหลักแล้วโดยไม่นำพาต่อ กระบวนการออกแบบ ซึ่งส่งผลมาสู่ แบบสถาปัตยกรรมนั้นๆเราก็จะได้แบบ สถาปัตยกรรมตายๆไม่มีชีวิตชีวา ในภาวะการณ์ปัจจุบันเลย
5.วัฒนธรรมเป็นกระบวนการสร้าง เอกลักษณ์ และ สัญลักษณ์ วัฒนธรรมจึงมีความซับซ้อนในตัวเองอย่างลึกซึ้ง มีโครงสร้าง แบบแผน และเนื้อหานามธรรมอย่าง ซ่อนเงื่อน ถ้าสถาปนิกขาดความรู้ ขาดวิจารณญาณที่จะนำไปสู่การตีความทางวัฒนธรรม ก็ย่อมไม่สามารถนำ การออกแบบให้เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมได้ สถาปนิกก็จะเป็นเพียงนักออกแบบ มิใช่ปัญญาชนที่จะเป็นผู้นำกระแส การเคลื่อนไหวในด้าน แนวความคิด ทางสถาปํตยกรรมได้
6.โดยเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ดังกล่าว งานสถาปัตยกรรมย่อมมีระดับและขั้ว ตามพื้นเพการดำรงอยู่ทางชุมชนหรือ สังคมหนึ่งๆ ถ้าแยกแยะเนื้อหาดังกล่าวไม่ออกก็จะสูญเสียนัยของความสัมพันธ์ทางสังคม เข้าใจเอกลักษณ์อย่างคลุมเคลือ และใช้สัญลักษณ์อย่างผิดๆ อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
7. สภาพการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย กับสังคมโลก เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยง กระแสโลกาภิวัฒน์ไปได้ นักวิชาการ ทางแนวคิดดังกล่าวได้กล่าวไว้ว่า "จงคิดคำนึงอย่างโลกาภิวัฒน์แต่จงประพฤติปฏิบัติอย่างท้องถิ่นนุวัติให้จงได้" \
8. ฉะนั้นถ้าเราเริ่มต้นแสวงหาเอกลักษณ์ ของงานสถาปัตยกรรมท้องถิ่น โดย อาศัยสัญลักษณ์ของ แบบในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมด้วยวิธีการตัดทอนรายละเอียดให้ง่ายลงเราก็จะได้แต่แบบที่ตายๆ ขาดนัย สัมพันธ์กับเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่เราดำรงอยู่
9. การสร้างสรรค์ต่างๆ นั้น ย่อมประ กอบด้วย แนวความคิด และวิธีการ ควบคู่อยู่ด้วยกันเสมอ ตัวแนวความคิด จะเป็นเครื่องนำทาง วิธีการจะเป็น เครื่องมือนำไปสู่เป้าหมาย ถ้าขาดแนวความคิดก็เหมือนเรือที่ ขาดหางเสือ คนขับรถที่ไร้สมอง ถ้า ขาดวิธีการก็เหมือนขาดพาหนะที่จะ พาไปสู่จุดหมายปลายทางได้
10. การสร้างแนวความคิดและวิธีการนั้น อาจจะทำควบคู่กันไปหรือแยกกันเพื่อ ความสะดวกแต่เบื้องต้นก็ได้ แต่ทั้ง สองกระบวนการใช้วิธีการ 2 แบบ เป็นประถม
•แบบที่ 1 เป็นกระบวนการของการวิจัย 1.เป้าหมาย 2.ข้อมูล 3.วิเคราะห์ 4.ตีความ 5.สังเคราะห์แนวความคิดหรือวิธีการ
•แบบที่2 ทำควบคู่อยู่ในกระบวนการ ตั้งแต่ต้นโดยนำข้อมูลดิบข้อสรุปที่ผ่านการ วิเคราะห์ตีความ แล้วเข้ามา ร่วมสังเคราะห์ตามขั้นตอนของ กระบวนการออกแบบต่างๆ วิธีการ นี้ผู้ดำเนินการจะต้องมีวุฒิภาวะสูง หรือ มีญาณทักษะและพลังสร้าง สรรค์แก่กล้าเท่านั้น